รายงานพิเศษ ลงนาม MOUห้าฝ่าย พัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการด้านการศึกษาและการมีงานทำ

b-4-jpg
พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านการศึกษาและการมีงานทำ ระหว่าง วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ กับ ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่แตง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นประธานในพิธีลงนาม วันอังคารที่ 13 กันยายน 2559 ณ ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จังหวัดเชียงใหม่
นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดสิทธิของคนพิการไว้อย่างครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการให้บริการทางการแพทย์ การศึกษา การส่งเสริมการมีงานทำและการประกอบอาชีพสวัสดิการสังคม และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ รวมถึงด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ(พก.) ในฐานเป็นองค์กรหลักด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
และขอขอบคุณ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่แตง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ ที่เห็นความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และร่วมบูรณาการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ การศึกษา การยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตลอดจนจนการมีงานทำ ให้เป็นที่ยอมรับในการประกอบอาชีพ และกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีคุณค่า
ทั้งนี้ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ(พก.) หวังว่าคงจะได้รับความร่วมมือด้วยดีจากวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่แตง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านการศึกษาและการมีงานทำ เพื่อประโยชน์แก่คนพิการและประเทศชาติต่อไป
นางประณมพร วชิรถาวรชัย ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ด้วยศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านการศึกษาและการมีงานทำ โดยจะดำเนินการจัดการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และพัฒนาให้คนพิการได้รับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้เป็นที่ยอมรับในการประกอบอาชีพ และกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีคุณค่า โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่แตง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ สำนักงานจัดหางานเชียงใหม่ ร่วมกันบูรณาการโครงการดังกล่าวเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันในวันนี้
ด้านนายวิศิษฎ์ วัชรินทร์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ กล่าวว่า พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ครั้งนี้ เกิดขึ้น จากวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ และศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จังหวัดเชียงใหม่ ได้ปรึกษาหารือและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การเรียนการสอน เพิ่มทักษะวิชาชีพแก่นักเรียนผู้พิการ การสนับสนุนด้านวิชาการและจัดหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษา
พร้อมทั้งให้มีการสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาที่จำเป็นในการจัดการศึกษาโดยมีข้อมูลนักเรียนที่ประสงค์จะเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 16 คน ระหว่างวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ และศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝนเพื่อ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาวิชาชีพอย่างมีคุณภาพและมีทักษะวิชาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนด สามารถนำ ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาชีพและนำไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
โดยทั้งห้าฝ่ายตกลงกันว่าจะร่วมมือกันในการเริ่มดำเนินการโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้านการศึกษาและการมีงานทำในปีงบประมาณ 2560 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพ ตลอดจนเตรียมความพร้อมในด้านร่างกาย และจิตใจ ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีคุณค่า,เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้คนพิการได้เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
เพื่อการพัฒนาอาชีพและการศึกษาต่อไปในระดับสูงต่อไป,เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้คนพิการได้รับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือ แรงงานให้เทียบเท่ากับคนปกติทั่วไป และเป็นที่ยอมรับในการประกอบอาชีพต่อไป เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการแนะแนวงานอาชีพแก่คนพิการและการจัดหางานให้กับคนพิการที่ สำเร็จการฝึกอบรมตามสาขา วิชาชีพและความสามารถแต่ละบุคคลโดยเข้าทำงานในสถานประกอบการหรือ ประกอบอาชีพอิสระ อันจะเป็นการพัฒนาทักษะฝีมือให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ฝีมือแรงงานแห่งชาติต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น