ธุรกิจสะดุด เร่งปล่อยกู้เอสเอ็มอีไทย


ธุรกิจไม่ลื่น กระทรวงอุตสาหกรรม จี้ SMEs รายตัว สั่งเร่งขั้นตอนพิจารณาทุกกองทุนการันตี 7 วันแจ้งผล หลังค้างท่อบางรายเกือบปียังไม่ได้อนุมัติ

หลังจากภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทางด้านการเงินมาระยะหนึ่ง พบยังมีปัญหาความล่าช้าจากกระบวนการพิจารณาแจ้งผลให้ผู้ประกอบการทราบ ส่งผลให้ SMEs หลายรายใช้เวลารอนาน 8-9 เดือนนับตั้งแต่วันที่ยื่น ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งผลการอนุมัติสินเชื่อว่าผ่านหรือไม่ ระยะเวลาการรอเพื่อเข้าไปเซ็นสัญญา ระยะเวลาเบิกจ่าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แจ้งว่า ขณะนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้ง 4 กองทุนเดิม และ 2 กองทุนใหม่ปรับขั้นตอนการพิจารณาในเดือน ก.พ. 2561 โดยคณะอนุกรรมการของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ (วงเงิน 20,000 ล้านบาท) ได้ปรับไปแล้วก่อนหน้านี้ คือ ลดขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเหลือเพียง 2 ขั้นตอน เน้นพิจารณาจากคุณสมบัติ และวัตถุประสงค์ในการขอรับสินเชื่อ เพื่อส่งเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์สินเชื่อได้ทันที ผ่อนปรนการเรียกตรวจเอกสาร ให้คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการวิเคราะห์กองทุนฯ ส่วนกลาง/ประจำจังหวัดพิจารณาเดือนละ 2 ครั้ง สินเชื่อ Transformation Loan (วงเงิน 15,000 ล้านบาท) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Bank) ปล่อยสินเชื่อไปหมดแล้ว และจะมี 2 กองทุนใหม่ที่จะเริ่มเปิดให้ยื่นขอรับสินเชื่อเร็ว ๆ นี้ ที่เน้นช่วยเหลือรายเล็กที่จะการันตีแจ้งผลภายใน 7 วัน คือ โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับคนตัวเล็ก (Micro SMEs) วงเงิน 8,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเพียง 1% และสินเชื่อเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร (fac-toring) วงเงิน 12,000 ล้านบาท กู้ต่อรายไม่เกิน 15 ล้านบาท ซึ่งจะต้องแจ้งผลการอนุมัติสินเชื่อให้ผู้ประกอบการทราบภายใน 7 วัน จากนั้นใช้เวลาในการเบิกจ่ายภายใน 1 วัน ขณะเดียวกันจะฟรีค่าธรรมเนียมเรียกเก็บหนี้
ส่วนกองทุนพลิกฟื้น (วงเงิน 1,000 ล้านบาท) บริหารจัดการโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จากที่ค้างท่ออยู่เป็น 1,000 ราย ขณะนี้เริ่มทยอยอนุมัติและเรียกเซ็นสัญญาแล้ว 100 ราย และเบิกจ่ายแล้วกว่า 50% คาดว่าภายใน มี.ค. 2561 นี้จะจบวงเงินทั้งหมดหลังให้ SME Bank เข้าไปช่วย และกองทุนฟื้นฟู (วงเงิน 2,000 ล้านบาท) ของ สสว.เช่นกันนั้นได้ส่งเจ้าหน้าที่พิเศษ (ม้าเร็ว) และเจ้าหน้าที่ของ SME Bank ในพื้นที่ไปช่วยการพิจารณาแล้ว
“เราสั่งให้เจ้าหน้าที่เร่งส่งจดหมายและโทร.ติดตาม SMEs ที่ยังไม่ยื่นเอกสารให้ครบ เพื่อเร่งให้เข้าสู่ระบบการพิจารณาโดยเร็ว ส่วนรายที่เกินวันกำหนด และรายที่ไม่มีเอกสารยินยอมการปรับโครงสร้างหนี้ NPL จากแบงก์ จำเป็นต้องตัดไป อย่างกองทุนตัวใหม่ 2 ตัวของ SME Bank พยายามเร่งกระบวนการพิจารณาให้เร็วที่สุด หลังจาก 7 วันเราแจ้งผลให้รู้แล้ว SME จะต้องยื่นเอกสารโดยเฉพาะเรื่องของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL ที่ส่วนใหญ่ยังต้องใช้เวลาขอจากแบงก์เจ้าหนี้ เราจึงตีกรอบเวลาไม่ได้ว่าจะนานขนาดไหน เพราะบางรายอยู่ที่ตัว SMEs เอง และบางรายเราต้องอาศัยรายละเอียดมากพอสมควรโดยเฉพาะเอกสารหนี้ NPL เพราะรัฐก็ไม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น