ไหล่ติด ข้อไหล่ยึด … รักษาได้ด้วยการส่องกล้องข้อไหล่

นพ.ณัฐพล สนธิชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ประจำศูนย์โรคปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา

เคยเป็นกันบ้างมั้ย ? ยกแขนใส่เสื้อตอนเช้าแล้วเจ็บไหล่ ยืดแขนได้ไม่สุด มีเสียงดังก็อกแก็กที่หัวไหล่ หรือแม้แต่จะทำอะไรก็ดูลำบากไปหมด นี่ใช่มั้ยที่เค้าเรียกว่าอาการ “ไหล่ยึด ไหล่ติด” แล้วอาการแบบนี้มาจากสาเหตุอะไร และรักดูแลรักษาอย่างไร วันนี้ นพ.ณัฐพล สนธิชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ประจำศูนย์โรคปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา จะมาให้ความรู้กันครับ

ข้อไหล่ติด ข้อไหลยึด เกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไรบ้าง?

ไหล่ติด” เป็นอาการเจ็บปวดที่หัวไหล่จนไม่สามารถขยับ หรือยืดแขนได้อย่างเต็มที่ มักมีอาการปวดเมื่อต้องขยับแขนไปในทิศทางต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากอาการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อบริเวณหัวไหล่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองก็ได้ หรือมาจากเคยมีอุบัติเหตุ ที่ทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อหัวไหล่ฉีกขาด อักเสบ มีกระดูกงอกในหัวไหล่ พังผืดติดยึด อาการที่เห็นได้ชัด เช่น การเอื้อมหยิบของจากที่สูง หรือด้านหลังได้อย่างลำบาก หรือไม่ได้เลย , ใส่เสื้อได้ลำบาก , ทำท่าตามระเบียบพักไม่ได้ , ขับรถแล้วหมุนพวงมาลัยลำบาก , ยกแขนสระผมลำบาก และพฤติกรรมใดๆ ที่ยกแขน ยกไหล่ลำบาก หรือไม่ได้เลย หากคุณมีอาการ หรือพฤติกรรมดังกล่าว ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรมาพบแพทย์เพื่อปรึกษาหรือหาทางรักษาต่อไปครับ

พบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรักษาโรคข้อไหล่ ดีกว่าครับ หลังจากพบแพทย์แล้ว แพทย์อาจตรวจร่างกายโดยละเอียด หากพบลักษณะของการฉีกขาดของเส้นเอ็นหัวไหล่ แพทย์อาจจะทำการส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (MRI) เพราะภาพที่ได้จากการ MRI จะทำให้แพทย์มองเห็นลึกถึงเส้นเอ็นที่มีปัญหา ว่ามีฉีกขาดมากน้อยเพียงใด หากพบว่าเส้นเอ็นฉีกขาดมีขนาดใหญ่ จำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัดเย็บซ่อม เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้เส้นเอ็นจะฉีกขาดเพิ่มขึ้นจนอาจซ่อมแซมไม่ได้และทำให้ข้อไหล่เสื่อม หรือยกแขนไม่ขึ้นในที่สุด

สำหรับวิธีการผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็นไหล่นั้นปัจจุบันใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นหลัก แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้เครื่องมือเข้าไปเย็บซ่อมเส้นเอ็น อาการปวดน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด และสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า สามารถดูรอยแผลต่างๆและเย็บซ่อม ได้ทั่วถึงกว่าการผ่าตัดแบบเปิดเหมือนแต่ก่อน

แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นโรคอาจยังไกลตัว หรือหากยังไม่เป็นก็คงไม่รู้สึก ว่าโรคนี้มีความทรมานแค่ไหน แต่หากคุณเป็นคนนึงที่มีลักษณะอาการใกล้เคียง ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรมาพบแพทย์ เพื่อปรึกษา และหาทางรักษาต่อไปครับ ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์โรคปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา

ร่วมแสดงความคิดเห็น