“ไม่ใช่แค่ชื่อคล้าย” ความเกี่ยวดองของอาณาจักรล้านนา – ล้านช้าง

เชื่อว่ายังมีใครหลาย ๆ คน ยังไม่รู้ถึงความสัมพันธ์ของ 2 อาณาจักรที่มีความเกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่โบราณ ระหว่าง “อาณาจักรล้านนา” และ “อาณาจักรล้านช้าง”

ซึ่งในวันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะมานำเสนอความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ของล้านนาและล้านช้างในอดีตให้ทุกท่านได้อ่านกัน

วัดโลกโมฬี ศิลปะล้านนา เชียงใหม่

ความเกี่ยวข้องของล้านนาและล้านช้างในอดีต

อาณาจักรล้านนาและล้านช้างนั้น มีความใกล้ชิดกันมาโดยตลอด อีกทั้งยังมีชื่อเรียกที่คล้ายกัน ซ้ำยังมีกษัตริย์ล้านน้าที่เคยปกครองล้านช้างด้วย นั่นคือ “สมเด็จพระไชษฐาธิราช” ในรัชสมัยของพระองค์เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่ากรุงสีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบางแห่งนี้ชัยภูมิไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นเมืองหลวงอีกต่อไปเพราะอยู่ใกล้กับศัตรู เมื่อพวกพม่าตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้วต่อไปก็อาจยกทัพมารุกรานลาวล้านช้างในภายภาคหน้า

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

วัดเชียงทอง หลวงพระบางที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะล้านนา

พระองค์จึงทรงย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาสร้างเมืองเวียงจันทน์ และสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่โดยพระราชทานนามว่า “กรุงศรีสัตตนาคะนะหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์” นับได้ว่าเป็นรัชสมัยแห่งความรุ่งเรืองในด้านศิลปะและวรรณกรรมต่าง ๆ ในด้านพระพุทธศาสนา เพราะพระได้ทรงประกาศห้ามให้มีการบูชาผีต่าง ๆ และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยความเลื่อมใสอย่างยิ่ง โดยมีการรับอิทธิพลด้านพุทธศาสนามาจากอาณาจักรล้านนาซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับล้านช้างในเวลานั้นอย่างยิ่ง

การที่ล้านช้างมีความสัมพันธ์กับล้านนาอย่างใกล้ชิดก็ด้วยเหตุผลด้านการเมืองเป็นหลัก เนื่องด้วยในขณะนั้นอาณาจักรล้านนาได้อ่อนแลลงจากการทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ภัยธรรมชาติ และความล้มเหลวในการรุกรานเมืองเชียงตุง เปิดช่องให้อาณาจักรข้างเคียงอย่างล้านช้าง หงสาวดี และอยุธยาสร้างอิทธิพลแทรกแซงภายในอาณาจักร โดยล้านช้างได้เข้าเกี่ยวดองกับล้านนาผ่านการเสกสมรสของเจ้านายในเครือญาติของทั้งสองฝ่าย

สรุป

จากการที่ทั้งสองอาณาจักรมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น จึงทำให้ทั้งสองอาณาจักรมีศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีที่เหมือนกัน ทั้งการพูดที่มีคำว่า “เจ้า” การเขียน (ซึ่งอักษรธรรมลาวได้รับอิทธิพลมาจากอักษรธรรมล้านนา) พิธีบายศรีสู่ชวัญ, การฟ้อนรำ, การนุ่งซิ่นพาดสไบ, การแกะสลักพระพุทธรูป, ลักษณะของวัดวาอารามที่ได้รับอิทธิพลมาจากสกุลช่างล้านนา เช่น การเขียนลายคำหรือลงรักปิดทองตรงเสาวิหารและฝาผนัง หลังคาที่ลดหลั่นลงเป็นชั้นซ้อนกันแบบอ่อนช้อย และประดับช่อฟ้าสัตตบริภัณฑ์ตรงกลางของสันหลังคาวิหารที่เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุตามความเชื่อของล้านนานั่นเอง

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ข้อมูลจาก : board.postjung.com, th.wikipedia.org
ภาพจาก : board.postjung.com

ร่วมแสดงความคิดเห็น