รับปีใหม่ด้วยกระเช้าสัญลักษณ์ “Healthier Choice” ดีต่อสุขภาพ

อย. แนะผู้บริโภค รับปีใหม่ เลือกซื้อกระเช้าหรือจัดกระเช้าด้วยผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสัญลักษณ์ “ Healthier Choice” เพื่อผู้รับได้บริโภคอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ ห่างไกลโรค NCDs ใกล้เทศกาลปีใหม่มอบของขวัญให้แก่กัน อย. แนะผู้บริโภคเลือกกระเช้าของขวัญที่แสดงฉลากรวม แสดงวันหมดอายุและมีผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)” ในกระเช้าหรือเลือกผลิตภัณฑ์ที่แสดงสัญลักษณ์ดังกล่าวจัดกระเช้าด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้รับมีสุขภาพดี มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรค NCDs

นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้ถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ ทางห้างสรรพสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต สหกรณ์ ร้านค้าต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะนำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปมาจัดเป็นกระเช้าของขวัญ เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนอย่างแพร่หลาย ดังนั้นเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แนะผู้บริโภคในการเลือกซื้อกระเช้าหรือจัดกระเช้าด้วยตนเอง ดังนั้นกรณีซื้อกระเช้าที่จัดไว้แล้ว ควรเลือกกระเช้าที่มีลักษณะห่อหุ้มอยู่ในสภาพดีและมีการแสดงฉลากรวม โดยเป็นฉลากที่แสดงรายการผลิตภัณฑ์อาหารที่จัดรวมในภาชนะ และข้อความต้องแสดงรายละเอียดได้แก่ ชื่อหรือประเภทหรือชนิดของอาหาร, วันเดือนปีที่หมดอายุหรือควรบริโภคก่อนของอาหารแต่ละรายการที่บรรจุในกระเช้า ทั้งนี้ เมื่อนำกระเช้าไปมอบให้แก่ผู้รับ ไม่ควรแกะฉลากรวมออก เนื่องจากผู้รับสามารถตรวจสอบรายการผลิตภัณฑ์อาหารและวันหมดอายุว่าตรงกับฉลากหรือไม่

กรณีซื้อผลิตภัณฑ์อาหารมาจัดกระเช้าเอง หากเลือกอาหารกระป๋อง ควรดูลักษณะกระป๋อง ต้องไม่บุบ หรือโป่งพองหรือมีรอยรั่ว ดูตะเข็บหรือรอยต่อเรียบร้อยและแน่นหนา และกระป๋องไม่เป็นสนิม และสังเกตฉลาก ควรแสดงข้อความรายละเอียดครบถ้วน เช่น เลข อย. ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้าวัน เดือน ปี ที่หมดอายุ ส่วนประกอบ เป็นต้น

เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ไม่ว่าจะซื้อกระเช้าที่จัดไว้แล้ว หรือซื้อผลิตภัณฑ์อาหารมาจัดกระเช้าด้วย ตนเอง ขอให้เลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)” เพื่อให้ผู้รับหรือคนที่ท่านรักได้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมต่อสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น อ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดฯลฯ

ซึ่งขณะนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์โภชนาการ จากมูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เรียบร้อยแล้ว จำนวน 4 กลุ่มอาหาร ได้แก่ เครื่องดื่ม 88 ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรส 2 ผลิตภัณฑ์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) 3 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์นม 24 ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งหมด 117 ผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ที่แสดงสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้ตามซูเปอร์มาเก็ตห้างสรรพสินค้า ร้านค้าเพื่อสุขภาพ และร้านค้าทั่วไป และในระยะต่อไปจะมีการจัดท าเกณฑ์สารอาหารหรือคุณค่าทางโภชนาการสำหรับกลุ่มอาหารเพิ่มเติม ได้แก่ อาหารกึ่งสำเร็จรูป (ข้าวต้มและโจ๊กที่ปรุงสำเร็จ) ขนมขบเคี้ยวมาการีน เนยเทียม หรือนํํ้าสลัด ผลิตภัณฑ์โฮลเกรน และไอศกรีม เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนให้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์โภชนาการอยู่ในท้องตลาดมากขึ้นต่อไป อย. หวังให้ประชาชนไทยมีสุขภาพที่ดี ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคดังกล่าวในระยะยาวต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น