แกงหน่อไม้ ทำไม ? ต้อง “ใบย่านาง”

สมุนไพรอายุวัฒนะ มี 68 สรรพคุณของใบย่านาง
เมื่อฝนมาอาหารตามฤดูกาล “หน่อไม้” ก็ผุดขึ้นมาให้เราได้รับประทานกัน หน่อไม้ถือว่าเป็นผัก ที่ทางภาคเหนือเรียกว่า “ธิดาดอย” รสชาติอร่อย ยิ่งหน่อไม้สดๆ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ บางคนก็ขุดมาทำหน่อปี๊บเก็บไว้ใช้กินตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้ชนิดไหน เมนูเด็ดที่นิยมนำมาทำก็คือ “แกงหน่อไม้ใบย่านาง” ส่วนทางภาคอีสานจะเรียกว่า “แกงเปรอะ”
สิ่งสำคัญที่สุดของการแกงหน่อไม้สด คือ ขึ้นตอนของการต้มให้หน่อไม้สุกนั้น ต้องใส่ใบย่านาง เพราะ ในหน่อไม้มีกรดยูริกสูง ซึ่งคนสมัยก่อนเชื่อกันว่าหน่อไม้กินแล้วจะทำให้ท้องอืด และปวดตามข้อ เชื่อว่าในหน่อไม้มีสารพิวรีน ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเกาต์ และแพทย์จะห้ามกินอาหารที่มีพิวรีน ซึ่งสารตัวนี้มีส่วนทำให้กรดยูริกสูงขึ้นนั่นเอง ดังนั้น จึงต้องแก้ด้วยน้ำใบย่านางซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ทำให้หน่อไม้กับใบย่านางกลายเป็นของคู่กัน แถมรสชาติยังเข้ากันได้ดีเชียว ซึ่งหน่อไม้นั้น ก็มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งโปรตีน วิตามิน และที่สำคัญมีกรดอะมิโนที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ด้วย
ส่วนใบย่านาง เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากถึง 68 สรรพคุณ เพราะเป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน เป็นต้น ซึ่งทางภาคกลางจะเรียกย่านางว่า “เถาย่านาง” เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้เป็นเถาไม้เลื้อยเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น
“แกงหน่อไม้ใบย่านาง” ของชาวบ้านในท้องถิ่นทางภาคเหนือ สูตรของชาวบ้านพื้นที่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ นั้น เครื่องปรุงเหมือนกับแกงพื้นเมืองทั่วไป เริ่มจากหน่อไม้ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้อะไรก็ได้แล้วแต่ความชอบ แต่เวลาต้มจะเด็ดใยย่าใส่ต้มไปด้วย เตรียมผักใส่เพิ่ม ยอดชะอม ฟักทอง ใบแมงลัก ข้าวโพด และเห็ดต่างๆ นิยมเห็ดหูหนูและเห็ดนางฟ้าแล้วแต่ชอบ ส่วนเครื่องแกง ใช้พริกสด ใส่ได้ทั้งพริกขี้หนูและพริกหนุ่ม หอมแดง กระเทียม น้ำปลาร้า กะปิ เกลือ กระชาย ตะไคร้ โคลกให้เข้ากัน แล้วปรุงรสตามชอบ ส่วนทางภาคอีสานเรียกว่าแกงเปรอะ จะเพิ่มข้าวเบือเข้าไปด้วย และจะใช้น้ำคั้นใบย่านางใส่เพิ่มทำให้เข้มข้นมากขึ้น
ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการที่ได้จากเมนู “แกงหน่อไม้ใบย่านาง” ต่อร่างกายเราจากเมนูนี้ มีมากถึง 10 อย่าง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1. เริ่มจากหน่อไม้ หน่อไม้มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งโปรตีน วิตามิน และที่สำคัญมีกรดอะมิโนที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ ต้องนำเข้าจากอาหารประเภทต่าง ๆ นอกจากนั้นหน่อไม้ยังมีกากใยอาหารที่ช่วยให้ร่างกายนำกากและสารพิษออกสู่ภายนอกได้เร็ว โดยการดูดน้ำและเพิ่มปริมาตรให้ตัวกากให้มากขึ้น จนร่างกายต้องส่งออกฉับพลัน
2. ใบย่านาง มีรสจืด นำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับได้เป็นอย่างดี ซึ่งสรรพคุณของใบย่านางแล้วมีมากถึง 68 สรรพคุณเลยทีเดียว
3. เห็ดต่างๆ ให้พลังงานและสารอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ช่วยกระจายโลหิต
4. ยอดชะอม มีรสจืด กลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย
5. ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงสายตา บำรุงร่างกาย
6. ข้าวโพด รสหวานมัน เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
7. แมงลักสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วงขับลม
8. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหารและขับเหงื่อ
9. กระชาย รสร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ใช้แต่งกลิ่น สี รสอาหาร มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีพิษ
10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยย่อย
ส่วนสรรพคุณใบย่านางนั้น มีมากมายถึง 68 สรรพคุณ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1. ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
4. ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
5. ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
6. ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
7. เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
8. ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
9. ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
10. เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
11. ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
12. ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
13. ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
14. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
15. ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
16. ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องเฉียบพลัน
17. ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
18. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
19. ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
20. ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
21. ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
22. ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
23. ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
24. ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
25. ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
26. ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
27. ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
28. ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
29. ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
30. ช่วยรักษาอาการตกขาว
31. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
32. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
33. ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
34. น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว สามารถนำมาทา สิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย
35.ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
36 ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
37. สำหรับประโยชน์ของใบย่านางด้านอื่น ๆ เช่น การนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น
38. แชมพูสระผมจากใบย่านาง ช่วยให้ผมดกดำ ชะลอการเกิดผมหงอก
39. หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
40. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
41. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
42. ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต
43. ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
44. ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกายที่แม้นอนพักก็ไม่หาย
45. ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
46. ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อต หรือมีเข็มแทง หรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
47. ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
48. ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำ ๆ สีน้ำตาลตามร่างกาย
49. ช่วยรักษาเนื้องอก
50. ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
51. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูก และเสมหะ
52. รากแห้งใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิดและลดความร้อนในร่างกาย
53. รากของย่านางสามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด ทั้งไข้พิษ ไข้หัด ไข้เหนือ ไข้ผิดสำแดง เป็นต้น
54. เถาย่านางมีส่วนช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
55. มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
56. ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
57. ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
58. มีส่วนช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่าง ๆ
59. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
60. รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา
61. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
62. ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
63. ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
64. ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตา ตาลาย เป็นต้น
65. ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
66. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว หรืออาการเสมหะพันคอ
67. ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
68. ช่วยลดอาการนอนกรน
ซึ่งวิธีกินใบย่านางให้ได้ประโยชน์นั้น นิยมทำเป็นน้ำใบย่านางสด ไว้ดื่มรับประทาน แต่สำหรับเมนูแกงหน่อใส่ใบย่านาง ก็เป็นอีกวิธีของการกิน ที่จะได้รับประโยชน์จากสมุนไพรชั้นเลิศของใบย่านางด้วยเช่นกัน
ข้อมูล สรรพคุณใบย่างนาง : จาก Medthai

ร่วมแสดงความคิดเห็น