พระเจ้าอินทร์สาน “พระพุทธรูปไม้ไผ่สาน” ความศรัทธาแห่งแม่ฮ่องสอน

 “พระเจ้าอินทร์สาน” หรือ “พระไม้ไผ่สาน”ประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญวัดจองกลาง มีขนาดหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตรซึ่งบนยอดพระเกศบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญของวัดจองกลาง

แต่เดิมวัดจองกลางนั้น เป็นสถานที่สำหรับใช้พักจำศีลของวัดจองใหม่ซึ่งในอดีตตั้งอยู่ติดกันต่อมาจึงได้สร้างเป็นศาลาการเปรียญหลังปัจจุบันแทนหลังเก่าเพื่อถวายแด่พระภิกษุชาวพม่าที่มาพักค้างคืนครั้งงานศพเจ้าอาวาสวัดจองใหม่จากแรงศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพระภิกษุที่เดินทางมาในครั้งนั้นจึงได้นิมนต์ขอให้อยู่จำวัดต่อ โดยใช้พื้นที่บริเวณนี้สร้างเป็นวัดขึ้นมาอีกแห่งซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างวัดจองคำ กับวัดจองใหม่พอดี จึงให้ชื่อวัดว่า“วัดจองกลาง” ในจนปัจจุบัน

วัดจองคำวัดจองกลางหรือเรียกอีกชื่อว่า วัดฝาแฝดโดยวัดทั้งสองนี้ตั้งอยู่คู่กัน  อยู่ในกำแพงเดียวกัน เมื่อมองจากด้านหน้าวัดจองคำ จะอยู่ด้านซ้ายมือ ส่วนวัดจองกลางจะอยู่ทาง ขวามือวัดจองคำและวัดจองกลางตั้งอยู่กลางเมืองแม่ฮ่องสอน และเป็นเสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมืองไทใหญ่แห่งนี้ให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมและยังเป็นสถานที่ๆให้ญาติโยมได้เข้าไปทำพิธีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาภายในวัดทั้งสองแห่งนี้

วัดจองคำตั้งอยู่ตรงข้ามกับหนองน้ำ ซึ่งชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า”หนองจองคำ”วัดจองคำสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2340 เป็นวัดแรกของ เมืองแม่ฮ่องสอน เป็นวัดเก่าแก่สร้างตามแบบอย่างศิลปะไทยใหญ่โดยมีลักษณะที่โดดเด่นนั้นคือหลังคาทรงประสาท 9 ชั้น และ วิหารหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดของแม่ฮ่องสอน สร้างเมื่อ พ.ศ.2477 เป็นผลงานจาก ช่างชาวพม่ามีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85 เมตร และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งจำลองมาจากพระศรีศากยมุนีที่วิหารวัดสุทัศน์ ซึ่งที่มาของชื่อวัดจองคำนั้นเนื่องจากสาวัดประดับ ด้วยทองคำเปลว จอง=วัด คำ=ทอง

ภายในวัดยังไม่เพียงแต่จะมีพระพุทธรูปให้ได้สักการบูชา แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์บนวัดจองกลาง ภายในพิพิธภัณฑ์จะจัดแสดงตุ๊กตาไม้แกะสลักที่นำมาจากพม่าตั้งแต่ปีพ.ศ. 2400 จำนวน 33 ตัว มีทั้งรูปคนและสัตว์เกี่ยวกับเรื่องพระเวสสันดรชาดก นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์โบราณพระพุทธรูปหินอ่อนองค์เล็กฝีมือประณีตงดงาม ถ้วยโถโอชามและเครื่องใช้โบราณอีกหลายชิ้นให้ได้ชมกันในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อีกด้วย นักท่องเที่ยวและประชาชนสามารถเข้าชมได้ฟรี

ขอบคุณภาพจาก Prasit Boonlad

จัดทำโดย นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (วิยาลัยแม่ฮ่องสอน)

ร่วมแสดงความคิดเห็น