เกษตร วิถีสุขภาพ “มะระขี้นก” ลดน้ำตาล พิชิตเบาหวาน

“มะระขี้นก” หากเป็นภาษาท้องถิ่นหรือภาษาพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาคนั้น เรียกได้ ดังนี้ ภาคเหนือ เรียก “ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก “ผักไซ” ภาคใต้ เรียก “ผักไห่ ผักเหย ระร้อยรู” (ใต้) ภาคกลาง เรียก “มะร้อยรู” ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก “สุพะซู สุพะเด” ประเทศจีน เรียก “โกควยเกี๋ยะ โควกวย” เป็นต้น
มะระขี้นกนั้นเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีในเขตร้อนชื้น สามารถนำมารับประทานได้หลายรูปแบบ ทั้งเป็นผักต้มจิ้มน้ำพริก กินได้ทั้งยอดอ่อน ฝักอ่อน และฝักแก่
มะระขี้นกเป็นพืชไม้เถา มีมือเกาะลำต้นเลื้อยพาดพันตามต้นไม้หรือตามรั้ว มีอายุ 1 ปี ลักษณะใบมีหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๆ 5-6 หยัก ปลายใบแหลมมีสีเขียวอ่อน มีขนอ่อนนุ่มคลุม ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองออกบริเวณง่ามใบ ผลมะระขี้นกมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวขรุขระ เส้นผ่าศูนย์กลางมีตั้งแต่ 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร แต่ก็มีที่ผลใหญ่ ๆ มีถึงขนาด 3×8 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวออกขาว ผลแก่สุกเป็นสีส้มหรือแดงอมส้ม เมื่อแก่จัดจะแตกออกเป็นแฉก ๆ โชว์เมล็ดในที่มีเนื้อหุ้ม ผลล่อใจนกมาจิกกิน
สรรพคุณทางของมะระขี้นกมีมากมาย
รากสามารถใช้แก้พิษ ทั้งริดสีดวงทวาร แก้พิษดับร้อน แก้บิด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อน เถาแก้โรคข้อเท้าบวม โรคม้าม โรคตับ ใบดับพิษร้อน ขับระดู ขับลม แก้นอนไม่หลับ ปวดหัว แก้ไอเรื้อรัง ฟอกเลือด
เมล็ดทั้งแก้พิษและเป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ บำรุงธาตุ ต้านมะเร็ง และที่เด่นที่สุดเป็นสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
ผลหากเป็นผลแห้งใช้รักษาโรคหิดได้ หรือจะรับประทานสดแบบสดๆก็ได้ นำไปลวกจิ้มน้ำพริก สามารถใช้แก้ร้อน ร้อนในกระหายน้ำทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวมเป็นหนอง ฝีอักเสบได้
ใบ ใช้แก้โรคกระเพาะ บิด แผลฝีบวมอักเสบ ขับพยาธิ
ดอกมีรสขมและเย็นจัด ใช้แก้บิด
เถาใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดฝีอักเสบ และปวดฟัน
นอกจากนี้ มะระขี้นก ยังสามารถลดการเกิดโรคต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงของโรคเบาหวานได้อีกด้วย

ทิพย์พา…[email protected]

ร่วมแสดงความคิดเห็น