ธ.ก.ส.เตรียมมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ตามนโยบายของรัฐบาล

วันที่ 13 มิถุนายน 2562 นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุม ”โครงการสนับสนุนการบริหารจัดการลำไย ปีการผลิต 2562” โดยมีนายดำรงชัย เดชาธิคม ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน กล่าวรายงาน ที่โรงแรมเมอร์เคียว
นายดำรงชัย เดชาธิคม ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน กล่าวว่าในปี 2562 ธนาคารมีมาตรการแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ในการ แก้ไขปัญหาความยากจนยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ให้มีฐานะที่มั่นคง ยั่งยืน ประกอบด้วย
1. มาตรการการสนับสนุนสินเชื่อ ให้ลูกค้าเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย 1,500 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าเกษตรกร 3,500 ล้านบาท และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SMEเกษตร 2,000 ล้านบาท
2. มาตรการด้านการประกันภัยพืชผล
2.1 โครงการประกันภัยข้าวนาปี พื้นที่เอาประกันภัยทั่วประเทศ 30 ล้านไร่ แยกเป็น ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 28 ล้านไร่ เกษตรกรทั่วไปไม่เกิน 2 ล้านไร่ อัตราค่าเบี้ยประกันภัย 85 บาท/ไร่ (ไม่รวมอากรและภาษี) รัฐบาลอุดหนุนเบี้ยประกัน 51 บาท/ไร่ ธ.ก.ส.อุดหนุน 34 บาท/ไร่ สำหรับลูกค้าเงินกู้ ที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 คุ้มครองภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่
1.ภัยน้าท่วม/ฝนตกหนัก
2.ภัยแล้ง/ฝน แล้ง
3.ลมพายุ/พายุใต้ฝุ่น
4.ภัยอากาศหนาว/น้าค้างแข็ง
5.ลูกเห็บ
6.ไฟไหม้
7.ช้างป่า วงเงินคุ้มครอง 1,260 บาท/ไร่ ภัยจากศัตรูพืช/โรคระบาด วงเงินคุ้มครอง 630 บาท/ไร่
กำหนดระยะเวลารอคอย 7 วัน เกษตรกรสามารถติดต่อขอจัดทำประกันภัยได้ตั้งแต่วันที่ ครม.มีมติให้ความเห็นชอบ จนถึง 30 มิ.ย. 2562 นอกจากนี้ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส.และเกษตรกรทั่วไป สามารถจัดทำประกันเพิ่มเติม ตามความสมัครใจ พื้นที่รวมไม่เกิน 5 ล้านไร่ ค่าเบี้ยประกันแบ่งตามพื้นที่เป็น 3 ระดับความเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง ต่ำ 5 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงกลาง 15 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงสูง 25 บาท/ไร่ วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติ 7 ภัย 240 บาท/ไร่ ภัยจากศัตรูพืช/โรคระบาด 120 บาท/ไร่
2.2 โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการผลิต 2562 พื้นที่เอาประกันภัยทั่วประเทศ 3 ล้านไร่ แยกเป็นลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 2.8 ล้านไร่ เกษตรกรทั่วไปไม่กิน 0.2 ล้านไร่ อัตราค่าเบี้ย ประกันภัย 59 บาท/ไร่ (ไม่รวมอากรและภาษี) รัฐบาลอุดหนุน 35.40 บาท/ไร่ สำหรับลูกค้า ธ.ก.ส.ที่กู้เงิน ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 ธ.ก.ส.อุดหนุน 23.60 บาท/ไร่ คุ้มครองภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม/ฝนตกหนัก
2.ภัยแล้ง/ฝนแล้ง
3.ลมพายุ/พายุใต้ฝุ่น
4.ภัยอากาศหนาว/น้ำค้างแข็ง
5.ลูกเห็บ
6.ไฟไหม้
7.ช้างป่า วงเงินคุ้มครอง 1,500 บาท/ไร่ ภัยจากศัตรูพืช /โรคระบาด วงเงินคุ้มครอง 750 บาท/ไร่ กำหนดระยะเวลารอคอย 7 วัน ระยะเวลาการซื้อประกัน รอบ 1 (ข้าวโพดฯ ฤดูฝน) ตั้งแต่วันที่ ครม.มีมติให้ ความเห็นชอบ ถึง 31 พ.ค.2562 รอบ 2 (ข้าวโพดฯ ฤดูแล้ง) ตั้งแต่ 1 ต.ค.2562 จนถึง 15 ม.ค.2563
นอกจากนี้ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส.และเกษตรกรทั่วไป สามารถจัดทำประกันเพิ่มเติมตาม ความสมัครใจ พื้นที่รวมไม่เกิน 3 แสนไร่ ค่าเบี้ยประกันแบ่งตามพื้นที่เป็น 3 ระดับความเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงต่ำ 3 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงกลาง 10 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงสูง 23 บาท/ไร่ วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติ 7 ภัย 240 บาท/ไร่ ภัยจากศัตรูพืช/โรคระบาด 120 บาท/ไร่
2.3 โครงการประกันภัยพืชผลลำไยจากภัยแล้ง โดยใช้ค่าดัชนีฝนแล้ง (ตรวจวัดด้วย ดาวเทียม)สำหรับรายย่อย(ไมโครอินชัวรันส์)ปีการผลิต2562 คุณสมบัติเป็นเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ที่กู้เงินปลูกลำไย ในพื้นที่เอาประกัน 24 อำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่ อัตราค่าเบี้ยประกันภัยอัตรา ร้อยละ 2.99 ของเงินกู้ วัตถุประสงค์เพื่อปลูกลำไย โดยเริ่มต้นวงเงินกู้สำหรับการประกันภัยที่ 10,000 บาท แต่ไม่เกินวงเงินกู้

2.วัตถุประสงค์เพื่อปลูกลำไย ระยะเวลาคุ้มครอง 1 มี.ค. 2562 – 30 เม.ย. 2562 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1,050 ราย วงเงินเอาประกันภัย 18,050,000 บาท โดย ธ.ก.ส.และบริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ดูแลเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ประสบภัยแล้ง โดยจ่ายเงินชดเชยเพื่อบรรเทา ปัญหาจากภัยแล้ง ในปี 2562 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2562 จานวน 584 ราย วงเงินชดเชย 914,700 บาท และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2562 จำนวน 873 ราย วงเงินชดเชย 2,407,800 บาท

3. มาตรการส่งเสริมการออม
ธ.ก.ส.ระดมเงินทุนด้วยการส่งเสริมเงินออม บัญชีออมทรัพย์ทวีโชค หรือเงินออม สมุดเล่มสีแดง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ ธ.ก.ส. จัดทาขึ้น เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรลูกค้าและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมออมเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการดาเนินชีวิต โดยสามารถออมสะสมได้โดยฝากจนครบ 2,000 บาท และคงเหลือในบัญชีติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป ได้รับสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลในระดับจังหวัดปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือน กรกฎาคม และเดือนมกราคม และจะมีการจับรางวัลรวมในระดับประเทศอีกปีละครั้ง และยังมีการสนับสนุน โครงการส่งเสริมวินัยการออม เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีเงินออม ร่วมกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) โดยรับสมัครสมาชิกใหม่และรับชำระเงินออมงวดถัดไปผ่านสาขาทั่วประเทศ และยังมีผลิตภัณฑ์ของ ธ.ก.ส. คือกองทุนทวีสุข ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ช่วยส่งเสริมการออมให้กับเกษตรกร และช่วยสร้าง หลักประกันให้กับชีวิตในยามชรา
นายดำรงชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ยังมีมาตรการสนับสนุนสินเชื่อ เพิ่มสภาพคล่องผู้ประกอบการลำไย ปีการผลิต 2562 ในพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ และแม่ฮ่องสอน มีลูกค้าจำนวน 755,709 ราย สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรไปแล้ว จำนวน 12,473 ล้านบาท และในปีบัญชี 2562 ธ.ก.ส. ได้เตรียมวงเงินการจ่ายเงินเชื่อจำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท คาดว่าจะรองรับปริมาณลำไยสด ได้ปริมาณไม่น้อยกว่า 200,000 ตัน
โดยมีโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนสภาพคล่อง สำหรับผู้ประกอบการลำไย ปี 2562 ดังนี้ 1. สินเชื่อ SME เกษตร เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเกษตรที่ดีให้มีความเข้มแข็งและเป็นตลาด รองรับผลผลิตทางการเกษตร อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี 2. สินเชื่อสนับสนุนด้านการเงินตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม (Value Chain Financing) สำหรับ รวบรวมลำไยเพื่อแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือกและอบแห้งเนื้อสีทอง รวมทั้งรวบรวมจาหน่ายผลผลิต อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นตามอัตรา MLR และ MRR ของธนาคาร 3. สินเชื่อ Trade Finance เป็นสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการนำเข้าและส่งออกตามความจำเป็น ของธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยตามอัตรา MLR และ MRR ของธนาคาร

ร่วมแสดงความคิดเห็น