หลักเศรษฐกิจพอเพียง ชุบชีวิตประชาอุดมสุข

แนวทางการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงยึดหลักการทรงงานในลักษณะ “ทางสายกลาง” โดยทรงเน้นการพัฒนา “คน” เป็นตัวตั้ง

ยึดหลัก “ภูมิสังคม” ที่คำนึงถึงความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและท้องถิ่น และยึดหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตสังคมไทยและปฏิบัติได้จริง

พระองค์ทรงย้ำว่าการพัฒนาต้องเริ่มจาก “การพึ่งพาตนเอง” ให้ได้ก่อน โดยต้องรู้จักประมาณตน มีความรอบคอบ ระมัดระวัง และ “ทำตามลำดับขั้นตอน”

2-jpgโดยต้องสร้างพื้นฐานความเป็นอยู่ให้พอมี พอกิน พอใช้ก่อน ด้วยวิธีการประหยัดและถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งแล้ว จึงค่อยพัฒนาเครือข่ายสู่สังคมภายนอก เพื่อความเจริญก้าวหน้าในลำดับต่อไป

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เล็งเห็นถึงความสำคัญของพระราชดำริฯดังกล่าว ได้พิจารณากลั่นกรองพระราชดำรัส เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ

แล้วสรุปออกมาเป็นนิยาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และอัญเชิญมาเป็นแนวทางพัฒนาประเทศในแผนฯ 9 และต่อเนื่องมาถึงแผนฯ 10 เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนาในทุกระดับ ตลอดจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกด้วย

6-jpg
” ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันก็เกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ 

สำคัญที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง…”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
เมื่อ 4 ธันวาคม 2540

7-jpg” จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหา ความเดือดร้อนในด้านต่างๆมากมาย ได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะขจัดปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว

ในพระราชดำริฯด้านการพัฒนาทางการเกษตร ได้ทรงค้นคว้า วิจัย และขยายผลองค์ความรู้สู่แนวทางการเพาะปลูกหลายอย่าง ในที่เดียวกัน หรือผลัดปลูกหมุนเวียนกัน

โดยหลักการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผล ผ่านโครงการตามแนวพระราชดำริ จะมีแนวทางหลักๆในกรอบที่ว่า ” แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ลดปัญหาและให้ความช่วยเหลือราษฎร ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนั้น  พัฒนาไปตามขั้นตอน ให้สามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ และ “พึ่งตนเองได้“ส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ ผ่าน ตัวอย่างของความสำเร็จ” ซึ่งก็คือ”ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ” ในทุกภูมิภาคของประเทศ  เช่นที่เชียงใหม่ ก็มีศูนย์ฯห้วยฮ่องไคร้   เป็นต้น

9-jpg

 ให้ราษฎร “รับได้” ” นำไป “ดำเนินการเองได้”
และเป็นวิธีการที่ “ประหยัด”..เพื่อคุณภาพชีวิต สังคม เศรษฐกิจที่ดีและยั่งยืน

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก:  สำนักงาน กปร.

ร่วมแสดงความคิดเห็น