งาดำธัญพืชที่มีประโยชน์ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง

จากเมล็ดงาดำ ก้าวสู่ความสำเร็จ เมล็ดงาดำ สู่เม็ดเงิน หวังสร้างรายได้ให้ มช. กว่า 30 ล้านบาท อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นคว้าสารเซซามินจากงาดำ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง ที่เป็นต้นกำเนิดของโรคต่างๆ ปัจจุบันได้ทำการจดสิทธิบัตรไปแล้วทั้งหมด 3 ประเทศ ได้แก่ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย ในอนาคตพร้อมก้าวสู่เชิงพาณิชย์สร้างรายได้กว่า 30 ล้านบาท เร่งสนับสนุนทุนวิจัย สามารถนำ นวัตกรรม งานวิจัย มาผลิตและสร้างรายได้ ตอบแทนให้กับมหาวิทยาลัยในอนาคต

ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ

ศ. ดร. ปรัชญา คงทวีเลิศ หน่วยวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ และเซลล์ต้นกำเนิด ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดงาดำ “เซซามิน” เปิดเผยว่า ตนได้เล็งเห็นถึงการใช้โภชนบำบัดเป็นอย่างมาก คือการทานอาหารให้เป็นยา การใช้อาหารช่วยในการรักษาโรคโดยการดัดแปลงอาหารธรรมดา ให้เป็นอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยงาดำขึ้น พบว่า งาดำมีสารเซซามิน ที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งและช่วยฟื้นฟูสภาพเซลล์ที่เสื่อมไปให้กลับมาทำงานเป็นปกติได้ นอกจากนี้ยังพบว่าเซซามินช่วยทำให้แคลเซียมประสานกับกระดูกเพิ่มมากขึ้น สามารถป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม โรคกระดูกพรุน และยังสามารถปกป้องเซลล์ประสาทที่เสื่อมสภาพให้สามารถกลับมาทำงานเป็นปกติได้

สรุปได้ว่าสารสกัดเซซามินจากงาดำ สามารถต้านเซลล์ต่างๆที่เสื่อมสภาพแล้ว ยังสามารถฟื้นฟูและป้องกันเซลล์ที่ถูกทำลายลงได้ ทั้งนี้เริ่มทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่ปี 2553 ได้พัฒนาสารเซซามินจากงาดำในรูปแบบ แคปซูลอาหารเสริม และให้ผู้ป่วยโรคสมองและโรคมะเร็งทานสารเซซามินจากงาดำแคปซูล ควบคู่กับยาที่แพทย์สั่ง พบว่าผ่านไป 6 เดือน ผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นเจ้าชายนิทรา พูดไม่ได้ ขยับตัวไม่ได้ กลับมาพูดได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยคีโม มีอาการผมร่วงหมด เมื่อทานสารเซซามินจากงาดำ แคปซูลควบคู่ยาที่ทานปกติ พบว่าผมได้งอกขึ้นเป็นปกติ และผู้ป่วยอีกหลายรายที่ได้ทำการทดสอบ ด้วยวิธีการทานสารเซซามินจากงาดำ แคปซูลควบคู่ไปกับยาที่รักษา กลับได้ผลเป็นปกติถึง 90 เปอร์เซ็นต์

ที่ผ่านมา ได้รับทุนสนับสนุนจาก “ทุนวิจัยรางวัลเซเรบอส” (Cerebos Awards) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการวิจัยนวัตกรรมทางเคมี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะแพทยศาสตร์ จนกระทั่งในปี 2559 นี้ มีผู้ป่วยทั่วโลกให้ความสนใจสารเซซามิน จากงาดำที่สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันได้ทำการจดสิทธิบัตรไปแล้วทั้งหมด 3 ประเทศ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่จับต้องได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเป็น ประโยชน์กับคนทั่วโลก สร้างรายได้ตอบแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กว่า 7 ล้านบาท คาดว่าปี 2564 จะสร้างรายได้เข้ามหาวิทยาลัยได้ถึง 30 ล้านบาท

ตอนนี้ชาวเกษตรกรท่านใดสนใจที่จะปลูงาดำ ก็ปลูกได้เลย เก็บเมล็ดงาดำมาขายให้กับดร.ปรัชญา ได้ เพื่อที่จะได้นำมาสกัด มาเป็นสารเซซามินจากงาดำ เพื่อนำมาช่วยคนไข้ต่อไป พร้อกัมสร้างรายได้ให้กับเกษตรที่ปลูกงาดำด้วย เรียกว่าเป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งตอนนี้งาดำก็หาอยากมากขึ้น

[email protected]
ท.ลุงเกษตร

ร่วมแสดงความคิดเห็น