เชิดมังกรจีน ธรรมเนียมปฏิบัติแห่งการเฉลิมฉลอง

“มังกรจีน” จัดเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของ “จีน” ที่ในห้วงเวลาของตรุษจีนหรือเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆของจีน เราจะเห็นมังกรเชิดออกมากันจนชิดตา “การเชิดมังกร” ของจีนนั้น เป็นรูปแบบการเต้นรำที่สืบทอดมาและถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของวัฒนธรรมจีนกันมาอย่างยาวนาน ที่มักจะพบเห็นในการฉลองเทศกาลต่างๆ โดยการเต้นจะใช้ทีมเต้นต่อกันไปตามรูปร่างความยาวของมังกร และทีมเต้นจะมีการเคลื่อนไหวเลียนแบบการเคลื่อนไหวของแม่น้ำที่คดเคี้ยวไปมาด้วย

ซึ่ง มังกรจีน นั้น คนจีนเชื่อว่ามังกรจะนำความโชคดีมาให้กับผู้คน ฉะนั้นยิ่งเชิดมังกรระยะเวลานานมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะนำความโชคดีมาให้ชุมชนมากขึ้นเท่านั้น และมังกรถูกเชื่อว่าเป็นผู้ที่มีคุณสัมบัติที่ประกอบด้วย พลังอันยิ่งใหญ่ ความสง่างาม ความอุดมสมบูรณ์ สติปัญญา และสิริมงคล ลักษณะของมังกรมีทั้งความน่ากลัว และมีขนาดใหญ่ แต่มันก็มีความเมตตา ดังนั้นจึงถูกนำไปกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ การเคลื่อนไหวแบบที่สืบทอดกันมาเป็นการแสดงถึงอำนาจและความสง่างามของมังกร

ในช่วงของราชวงศ์ฮั่น รูปแบบการเชิดมังกรแบบต่างๆ ได้ถูกกล่าวถึง ในสมัยจีนโบราณ มังกรจีน คือผู้กำหนดการตกของฝน ตัวอย่างเช่น มังกร อิ้งหลง ถูกยกย่องให้เป็นเทพแห่งฝน และเสินหลง มีอำนาจในการกำหนดให้มีลมเท่าใด มีฝนเท่าใด ซึ่งระบำฝนจะจัดขึ้นในช่วงเวลาหน้าแล้ง ที่จะมีมังกรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วยเสมอ โดยตามหนังสือที่เขียนขึ้นโดยต่ง จ้งซู ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีชื่อหนังสือว่า ชุนชิวฝานลู่ ในส่วนที่เกี่ยวกับพิธีกรรมขอฝน จะมีการใช้มังกรที่ทำจากดินเหนียว และเด็กๆและผู้ใหญ่ก็จะออกมาเต้น จำนวนมังกร ความยาว และสีสันของมังกรจะแตกต่างกันไปตามในแต่ละปี

สำหรับโครงสร้างของมังกรนั้น มังกรจะมีลำตัวที่ยาวคดเคี้ยวและมีเสาอยู่เป็นจำนวนมาก มีหัวและหาง ตัวมังกรในแต่ละส่วนจะถูกนำมาต่อติดกันด้วยห่วงและต่อส่วนหัวและส่วนหางตรงส่วนท้ายสุด มังกรแบบดั้งเดิมสร้างจากไม้ มีห่วงไม้ไผ่อยู่ข้างใน ภายนอกห่อหุ้มด้วยผ้าสวยงาม อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันจะใช้วัสดุที่เบาขึ้นเช่น อะลูมิเนียม และ พลาสติกมาแทนไม้และวัสดุที่หนัก

มังกรจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 25 ถึง 30 เมตร สำหรับที่ใช้แสดงแบบผาดโผน และที่ใหญ่สุดก็จะยาวถึง 50 ถึง 70 เมตร สำหรับในงานเดินขบวนและเทศกาลฉลอง ขนาดและความยาวจะขึ้นอยู่กับกำลังของคนที่แสดง กำลังเงิน วัตถุดิบ ทักษะความสามารถของนักแสดง และขนาดพื้นที่ที่ใช้แสดง ขนาดและความยาวปกติของมังกรแนะนำอยู่ที่ 112 ฟุต (34 เมตร) และจะมีการแยกเป็น 9 ส่วนใหญ่ๆ โดยที่ส่วนย่อยในแต่ละส่วนยาวประมาณ 14 นิ้ว ดังนั้นทั้งตัวจะมีประมาณ 81 ส่วนย่อย มีมากมายที่อาจจะขยายไปถึง 15 ส่วน และมังกรบางตัวก็มียาวถึง 46 ส่วน บางครั้ง ก็มีการแข่งสร้างมังกรในหมู่ชุมชนชาวจีนรอบโลก โดยพยายามสร้างให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตั้งแต่มีตำนานที่กล่าวว่ายิ่งมังกรยาวเท่าไหร่ก็จะยิ่งนำความโชคดีมาให้มากขึ้นเท่านั้น มังกรที่ยาวที่สุดที่มีบันทึกไว้ในปัจจุบันยาวกว่าถึง 5 กิโลเมตร

ในประวัติศาสตร์ การเชิดมังกรจะมีการแสดงที่หลากหลายแตกต่างกันไป พร้อมด้วยรูปแบบ และสีสันของมังกรที่แตกต่างกันไปเหมือนกัน บางทีสีเขียวถูกเลือกให้เป็นสีหลักของมังกร เพราะสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของการเก็บเกี่ยวที่ดี สีอื่นๆ ได้แก่ สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ที่น่าเกรงขาม สีทองและสีเงินเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญมั่งคั่ง รุ่งเรือง สีแดงเป็นตัวที่ทำให้เกิดความตื่นเต้น และส่วนหางมักจะประดับประดาด้วยสีเงินและประกายระยิบระยับ ซึ่งทำให้รู้สึกได้ถึงบรรยากาศแห่งความสนุกสนาน เนื่องจากการเชิดมังกรไม่ได้มีการแสดงทุกวัน ดังนั้นผ้าที่ห่อหุ้มตัวมังกรจะถูกทอดออกเพื่อเก็บรักษาไว้ก่อนที่จะมีการแสดงใหม่ในครั้งต่อไป

การเชิดมังกรแสดงโดยความสามารถของทีมที่จะต้องมีการเคลื่อนไหวของร่างกายนิ่งที่สุด การผสมผสานลำตัวแต่ละส่วนของมังกรในเวลาที่เหมาะสมและถูกต้องเป็นจุดสำคัญที่ทำให้การเชิดมังกรประสบความสำเร็จ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแม้แต่จากนักแสดงคนเดียวจะมีผลต่อความล้มเหลวของการแสดงทั้งหมด การเชิดมังกรที่จะประสบความสำเร็จ ส่วนหัวของมังกรจะต้องสามารถประสานลำตัวให้เข้ากับจังหวะของกลองให้ได้ดี ในงานพระราชพิธีหรือขบวนพาเหรด ส่วนหัวของมังกรจะหนักประมาณ 14.4 กิโลกรัม ส่วนหางของมังกรก็มีบทบาทสำคัญในการแสดงซึ่งจะต้องเคลื่อนไหวไปตามการเคลื่อนไหวของส่วนหัว ส่วนที่ 5 จะคือส่วนตรงกลางลำตัว ผู้แสดงจะต้องมีความตื่นตัวกับการเคลื่อนไหวแบบเวลาต่อเวลาเลย

นอกจากนี้การเชิดมังกรยังมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “เชิดมังกรไฟ” รูปแบบการแสดงเชิดมังกร จะถูกออกแบบตามทักษะและประสบการณ์ของผู้แสดง บางรูปแบบจะเรียกว่า “Cloud Cave”, อ่างน้ำวน “Whirlpool”, รูปแบบไท้เก๊ก T’ai chi , เกลียวเงิน”threading the money”, ตามหาไข่มุก “looking for pearl”, และมังกรล้อมรอบเสา “dragon encircling the pillar” การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า มังกรไล่ลูกแก้ว “dragon chasing the pearl” เป็นการแสดงถึงว่ามังกรยังคงแสวงหาภูมิปัญญาความรู้อย่างต่อเนื่อง

ร่วมแสดงความคิดเห็น