“อาณาจักรล้านนา” เมือง 5 เชียง

อดีตดินแดนภาคเหนือของประเทศที่ได้ชื่อว่าล้านนา เคยมีหัวเมืองในความปกครองที่มีคำขึ้นต้นว่า “เชียง” อยู่ถึง 5 เมือง อันได้แก่เชียงราย เชียงใหม่ เชียงทอง เชียงตุงและเชียงรุ่ง ซึ่งรวมเรียกว่า “เมือง 5 เชียง” หัวเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วเคยมีกษัตริย์ปกครองมีอย่างยิ่งใหญ่ ทว่าภายหลังการเข้ามาของประเทศมหาอำนาจซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวเมืองล้านนาต้องถูกแบ่งแยกในบรรดาเมือง 5 เชียง เมืองเชียงรายถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุด
เมื่อเอ่ยถึงประวัติของเชียงราย จะต้องกล่าวถึงประวัติของเมืองเชียงแสนควบคู่กันไป เพราะในยุคที่ไทยกำลังหนีจีนมาตั้งนครหลวงอยู่ที่แคว้นเมาและหนองแสนั้น ถิ่นที่ตั้งของจังหวัดเชียงราย เป็นที่อยู่ของชาวป่าชาวเขาพวกหนึ่งที่เรียกว่า “ลัวะ” หรือ “ละวะ” หรือ “ละว้า” และชาวป่าพวกอื่นๆ อยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 11 ขอมมีอำนาจมาถึงอาณาจักรโตรบูร และยกเข้ามาตีแคว้นยวนเชียงขับไล่ชาติไทยแล้วมาตั้งอาณาจักรขึ้นที่เชียงแสน เรียกว่า “สุวรรณโคมคำ” ที่ซากเมืองเชียงลาวใกล้ฝั่งโขงและสร้างเมือง “อุมงคเสลา” ที่ซากเมืองฝาง

ต่อมาประมาณ พ.ศ.1300 ขุนใสฝา โอรสขุมบรม กษัตริย์ไทยครองนครหนองแส ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้น บริเวณเมืองสุวรรณโคมคำที่ร้างอยู่ เจ้าสิงหนวัติกุมาร ได้อพยพคนไทยประมาณแสนครัวเรือนออกจากหนองแส (ตาลีฟู) ลงมาสร้างเมืองใหม่ขนานนามว่า “เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตินคร” หรือเมืองเชียงแสน
ปีพ.ศ. 1802 พระเจ้าเม็งรายขึ้นครองราชสมบัติที่เมืองหิรัญนครเงินยาง ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือและเสด็จตามช้างไปจนถึงดอยจอมทองริมแม่น้ำกกนที เห็นภูมิประเทศเป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างพระนครไว้โดยก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง แล้วขนานนามว่า “เมืองเชียงราย”
เมื่ออาณาจักรล้านนาตกเป็นของพม่าในปี พ.ศ.2101 พม่าได้ให้ขุนนางมอญปกครองเมืองแทน เข้าสู่ยุคสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อาณาจักรล้านนาจึงกลับมาขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนสำเร็จ พอถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดระเบียบการปกครองใหม่ให้เชียงรายอยู่ในมณฑลพายัพ การปกครองเมืองเชียงรายจึงได้มีการจัดระบบการปกครองแบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาล จัดให้มีการบูรณะบ้านเมืองโดยเฉพาะตัวเมืองเชียงราย หมดสอนศาสนาชื่อ นายแพทย์วิลเลี่ยม เจบริดส์ ได้ช่วยในการวางผังเมืองตามทฤษฏีผังเมืองสมัยใหม่

ภายหลังการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฏร์ได้ยกเลิกระบบเทศาภิบาลให้หัวเมืองลานนาไทยมีฐานะเป็นจังหวัด และต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงรายขึ้นเป็นจังหวัด ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายได้แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอกับ 2 กิ่ง ได้แก่ อ.เมือง อ.แม่ลาว อ.เวียงชัย อ.เชียงของ อ.เชียงแสน อ.เวียงแก่น อ.เทิง อ.แม่สาย อ.พญาเม็งราย อ.พาน อ.ป่าแดด อ.แม่จัน อ.ขุนตาล อ.แม่ฟ้าหลวง อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย กิ่งอ.เชียงรุ้งและกิ่งอ.ดอยหลวง
เชียงใหม่เป็นเมืองเก่าแก่และมีประวัติการสร้างอันน่าภาคภูมิใจ กษัตริย์ผู้ทรงสร้างนครเชียงใหม่คือ “พญามังรายมหาราช” (พ่อขุนเม็งรายมหาราช) พระองค์ทรงรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยบนแผ่นดินล้านนาไทยให้เป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน รวมเป็นอาณาจักรล้านนาไทยอันกว้างใหญ่ไพศาล

พญามังรายเป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็งผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าลาวจักราช ซึ่งเป็นผู้สร้างอาณาจักรโยนก ส่วนมารดาของพระองค์คือ พระนางอั่วมิ่งจอมเมือง ในปี พ.ศ.1802 พญามังรายได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าลาวเม็ง ณ อาณาจักรโยนก ในระยะที่พญามังรายกำลังเรืองอำนาจในอาณาจักรล้านนาไทยนั้น เป็นเวลาเดียวกับที่ “พญาร่วง” (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) กำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยและ “พญางำเมือง” (พ่อขุนงำเมือง) กำลังเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองพะเยา กษัตริย์ทั้งสามพระองค์นี้เป็นพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานมาด้วยกัน ดังนั้นเมื่อพญามังรายรวบรวมเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนาไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนาแล้ว ในปี พ.ศ.1824 พระองค์ยกกองทัพมาตีเมืองหริภุญชัยไว้ในอำนาจ หลังจากได้เมืองหริภุญชัยแล้วทรงโปรดให้อำมาตย์คนสนิทชื่อ “อ้ายฟ้า” ครองเมืองหริภุญชัย

จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ชื่อ “เวียงกุมกาม” (ปัจจุบันเป็นเมืองร้างอยู่ในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) ปี พ.ศ.1834 ทรงดำริที่จะสร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกแห่งหนึ่งเพื่อเป็นศูนย์กลางของล้านนาไทย เมื่อเริ่มสร้างเมืองใหม่นั้น พญามังรายได้ทูลเชิญพญาร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัยและพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยาพระสหายร่วมน้ำสาบาน ให้มาช่วยพิจารณาทำเลที่จะสร้างเมืองใหม่ กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ทรงเห็นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง บริเวณป่าเชิงดอยสุเทพเป็นที่ราบกว้างใหญ่ อยู่ในเทือกเขาสลับซับซ้อนมีแม่น้ำปิงอยู่ทางด้านตะวันออก พื้นที่นั้นกว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะสร้างเมืองหลวงขึ้นในบริเวณนั้นเป็นอย่างยิ่ง
พญาร่วงทรงมีพระราชดำรัสว่า “เมืองนี้ข้าศึกจะเบียดเบียนมิได้ คนไหนมีเงินพันมาอยู่จะมีเงินหมื่น ครั้นมีเงินหมื่นมาอยู่จะมีเงินแสน” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพทางยุทธการและเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่
เมื่อกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ทรงปรึกษาหารือกันแล้ว พญามังรายจึงได้ตกลงพระทัยที่สร้างเมืองใหม่ขึ้นมา ณ ที่ราบเชิงดอยสุเทพแห่งนี้ โดยสร้างกำแพงเมืองด้านกว้าง 800 วา ด้านยาว 1,000 วามาบรรจบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ครั้นเมื่อได้เวลาฤกษ์ก็ได้ลงมือขุดคูเวียงและก่อปราการด้านทิศอีสานอันเป็นทิศศรีนครก่อนแล้วอ้อมไปทิศทักษิณไปรอบสี่ด้านพร้อมทั้งตั้งตลาดไปด้วยกันเป็นเวลาสี่เดือนจึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ทรงขนานนามเมืองนี้ว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”

ในปี พ.ศ.1839 เมืองเชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญของล้านนาไทย โดยมีกษัตริย์เชื้อสายราชวงศ์มังรายปกครองตลอดมาจนถึง 200 ปีเศษ เชียงใหม่ถูกรุกรานและตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าและกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายยุคหลายสมัย จนครั้งสุดท้ายในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีนครเชียงใหม่คืนจากพม่าได้ในปี พ.ศ.2317 ทรงกวาดล้างอิทธิพลของพม่าออกจากล้านนาไทยได้สำเร็จและทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองมาประจำแต่ผู้ครองนครก็ยังมีอยู่ เจ้าผู้ครองนครในล้านนาไทยถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงธนบุรีทุก ๆ ปีในฐานะประเทศราชจนถึงปี พ.ศ.2435 จึงยุติลง เชียงใหม่เป็นเมืองราชของกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงสมัยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสถาปนา “พญากาวิละ” (กาวิละ ณ เชียงใหม่) ขึ้นเป็นพญากาวิละ เป็นต้นตระกูล “ณ เชียงใหม่” ปกครองเมืองเชียงใหม่สืบเนื่องมาจนถึงเจ้าแก้วนวรัฐ องค์ที่ 9 เป็นองค์สุดท้าย

เมื่อคราวจัดแบ่งการปกครองราชอาณาจักรไทยออกเป็นมณฑลในปี พ.ศ.2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยุบเมืองราชเข้ากับอาณาจักรไทยและได้ยกเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นมณฑลพายัพ มีสมหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลต่อมาภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 แล้วได้ยุบเลิกมณฑลพายัพเสีย เมืองเชียงใหม่จึงเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้ รวมเวลาที่เชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาตั้งแต่ปี พ.ศ.1839 จนถึงปีพ.ศ.2339 ได้ 500 ปีและมีอายุตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองจนถึงปัจจุบัน 721 ปี ในเดือนเมษายน 2560

เชียงตุง มีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อทั้งเมืองเขิน เมืองขึน เมืองเขมรัฐ มีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองนี้เมื่อราว 800 ปีก่อนว่า เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมทั้งใหญ่ขึ้น ณ ริมฝั่งลำน้ำขึน แต่มีพระดาบสรูปหนึ่งนามว่า “ตุงคฤาษี” ได้แสดงอภินิหารให้น้ำไหลออกไปเหลือไว้เพียงแค่หนองน้ำใหญ่กลางใจเมือง ซึ่งกาลต่อมาได้ถูกขนานนามตามชื่อฤาษีรูปนั้นว่า “หนองตุง” และเป็นที่มาของชื่อเมืองที่มีความรุ่งเรืองเฟืองฟูริมหนองน้ำแห่งนี้ว่า “เชียงตุง” หรือ “เขมรัฐตุงคบุรี”

เขมรัฐตุงคบุรี หรือ เชียงตุง แว่นแคว้นแห่งนี้มีตำนานการก่อกำเนิดมานานเกือบพันปี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนกลุ่มตระกูลไทหรือไตกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกตนเองว่า “ไทขึน” หรือ “ไทเขิน” ตามชื่อแม่น้ำขึนที่ไหลหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนชาวเมืองมานานชั่วนาตาปี อีกทั้งใจกลางเมืองยังมีหนองน้ำใหญ่ที่เรียกสืบต่อกันมาว่า “หนองตุง” หรือ “หนองตุ๋ง” ด้วยความที่เมืองเชียงตุงเคยเป็นหัวเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรล้านนาและมีประวัติการก่อตั้งเมืองในยุคสมัยใกล้เคียงกัน ทั้งยังมีเจ้าผู้ครองนครปกครองที่มาจากต้นตระกูลเดียวกันคือราชวงศ์มังราย จึงทำให้สองเมืองนี้มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันจนแยกไม่ออก

ยิ่งในระยะหลังราชสำนักเชียงใหม่กับเชียงตุงก็ยิ่งแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีราชตระกูลของทั้งสองฝ่ายอภิเษกสมรสกัน เช่น เจ้าอินทนนท์ ราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายสมรสกับเจ้านางสุคันธา ราชธิดาของเจ้าฟ้าเชียงตุง เจ้าทิพวรรณ ธิดาของเจ้าหลวงเมืองลำปาง อภิเษกสมรสกับเจ้าพรหมลือ ราชบุตรแห่งเจ้าก้อนแก้วอินแถลง เจ้าหลวงเมืองเชียงตุงและยังมีเจ้านายของทั้งสองราชตระกูลเกี่ยวดองกันอีกหลายท่าน

ยุคแห่งความรุ่งเรืองของราชสำนักเชียงตุงอยู่ในรัชสมัยของเจ้าก้อนแก้วอินแถลง ซึ่งทรงครองราชสมบัติในช่วงที่มหาอำนาจทางยุโรปกำลังขยายอำนาจในฐานะเจ้าอาณานิคม เมื่อราว 150 ปีก่อน เจ้าฟ้าของชาวไทเขินเชียงตุงพระองค์นี้ ทรงพระปรีชาสามารถและสร้างความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นในปี พ.ศ.2450 หลังจากที่เสด็จกลับจากการประชุมร่วมกับอังกฤษที่ประเทศอินเดียแล้ว พระองค์ยังได้สร้างพระราชวังหลวง หรือ “หอหลวง” ด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบอินเดียประยุกต์ผสมกับศิลปกรรมแบบยุโรปขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ

ปี 2534 รัฐบาลทหารเผด็จการพม่าภายใต้การนำของนายพลเนวิน ได้ทำการทุบรื้อทำลาย “หอหลวง” สถานที่อันเป็นศูนย์รวมใจของชาวไทขึนแห่งเขมรัฐเชียงตุง เพียงเพราะทหารพม่าต้องการพื้นที่เพื่อใช้สร้างโรงแรมในการโปรโมทการท่องเที่ยวของพม่า Visit Myanmar Year 1996 (พ.ศ.2539) ทว่าสิ่งที่สูญหายไปคืองานสถาปัตยกรรมชิ้นเยี่ยมที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งน่าจะก่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจได้ดีกว่าโรงแรมเล็กๆขนาดไม่กี่ห้องพัก ที่วันนี้ดูเงียบเหงาวังเวงปราศจากนักท่องเที่ยวผู้มาเข้าพักเป็นไหน ๆ

กล่าวกันว่าหาก “หอหลวง” ของเมืองเชียงตุงไม่ถูกทุบทิ้ง จะเป็นแหล่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยือนนครรัฐแห่งนี้เป็นจำนวนมากและยังเป็นสถานที่เชิดหน้าชูตาของบรรดารัฐไทในแถบนี้ได้ดีพอ ๆ กับ “พระราชวังเชียงทอง” ในเมืองหลวงพระบางเชียงทอง หรือ หลวงพระบาง มีชื่อเดิมว่า “เมืองซัว” อันหมายถึงดินแดนแห่งสรวงสรรค์เป็นที่ประทับของพระอินทร์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “เชียงดงเชียงทอง” เพราะเป็นดินแดนที่มีทองคำมาก กระทั่งในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธานี กษัตริย์ลาวองค์ที่ 24 แห่งอาณาจักรล้านช้าง ผู้ทรงสถาปนาพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติ ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธรูปปางห้ามญาติมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองล้านช้าง เรียกว่า พระบาง อันเป็นที่มาของการเรียกเมืองเชียงทองว่า หลวงพระบาง
มรดกล้ำค่าของหลวงพระบางอยู่ที่ความเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา คือมีวัดกระจัดกระจายอยู่ทั่วเมืองไม่ต่ำกว่า 50 วัด สีเหลืองแห่งพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาครอบงำจิตใจของชาวหลวงพระบางมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อารยธรรมในดินแดนแห่งนี้จึงมีผลพวงมาจากอิทธิพลของพุทธศาสนา โดยเฉพาะวัดแต่ละวัดนั้นเต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมอันงดงามของชาวล้านช้าง ถ้าเราจะพิสูจน์กันง่ายๆ ว่า พุทธศาสนาคือแก่นประเพณีวิถีชีวิตของชาวหลวงพระบาง หรือไม่ก็ต้องตื่นตอนตีห้าลุกขึ้นมาดูการทำบุญตักบาตรตามริมถนนทุก ๆ เช้าชาวหลวงพระบางเกือบทุกครัวเรือนจะพากันออกมารอใส่บาตรพระสงฆ์ที่เดินเรียงแถวมาตามถนนกว่าร้อยรูป ในยามนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่คนหลวงพระบางเริ่มต้นชีวิตในวันใหม่ด้วยรอยยิ้มแห่งการทำบุญ อิ่มเอิบทั้งจิตใจและใบหน้าแทบไม่น่าเชื่อว่าเมืองเล็ก ๆ ที่มีถนนหลักแค่ 2-3 เส้นทอดผ่านกลางตัวเมือง ทว่ากลับมีวัดจำนวนมากตั้งเรียงรายอยู่ฝั่งถนน หลวงพระบางอาจไม

ร่วมแสดงความคิดเห็น