โรคความดัน-เบาหวาน รอรับยานานไม่ใช่ปัญหา ที่น่าห่วงคือ”ภัยเงียบ”ของทุกคน

เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ ระบุว่า เป็นปกติของสังคมบ้านเรา สำหรับการใช้เวลา ในการตรวจรักษา รับยา เนื่องจากจำนวนผู้ป่วย มีอัตราเพิ่มต่อเนื่อง แม้จะมีการขยายสถานพยาบาล พัฒนาระบบการสาธารณสุขของภาครัฐ ฯและภาคเอกชนรองรับ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คน เพราะยุคสมัยนี้ มีโรคอุบัติใหม่ สารพัดโรคเดิมๆ ที่พร้อมเข้ามาเยือน หากไม่ระมัดระวัง ดูแลสุขภาพ
ร่างกาย โดยเฉพาะโรค”ความดันและเบาหวาน” ที่ดูเหมือนจะกลายเป็นโรคประจำตัว ผู้ไม่ดูแล รักษา สุขภาพตนเองหรือเป็นไป ตามวัย โรคความดัน มีทั้ง ความดันสูง และความดันต่ำ ในกลุ่ม”โรคความดันโลหิตสูง”นั้น เป็นปัญหาสุขภาพติดอันดับโลก เนื่องจากทั่วโลกมีผู็ป่วยเกือบ 1 พันล้านคน คาดว่าภายใน 10 ปีจะเพิ่มเท่าตัวสถานการณ์ในไทย ล่าสุด ระบุว่า ในวัย 15 ปีขึ้นไป ความชุกของโรคเพิ่มจากปี 52 ที่ 10 ล้านคน เป็น 13 ล้านคน ในปีถัดมา และปี 57 ประเมินค่าใช้จ่าย ในการรักษาโรคนี้ ปีละกว่า 8 หมื่นล้านบาทกับผู้ป่วยราวๆ 14 ล้านคน ถือเป็น”ฆาตกรเงียบ-มัจจุราช” ภัยเงียบของทุกคน มักไม่แสดงอาการออกมา จนทำให้ผู้ป่วยหลายราย เสียชีวิต สาเหตุจากปล่อยปละละเลย ไม่รักษา อาการป่วยที่แฝงมานาน เพราะไม่คาดคิดว่าตนเองจะป่วย
อาการของโรค มักจะมีอาการปวดศรีษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ ถ้าไม่รักษา นานไปจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ,หัวใจ และอาจเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ต้นตอของโรค ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม มีพ่อ แม่ สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ และ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่มีโซเดี่ยมสูง อาทิ บะหมี่ ,ปลาร้า เป็นต้น รวมถึง การสูบบุหรี่ ดื่มของมึนเมา และไม่ออกกำลังกาย จำนวนผู้ป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากโรคความดันสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะทำให้รู้ว่า เป็น ความดันสูง หรือต่ำ
โดบ ภาวะความดันต่ำ มักทำให้มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ สับสน ใจสั่น เสียการทรงตัว ร่างกายอ่อนแอ ชีพจรเต้นเร็ว ควรหมั่นสังเกตุอาการตนเอง โรคความดัน กับเบาหวาน มักจะมาพร้อมๆกัน เป็นกลุ่มโรคซ่อนเร้น คนไทยป่วยด้วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันตรายนี้ เพิ่มขึ้นนาทีละ 1 คน
องค์การอนามัยโลกระบุว่าอีก 20 ปีข้างหน้าผู้ป่วยจะพุ่งขึ้นเป็น 438 ล้านคน ในไทย จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยทั่วไป โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่หนึ่ง และประเภทที่สอง ซึ่งประเภทที่หนึ่งพบน้อยประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยในไทย เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย จำเป็นต้องพึ่งการฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน และระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนหมดสติ และเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้
ส่วนประเภทที่สองพบถึง 95 %ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนผู้ป่วยไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ และร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิ จะไม่เกิดภาวะอันตรายเฉียบพลันเหมือนแบบที่1 แต่ถ้าไม่ควบคุมให้ดีก็น่าห่วงพอๆกัน
อาการที่ต้องสังเกต เช่น ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน กระหายน้ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หิวบ่อย ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด มีประวัติครอบครัวโรคเบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่
การดูแลป้องกัน ต้องหมั่นตรวจสุขภาพ รับประทานยา ฉีดยาปฏิบัติตามข้อแนะนำแพทย์ ควบคุมเรื่องการรับประทานอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หันมาออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก
อสม. ร่วมเครือข่ายโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ (รพ.สต. ) ประจำชุมชนแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ กล่าวว่า แค่ใช้เวลาเดินทาง ไปตรวจรักษา รอรับยานาน เป็นเรื่องทุกคน ต้องเรียนรู้ ปรับตัว ส่วนกรณีข้อเสนอ ในการไปรับยาจากรพ.สต. หรือตามคลีนิกเอกชน ต้องสำรองจ่ายก่อน อาจมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย ความแออัด การรอนานๆ ในอนาคต เพราะรอยาความดัน เบาหวาน อย่างน้อยก็ต้องครึ่งวัน หรือเป็นวันด้วยซ้ำไป ถ้าวันนั้น มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ในโรงพยาบาลตามสิทธิ์

ร่วมแสดงความคิดเห็น