โชว์สุดยอดผลิตภัณฑ์ หนุนวิสาหกิจชุมชน


สนง.พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ลุยจัด BEDO สัญจร 2018 (ภาคเหนือ) ที่เชียงใหม่ โชว์สุดยอดผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนที่นำความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาทท้องถิ่นของดินแดนล้านนา มาสร้างมูลค่าโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาต่อยอด หวังกระตุ้นให้คนไทยเห็นคุณค่า ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ ประธานกรรมการบริหาร สพภ. ร่วมเปิดงาน BEDO สัญจร 2018 (ภาคเหนือ) โดยมี นางจุฑารัตน์ นิรัติศยกุล ผอ.สนง.พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ อาคารนิทรรศการ 1 ห้องราชพฤกษ์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่
นางจุฑารัตน์ นิรัติศยกุล ผอ.สนง.พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ BEDO ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2550 และได้ครบรอบ 10 ปี ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ BEDO มีการทำงานที่ใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นที่ถือเป็นฐานทรัพยากรของประเทศ โดยได้ให้ความสำคัญมากกับการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนฐานรากให้มีความสามารถในการพึ่งตนเอง ตระหนักถึงความได้เปรียบด้านทรัพยากรท้องถิ่น สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่ม หากแต่การพัฒนาดังกล่าวจะต้องไม่ทำลายฐานทรัพยากรเดิม นอกจากนั้นยังเสริมสร้างอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรชีวภาพ พร้อมนำเสนอผลงานและประโยชน์ของ BEDO ต่อชุมชนท้องถิ่น รวมถึงแนวทางดำเนินที่จะร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ ยุค Thailand 4.0 โดยในปี 2561 นี้ BEDO ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นการทำงานในระดับพื้นที่มากขึ้นใน 6 ภูมินิเวศประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกตะวันเฉียงเหนือ และภาคใต้ ให้เกิดการรับรู้ สร้างความตระหนักทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการประสานพลังในการขับเคลื่อนงาน จึงจัดงานมหกรรมทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสัญจร ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ภาคเหนือ ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ ในวันที่ 25-27 มกราคม โดยทางเราได้เล็งเห็นว่าจังหวัดเชียงใหม่คือกุหลาบแห่งเมืองเหนือ เป็นศูนย์กลางความเจริญ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว และมีทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมีคุณค่าอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง BEDO ได้ให้การสนับสนุนกับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดชียงใหม่ อาทิวิสาหกิจ อ.แม่ออน ให้เป็นสูนย์การประโยชน์และอนุรักษ์ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
นางจุฑารัตน์ กล่าวต่อว่า แนวทางที่ BEDO เข้าไปสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน จนได้รับตราส่งเสริม BioEconomy ที่มีจุดเด่นและแตกต่างจากสินค้าทั่วไปโดยยึดหลัก 3 ประการคือ 1.การใช้ทรัพยากรในชุมชนเป็นองค์ประกอบ 2.การผลิตที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity friendly processes)3.ปันรายได้ไปฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Future of the Origin) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ สร้างภายใต้บนจุดแข็งของประเทศ คือ ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาใช้ให้กลายเป็นความได้เปรียบเชิงแข่งขัน สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเพื่อการไปสู่ Thailand 4.0
ผอ.สนง.พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยในงาน BEDO สัญจร 2018 (ภาคเหนือ)ได้มีการนำเสนอข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่น่าสนใจของดินแดนล้านนา มีการจัดแสดงในรูปแบบการเล่าเรื่อง นิทรรศการมีชีวิต ซึ่งเริ่มต้นจาก แหล่งต้นน้ำที่ก่อเกิดระบบพื้นที่อนุรักษ์ จำลองแหล่งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนภาคเหนือ ให้ผู้ชมได้สัมผัสและเห็นตัวอย่างจริงจากสิ่งมีชีวิตและทรัพยากรทางชีวภาพและทรัพยากรทางชีวภาพที่น่าสนใจ อีกทั้งยังมีการรวบรวมข้อมูลจากศูนย์เรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และทำให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยมีวิสาหกิจที่มาร่วมงานกว่า 30 ชุมชน พร้อมด้วยเวทีเสวนา ตอบปัญหาธุรกิจและให้คำปรึกษาด้านการสร้างธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ นอกจากนั้นยังให้จัดให้มีการเสวนาวิชาการที่น่าสนใจ อาทิ การสร้างมูลค่า จากคุณค่าป่า ครอบครัว เป็นต้น การปลูกเห็ดทรัฟเฟิล เห็ดเศรษฐกิจ โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมงานได้ร่วมกิจกรรมสาธิตต่างๆ อาทิ การสร้างรายได้จากเลี้ยงชันโรง การเลี้ยงหนอนแม่โจ้ อาหารโปรตีนสูงสำหรับสัตว์ กิจกรรมสมาธิตภูมิปัญญาหมอเมือง ภูมิปัญญาอันมีค่ามินิคอนเสิร์ต โดยศิลป์หมอกเมืองหนาว รวมทั้งการออกร้านอาหารที่ขึ้นชื่อของเมืองเชียงใหม่ และสินค้าภูมิปัญญาของล้านนาที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่พลาดไม่ได้คือ การเข้าชมทัศนียภาพความงามของอุทยานหลานราชพฤกษ์และเรียนรู้แนวคิด “ป่าครอบครัว” ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งที่ผ่านมา BEDO ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพโดยชุมชนท้องถิ่น นอกจากการส่งเสริมสนับสนุนด้านเศรษฐานชีวภาพ BEDO ยังมีภารกิจสำคัญที่เกี่ยวข้องเพื่อปกป้องทรัพยากรชีวภาพของประเทศ เป็นต้น อาทิ การรวบรวมฐานชีวภาพแล้ว BEDO 2018 สัญจร (ภาคเหนือ)จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจ สร้างแรงบันดาลใจและเป็นอย่างยิ่งมีส่วนร่วมในการรักษาและพัฒนาทรัพยากรด้วนชีวภาพในการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการอนุรักษ์ นางจุฑารัตน์ กล่าวส่งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น