อหิวาต์ระบาด!!ที่ลาวแล้ว นักเปิบลาบหมู-หลู้พึ่ง ระวังอันตราย ขณะนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ ออกประกาศห้ามนำเข้าสุกร หมูป่า

ในช่วงนี้ สถานการณ์โรคการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร ในแขวงสาละวัน สปป.ลาว ได้ระบาดอย่างหนัก มีสุกรจำนวนมากป่วยและเสียชีวิตลง ดังนั้นคนไทยทางภาคเหนือและอีสาน ชอบบริโภคเนื้อสุกร หรือ เนื้อหมูแบบสุกๆดิบ โดยเฉพาะ “ลาบ หลู้” ที่ปรุงสดๆจากเนื้อหมูเลือดหมู นอกจากจะเสี่ยงจากโรคหูดับแล้ว ยังจะต้องเสี่ยงจากการติดเชื้ออื่นๆเช่น โรคอหิวาต์ ที่กำลังระบาดอยู่ใน สปป.ลาว ในขณะนี้ได้ ฉะนั้นก็ควรระมัดระวังรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกแล้ว
มีรายงานข่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.62 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าได้ออกประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องชะลอการนำเข้า หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสุกร หมูป่า หรือซากสุกร ซากหมูป่า จาก สปป.ลาว พ.ศ.2562 ด้วยองค์การสุขภาพสัตว์โลก(โอไออี.) ได้รายงานสถานการณ์โรคการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร ในหมู่บ้าน ณ แขวงสาละวัน สปป.ลาว ซึ่งโรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าว สามารถแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางได้ โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย หรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค หรือซากของสัตว์ซึ่งป่วยหรือตาย โดยโรคระบาดดังกล่าวไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าว มีโอกาสแพร่กระจายเข้ามาในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงดูสุกร และหมูป่าในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 ประกอบมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ที่มีแหล่งกำเนิดจาก สปป.ลาว ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับใช้เป็นเวลา 90 วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกบา ประกาศ ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2562
นายสัตวแพท์สรวิศ กล่าวว่าประกาศโรค ASF ครั้งแรกใน สปป.ลาว โดยข้อสั่งการ เนื่องจากความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ขอให้ทุกจังหวัดในเขต 3, 4 ,5 เฝ้าระวังอย่างสูงสุดเข้มข้นที่สุด โดยนำเอาคำแนะนำที่แจ้งในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด และมีการรายงานตามระบบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และขอให้นำเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และกรมการจังหวัดในวันประชุมประจำเดือนด้วย
ทางโอไออี ประกาศการเกิดโรค ASF ระบาดในประเทศลาว ซึ่งเป็นการระบาดในประเทศครั้งแรก โดยพบการระบาด 7 เคส ที่ จ.สาละวัน เป็นฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดฟาร์มเลี้ยงสุกรน้อยสุด จำนวน 80 กว่าตัว และขนาดฟาร์มที่มีการเลี้ยงใหญ๋สุดตอนนี้ ประมาณ 400 ตัว ในขณะที่ประกาศนี้ พบการป่วยและการตาย จำนวนอย่างละเท่าๆ กันทุกฟาร์ม คือ จำนวนหมูในฟาร์มที่พบ จะเป็นจำนวนหมูป่วยครึ่งหนึ่ง และตายครึ่งหนึ่ง จุดเกิดเหตุที่เกิดการระบาดในครั้งนี้ นับระยะทางห่างจากชายแดน จ.อุบลราชธานี เพียง 170 กิโลเมตร ทำให้เกิดความน่าเป็นห่วงกับพื้นที่การเลี้ยงสุกรในภาคอีสาน วันนี้ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือร่วมใจกัน ผนึกกำลังเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดอย่างเข้มงวด
ขอบคุณ:เจ้าของภาพ

ร่วมแสดงความคิดเห็น