เลือกตั้งท้องถิ่น อาจนำร่อง “อบจ.” หรือส่อลากยาวไปเลือกปีหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีหนังสือ ถึงผอ.กกต.ทุกจังหวัดและกทม. ให้เตรียมพร้อมในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น รายละเอียดเอกสารซึ่งลงนามโดยนายณัฎฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการปฎิบัติหน้าที่แทน เลขาธิการ กกต.ระบุให้เตรียมวัสุดอุปกรณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น หีบบัตรเลือกตั้ง (หน่วยละ 2 ใบ) และคูหาเลือกตั้ง(ไม่น้อยกว่า 4 คูหา/หน่วย) รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นที่จำเป็นให้พร้อมใช้งานตั้งแต่ 1 ก.ย. 2562 เป็นต้นไป โดยขอให้รายงานผลให้ กกต.ทราบภายใน 15 มิ.ย.62 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปทั้งนี้ อปท.ทั้ง 7,852 แห่ง ประกอบด้วย อบจ.76 แห่ง เทศบาลนคร 30 แห่ง เทศบาลเมือง 178 แห่ง เทศบาลตำบล 2,233 แห่งและ อบต. 5,333 แห่งนั้น ส่วนมากผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระตั้งแต่ 1 ม.ค. 2558 แต่ด้วยประกาศ คสช. ที่ 85/2557 ทำให้ผู้บริหารที่ไม่โดน ม.44 กว่า 258 ราย อยู่ในตำแหน่งลากยาวจากวาระปกติ 4 ปี มาอีกเกือบ 5 ปี และคาดว่า ถ้าไม่มีเลือกตั้งในปีนี้ อาจจะอยู่ยาวครบ 6 ปี เป็นส่วนใหญ่อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ประกอบด้วย พ.ร.บ.สภาตำบลและ อบต. พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2562 พ.ร.บ. อบจ. พ.ศ.2562 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกทม. พศ.2562 และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2562 ได้ประกาศในราชกิจจาทั้งหมดแล้วรอความชัดเจนว่าจะให้มีเลือกตั้งท้องถิ่นวันใดเท่านั้นสำหรับประเด็นการเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้น อดีตผู้บริหารท้องถิ่น และ ปลัด อปท.ที่รักษาการ ในฐานะนายกเทศมนตรีฯในเขต จ.เชียงใหม่ ส่วนหนึ่ง แสดงความเห็นว่า ความเป็นไปได้ที่จะเลือกตั้ง อบจ. น่าจะมีขึ้นพร้อมๆกับเลือกกทม.ในปีนี้ ถ้าการจัดตั้งครม.ไม่มีปัญหายืดเยื้อ หลังผลโหวต เลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 มิย.นี้
อดีตผู้บริหารท้องถิ่น ในเชียงใหม่ ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งคสช 85-86/2557-58 เว้นวรรคการบริหารกล่าวว่า

เมื่อมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว อยากให้พิจารณาคำสั่งจะยกเลิกโดยปริยายหรือต้องรอจนกว่าจะมีครม.ใหม่
นักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าจะมีเลือกตั้ง ท้องถิ่นได้ในปีนี้ เพราะ หลังผลโหวตเลือกนายกฯ แล้ว จัดตั้งรัฐบาลกว่าจะลงตัว แล้วแถลงนโยบาย จากนั้น มาดำเนินการเรื่องงบประจำปี และ งบที่ใช้เลือกตั้งสส.กว่า 5 พันล้านบาท กับ เลือก สว. พันกว่าล้าน ถ้าจะจัดการเลือกท้องถิ่น หากจะนำร่อง อบจ.และกทม. จากนั้น มาไล่เรียง ระดับเทศบาลและอบต.คงใช้งบกันมโหฬาร ประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับครม.ชุดใหม่ว่าจะตัดสินใจเลือกดำเนินการอย่างไร แต่ปี 63 น่าจะเป็นปีแห่งการเลือกตั้งแน่นอน

ร่วมแสดงความคิดเห็น