พระเจ้าแสนแซ่ หรือพระเจ้าล้านตื้อ พระพุทธรูปสวยสุดล้านนา

วันที่ 4 ก.ย 61 ผู้สื่อข่าวได้ไปชมวัดศรีอุโมงค์คำ หรือที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า “วัดสูง” ในเขตพื้นที่ ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา ถือว่าเป็นวัดที่มีความสวยงามอีกวัดหนึ่งของ จ.พะเยา ที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว ที่สำ คัญยังเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป พระเจ้าแสนแซ่ หรือพระเจ้าล้านตื้อ ที่ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีบุคคลิลักษณะสวยงามที่สุดในล้านนา นอกจากนั้นยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ ที่เป็นลักษณะหิน ทรายที่เก่าแก่ที่สุดใน จ.พะเยา

พระเทพญาณเวที เจ้าอาวาสวัดศรีอุโมงค์คำ ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา อดีตเจ้าคณะ จ.พะเยา นำผู้สื่อข่าวเข้าชมความงดงาม ของวัดศรีอุโมงค์คำ ซึ่งถือเป็นวัดเก่าแก่ ที่สำคัญของ จ.พะเยา อีกวัดหนึ่ง ที่มีความสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว และที่สำคัญยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนแช่ หรือพระเจ้าล้านตื้อ ที่ถือเป็นพระพุทธรูปหินทราย ที่มีความงดงามที่สุดในล้านนา หรือชื่อทางการของพระพุทธรูปองค์นี้คือ “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก มีพระวรกายอวบอิ่ม สีทองงามอร่าม พระพักตร์ดูอมยิ้มอยู่ตลอดเวลา และมีเอกลักษณ์ทางศิลปะของชาวภูกามยาวแต่อดีต นอกจากนั้นวัดแห่งนี้ยังมีพระพุทธรูปหินทราย ที่เก่าแก่สมบูรณ์ที่สุดอีกองค์ประดิษฐานอยู่ คือหลวงพ่อทันใจ

โดยพระเทพญาณเวที เจ้าอาวาสวัดศรีอุโมงค์คำ เล่าว่า วัดศรีอุโมงค์คำแห่งนี้ ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของ จ.พะเยา มีพระเจ้าล้านตื้อ ประดิษฐาน ซึ่งพระเจ้าล้านตื้อ แต่ก่อนได้มาจากบริเวณศาลหลัก เมือง ในขณะนั้นมากว่า 500 ปี พะเยาหรือภูกามยาว เป็นแหล่งที่ผลิตพระพุทธรูปหินทรายเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย แต่พอถึงยุคสงครามพม่าก็ได้มีการทำลาย และนำออกไปจากพื้นที่ และหลงเหลือพระ พุทธรูปหินทรายบางส่วนไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดการชำรุด ส่วนพระเจ้าล้านตื้อองค์ดังกล่าว ก็ได้ถูกค้นพบ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเป็นปูนเคลือบทองสำริดเอาไว้ และชิ้นส่วนขององค์พระ จะสามารถถอดประกอบได้
โดยจะมีแซ่ (ภาษาล้านนา) หรือสลัก เป็นส่วนประกอบแทบทั้งองค์ จึงเรียกชื่อเดิมว่าพระเจ้าแสนแซ่ (หรือแสนสลัก) ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยสดงดงาม ถูกบุคคลิลักษณะสวยงามที่สุดในล้านนา ซึ่งปัจจุบันได้มีการลงรลักปิดทองอย่างสวยงาม ไม่เห็นแซ่หรือสลักดังกล่าว และมีชื่อเป็นพระเจ้าล้านตื้อ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุด หาที่เปรียบเทียบไม่ได้ นอกจากนั้นวัดศรีอุโมงค์คำแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษ ฐานพระเจ้าทันใจ ที่เป็นลักษณะหินทรายที่เก่าแก่ที่สุดใน จ.พะเยา และมีหลักฐานว่าสร้างก่อนองค์พระเจ้าตนหลวงสัมภาษณ์…พระเทพญาณเวที เจ้าอาวาสวัดศรีอุโมงค์คำ ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา

สำหรับวัดศรีอุโมงค์คำ ดังกล่าว เป็นวัดตั้งอยู่ในเนินสูงทั้งเจดีย์และพระอุโบสถ ทำให้วัดสูงเด่นสง่าและมองเห็นได้เด่นชัด วัดศรีอุโมงค์คำ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อปี 2389 โดยชื่อวัดศรีอุโมงค์คำ นั้น มีความหมายตามสถานที่ตั้งดังนี้ คำว่า “ศรี” หรือที่ล้านนาอ่านว่า “สะ-หรี” หมายถึง ต้นโพธิ์ หรือ ความเป็นมงคล ส่วนคำว่า“อุโมงค์” หมายถึงอุโมงค์ หรือถ้ำ ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่า ใต้ฐานโบสถ์ของวัดแห่งนี้ มีถ้ำหรืออุโมงค์อยู่ และคำว่า “คำ” หมายถึง ทองคำ วัดศรีอุโมงค์คำ เป็นวัดที่มีพระเจดีย์สมัยเชียงแสน ที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก พระธาตุเจดีย์สีทองอร่ามบนฐานสี่เหลี่ยมยกสูงตั้งเด่นเป็นสง่า เป็นเจดีย์ศิลปะล้านนาหน้าไม้สิบสอง ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 3 ชั้น เรือนธาตุรูปแปดเหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่ในซุ้ม
มีวิหารหลังเก่าที่สร้างขึ้นในปีจุลศักราช 1237 สัปตศก เจ้าหลวงอริยะซึ่งลงไปรับสัญญาบัตรกลับมาครองเมืองพะเยาได้ก่อสร้างวิหารของวัดนี้ขึ้น แต่ภายหลังถูกรื้อออกไป สันนิษฐานว่าอาจเป็นวิหารหลังที่เหลือร่องรอยเพียงฐานของวิหาร สิ่งสำคัญของวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร คือฐานวิหารเก่า ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างที่แน่ชัด และภายในพระอุโบสถของวัดยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยาอีกองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงมากในล้านนา เรียกกันว่า “พระเจ้าล้านตื้อ” หรือพระเจ้าแสนแซ่ ชื่อทางการของพระพุทธรูปองค์นี้คือ “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์” มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก พระเจ้าล้านตื้อมีพระวรกายอวบอิ่ม สีทองงามอร่าม พระพักตร์ดูอมยิ้มอยู่ตลอดเวลา และมีเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดยเฉพาะ

ร่วมแสดงความคิดเห็น