เผยออกพ.ร.บ.ควบคุมขอทาน ล้อมคอกคนนอกแสวงผลประโยชน์

b2-w12h7

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการชี้ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ปี2559 ห้ามผู้ใดแสวงหาประโยชน์จากผู้ทำการขอทานโดยใช้การจ้างวาน สนับสนุน หรือยุยง ซึ่งการกระทำด้วยวิธีอื่นใดให้ผู้อื่นทำการขอทาน โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

นายกัมปนาท กาบทอง นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ กล่าวว่า สารระสำคัญของพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ว่า ผู้ใดแสวงหาประโยชน์จากผู้ทำการขอทานโดยใช้การจ้างวาน สนับสนุน ยุยง ส่งเสริมหรือกระทำการด้วยวิธีอื่นใดให้ผู้อื่นทำการขอทาน โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษหนักที่สุดของผู้แสวงหาผลประโยชน์ 1.แสวงประโยชน์จากหญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้เจ็บป่วย 2.ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่อยู่ในความดูแล 3.นำผู้อื่นจากภายนอกราชอาณาจักรให้เข้ามาขอทานในราชอาณาจักร 4.ร่วมกันกระทำโดยกระทำการกับบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 5.เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจดูแลหรือให้คำปรึกษา แสวงหาประโยชน์จากผู้ทำการขอทานที่ดูแล โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ กลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกฎหมาย คณะกรรมการควบคุมการขอทาน/คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด และคณะอนุกรรมการอื่นๆ/พนักงานเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ ผู้แสดงความสามารถ นิยาม: การเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ชมหรือผู้ฟัง การแจ้งเตือนเมื่อมีประจำตัว: ผู้แสดงความสามารถต้องไปแจ้งเพิ่มมีบัตรประจำตัวผู้แสดงความสามารถ ส่วนกลาง:กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ภูมิภาค: สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ การแจ้งเมื่อจะไปแสดงความสามารถ: ต้องไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในพื้นที่ ที่จะไปแสดงความสามารถ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นรับแจ้งแล้วให้ออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน
ผู้ทำการขอทาน นิยาม: 1.ขอรับเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความ หรือกิริยาอาการใดๆ 2. การกระทำเพื่อให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้
การคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต 1. คัดกรองผู้ทำการขอทานที่เป็น เด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุคนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ ไปรับการคุ้มครองฯตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่ถ้ามีกรณีจำเป็น อาจไม่ส่งไปรับการคุ้มครองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องใจให้อยู่รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ 2. กรณีผู้ทำการขอทานไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1 แต่เป็นผู้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีญาติอุปการะไม่มีทางเลี้ยงชีพอื่น หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากก็ให้ได้รับการคุ้มครองฯตามกฎหมายนี้ 3. ถ้าผู้ทำการขอทานปฏิบัติตามเงื่อนไขในการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่กำหนดก็ให้พ้นผิด
โทษของผู้ทำการขอทาน ผู้ทำการขอทานมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไม่ว่าจะเป็นตามกฎหมายเฉพาะหรือการเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามกฎหมายฉบับนี้ให้ถือว่าพ้นผิด แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามหรือออกจากสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โทษของผู้ช่วยให้ผู้ทำการขอทานหลบหนี จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีการช่วยนั้นมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือมีการใช้อาวุธจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุปสาระสำคัญ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 1.แยกผู้แสดงความสามารถออกจากผู้ทำการขอทาน โดยผู้แสดงความสามารถต้องแจ้งเตือนเพื่อมีบัตรประจำตัวแสดงความสามารถ ในส่วนกลางแจ้งได้ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการภูมิภาคแจ้งได้ที่ สนง.พมจ.ทุกจังหวัด เมื่อจะไปแสดงความสามารถที่ใดต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นในพื้นที่นั้น เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นรับแจ้งจะออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน 2. ผู้ทำการขอทานจะได้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีการคัดกรองกลุ่มเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ ให้ไปรับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีเพื่อประโยชน์ของผู้ทำการขอทานหรือมีเหตุจำเป็นกฎหมายให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ส่งผู้ทำการขอทาน ไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้โดยให้ผู้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตกฎหมายนี้ส่วนผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มข้างต้น ถ้าเป็นผู้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีญาติอุปการะไม่มีทางเลี้ยงชีพอื่น หรืออยู่ในภาวะยากลำบาก ก็ให้ได้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามกฎหมายควบคุมการขอทานฉบับนี้ 3.กรณีมีผู้ทำการขอทานมีความผิดระวางโทษจำคุก 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,00 บาท แต่ถ้าปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุ้มครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้ไม่ว่าจะไปตามกฎหมายเฉพาะหรือเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามกฎหมายฉบับนี้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามหรือออกจากสถานที่คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. ผู้ใดช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้ทำการขอทานหนีออกจากสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้การช่วยเหลือนั้นมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือข่มขู่จะใช้กำลังประทุษร้าย หรือมีการใช้อาวุธผู้นั้นต้องระวางโทษด้วยจำคุก 4 ปีปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 5.ผู้ใดแสวงหาประโยชน์จากผู้ทำการขอทานโดยใช้ จ้างวาน สนับสนุน ยุยง ส่งเสริมและโดยวิธีการอื่นใดให้ผู้อื่นทำการขอทาน ต้องระวางโทษจำคุก 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 6. ถ้าผู้ใดกระทำการต่อไปนี้จะได้รับโทษหนักที่สุดในกฎหมายฉบับนี้คือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ/กระทำการสอนหญิงมีครรภ์ผู้สูงอายุคนวิกลจริตคนพิการหรือทุพพลภาพหรือผู้เจ็บป่วย/ร่วมกันกระทำหรือกระทำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป/กระทำโดยนำผู้อื่นจากนอกราชอาณาจักรให้มาขอทานในราชอาณาจักร/กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจดูแลหรือให้คำปรึกษา/กระทำโดยผู้ปกครองดูแลของผู้ทำการขอทาน 7. ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขอทางโดยมี รมว.พม. เป็นประธาน ปพม.เป็นรองประธาน อพส.เป็นเลขานุการและกรรมการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย 8. ให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับจังหวัดเพื่อร่วมกับเคลื่อนการดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น