หอการค้าเชียงใหม่ ร่วมมช.นำร่อง “เศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อการท่องเที่ยว”

วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มช. จับมือหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่นำร่องเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อสร้างตราสัญลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของเชียงให่บนอินเทอร์เน็ตและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงลูกค้า

เมื่อวันที่ผ่านมา นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา “โครงการนำร่องเศรษฐกิจดิจิทัลจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการท่องเที่ยวอัจฉริยะ” ซึ่งหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ ,วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้น โดยกล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ถือเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์กลางการบินและด้านการท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อและเป็นนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปในลักษณะ So-Lo-Mo(Sociail-Local-Mobile) หรือใช้โซเซียลเน็ตเวิร์คในการหาข้อมูลจากนักท่องเที่ยวด้วยกันและเน้นการท่องเที่ยวที่สัมผัสกับความเป็นท้องถิ่นที่มีการใช้สมาร์ทโพนในการหาข้อมูลหรือดูแผนที่ในอินเตอร์เนฌต

ในปัจจุบันผู้ให้บริการด้านการท่องเยวยังไม่สามารถเสนอให้บริการหรือทำรายได้บนฐานเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์กลางประสานงานด้านข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และยังขาดการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการดิจิทัลและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ดังนั้นโครงการนำร่องเศรษฐกิจดิจิทัล จังหวัดเชียงใหม่จึงริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวรุ่นใหม่และพัฒนาผู้ประกอบการเดิมให้เป็นผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่สามารถรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานบริการด้านข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อรองรับเศรษฐกิจแบบดิจิตอลอีโคโนมี่ต่อไปในอนาคต

ด้านอาจารย์ ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการ Smart ChiangMai;Smart Tourism ถือเป็นโครงการนำร่องเมืองเชียงใหม่ให้ไปสู่ Smart City ซึ่งจะสามารถรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เต็มรูปแบบได้ในอนาคต โดยเกิดจาการตั้งคำถามที่จะทำอย่างไรให้ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องการทอ่งเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่สามารถนำเสนอการให้บริการและทำรายได้ทางด้านเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ เพื่อตอนสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน

ที่ผ่านมาผู้ให้บริการส่วนใหญ่มีการขายผ่านตัวแทนการท่องเที่ยวรายใหญ่ระดับโลก เช่น อะโกด้า บุ๊กกิ้ง ทริปแอดไวเซอร์ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวของไทยกลับตกไปอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งความเป็นจริงนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ต้องการมาประเทศไทยโดยตรงนิยมและอยากใช้บริการข้อมูลของท้องถิ่นมากกว่า ทำให้เล็งเห็นว่าจังหวัดเชียงใหม่ควรมีตลาดการท่องเที่ยวของตนเองบนอินเทอร์เน็ต เพื่อบริการสำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่ ที่ทำให้ผู้รับบริการการท่องเที่ยวผ่านสมาร์ทโพสและจัดทำตลาดการท่องเที่ยวสำหรับอุปสงค์และอุปทานด้านการท่องเที่ยวเพื่อสร้างตราสัญลักษณ์ในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่บนอินเทอร์เน็ต และเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น ผ่านการใช้เทคโนโลยีบนสมาร์ทโฟน รวมถึงการสร้างเชียงใหม่ให้เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวและสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าและบริการของกลุ่มจังหวัด

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้ดำเนินโครงการ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนามีทั้งนักศึกษา ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จะได้ร่วมกิจกรรมจัดตั้ง Desination Management Organization เพื่อให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว การคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพและความพร้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการฯและจับคู่ธุรกิจ โดยจะได้คัดเลือกผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว 30 รายและผู้ประกอบการด้านดิจิทัล 30 ราย มีการทำเวิร์คชอปเพื่อให้สามารถพัฒนาบริการบนระบบแอพพลิเคชั่นและดิจิทัลคอนเทนท์บนอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน และพัฒนาสินค้าและบริการของตนให้สู่ดิจิทัลอีโคโนมี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันบนตลาดโลก

ผศ.ดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานประธานในพิธีเปิดการสัมมนา กล่าวว่า นโยบายดิจิทัลอีโคโนมี่เกิดจากการนำระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน และนำมาประยุกต์ใช้กับองค์ความรุ้นในหลากหลายรูปแบบ ปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ไม่ว่าจะป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อมหรือบุคคลทั่วไป ให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการธุรกิจ รวมทั้งติดต่อประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งราชการและเอกชนได้สะดวกขึ้น โดยสามรรถลดค่าใช้จ่ายและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ได้อีกหลายรูปแบบ

ไทยเองได้รับการสนับสนุนและนำนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี่ไปใช้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกกฎหมายสนับสนุน ปรับโครงสร้างสารสนเทศและฐานข้อมูลของหน่วยงาน ฐานข้อมูลการลงทุนในภาคเอกชน การพัฒจนาดิจิทัล คอนเท้นส์และแอพพลิเคฃั่น และการนำเข้ามาช่วยในเรื่องของการศึกษารวมทั้งเตรียมความพร้อมเพื่อฝึกอบรมให้ความรู้ด้านไอซีทีและดิจิทัล อีโคมี่ให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมอีกด้วย

“แม้ว่าปี 2549 ที่ผ่านมา ประเทศไทยจะมีสาถนการณ์ความไม่สงบทางด้านการเมืองแต่จังหวัดเชียงใหม่ก็ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน จากสถิติในปีพ.ศ.2556-2557 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวประเทศไทย 4.6 ล้านคนต่อปีและมาเที่ยวเชียงใหม่ประมาณ 480,000 คนต่อปี และปัจจุบันยังมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่า 5 หมื่นคนต่อเดินอย่างต่อเนื่อ่ง ซึ่งกระจายรายได้ประมาณ 400 ล้านบาทต่อเดือนโดยเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง”คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

จังหวัดเชียงใหม่ได้รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยพัฒนาการบริการให้ข้อมูลสารสนเทศและความรู้ด้านการท่องเที่ยวผ่านโซเซียล เน็ตเวิร์ค และการจัดตั้งศูนย์บัญชาการการท่องเที่ยว หรือวอร์รูม เพื่ออำนวยการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ให้มีความพร้อมในการบริการนักท่องเที่ยว โดยบูรณาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้สามารถนำร่อง และก้าวเข้าสู่การเป็นตลาดศูนย์กลางเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้ ส่งผลให้เกิดความนิยมและน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติและสามารถเพิ่มโอกาสการมีรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในเชียงใหม่และใกล้เคียงด้วย.

ร่วมแสดงความคิดเห็น