สาระน่ารู้… ท้องผูก

ท้องผูก คือ การถ่ายอุจจาระลำบาก ไม่ถ่ายทุกวัน และมักร่วมด้วยการมีอุจจาระแข็ง กากอาหารที่เคลื่อนมาถึง ลำไส้ใหญ่ใหม่ๆ จะยังค่อนข้างเหลวและมีนํ้าอยู่มาก สำไส้ใหญ่จะดูดนํ้าและสารบางอย่างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแห้งขึ้นและเป็นรูปร่างหรือเป็นก้อนมากขึ้น ถ้าอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้นานๆ หรือร่างกายมีภาวะขาดนํ้า นํ้าในลำไส้ใหญ่จะถูกดูดกลับมากขึ้น ทำให้อุจจาระแข็งยิ่งขึ้น
อาการท้องผูกอาจเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น อุปนิสัยในการถ่ายอุจจาระ การขาดการ เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย (เช่น ผู้ที่นั่งทำงานอยู่กับที่ทั้งวัน ผู้ป่วยที่นอนอยู่กับเตียงเป็นเวลานานๆ) รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อยเกินไป ทานนํ้าน้อย รับประทานอาหารหรือยาบางอย่างที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ขาดฮอร์โมนบางอย่าง (เช่น ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์) ภาวะขาดนํ้า ความเครียดเป็นต้น
ท้องผูกเป็นเพียงอาการของโรค การที่ไม่ถ่ายอุจจาระทุกวันหรือเบ่งไม่ออก นานๆ ครั้ง หรือเป็น “ท้องผูกเป็นครั้งคราว” ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ แก้ไขได้ด้วยการกินผักผลไม้มากขึ้น หรือกินยาถ่ายเป็นครั้งคราว แต่ท้องผูกที่เกิดขึ้นเป็นประจำเป็นความผิดปกติ
1.อาการท้องผูก แบ่งง่ายๆออกเป็น
• ท้องผูกที่เกิดไม่นานกว่าหกเดือน เป็นท้องผูกที่อาจมีสาเหตุอื่นๆ กลุ่มนี้แพทย์ต้องหาสาเหตุ เช่น เกิดจากยา แพทย์อาจให้ยารักษาเบื้องต้นคนกลุ่มนี้ก่อน ถ้าไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษ เช่นการส่องลำไส้ใหญ่
• โรคท้องผูกเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการท้องผูกมานานกว่า 6 เดือน โดยมีการกำหนดว่าต้องอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ ได้แก่ การถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ อุจจาระแข็ง เบ่งไม่ออก ถ่ายไม่สุด ต้องใช้นํ้าฉีด สวน หรือนิ้วช่วย และเป็นมากกว่า 1 ใน 4 ครั้งของการถ่าย จึงจัดว่าเป็นโรคท้องผูกเรื้อรัง
• โรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ลำไส้แปรปรวนชนิดท้องเสีย และลำไส้แปรปรวนชนิดท้องผูก ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัดมากกว่าปกติ มีปัญหาปวด จุก แน่นท้อง อยากถ่าย และเริ่มเป็นกังวลถ้าไม่ถ่าย อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การป้องกันอาการท้องผูก ทำได้โดยฝึกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา จะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้, รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใย เช่น ผัก ผลไม้ มากขึ้น, ดื่มนํ้าให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อบริเวณท้อง, การไม่ถ่ายอุจจาระเพราะไม่มีกากอาหาร เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ได้ หรือ รับประทานอาหารที่ไม่มีกากไม่เรียกว่าท้องผูก
การรักษาอาการท้องผูกทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากๆ ได้แก่ ผัก ผลไม้ ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาท้องผูกแล้ว ยังมีผลดีต่อการลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และช่วยควบคุมโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูงด้วย กรณีที่ไม่สามารถทานได้ ก็ควรเสริมด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทเส้นใยอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำดื่มนํ้าให้เพียงพอ ฝึกการถ่ายให้เป็นนิสัย ไม่อั้น ถ้ามีสัญญาณการถ่ายควรรีบถ่ายอุจจาระทันที เมื่อถึงเวลาถ่ายอุจจาระ ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือทำอะไรอย่างอื่นๆ จัดท่านั่งถ่ายให้ถูกต้อง คือ กรณีที่เป็นส้วมชักโครก ควรโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงเบ่งมากขึ้นเปลี่ยนทัศนคติเรื่อง “การถ่ายอุจจาระทุกวัน” เพราะท้องผูกขึ้นกับสภาพอุจจาระไม่ใช่ความถี่พิจารณาใช้ยาระบายที่เหมาะสม โดยถือเป็นทางเลือกสุดท้าย ถ้าจำเป็นต้องใช้ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น