เตือนภัย! 12 โรคติดต่อแค่กินแก้วเดียวกันก็ติดกันได้

ช่วงนี้กำลังเข้าสู่เทศกาล “รับน้อง” จะพบว่ากิจกรรมรับน้องในหลายมหาวิทยาลัยสร้างความสามัคคีในหมู่คณะด้วยการให้เด็กดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน หรือกินอาหารจากช้อนเดียวกัน ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ก็จำยอมทำตามรุ่นพี่ แต่การดื่นน้ำหรือกินอาหารจากภาชนะเดียวกันอาจเสี่ยงติดโรค 12 โรค

1.ไข้หวัด
อาการ ไข้ต่ำ ๆ หรืออาจไม่มีไข้เลยก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีอาการแสดงออกถึงการเป็นหวัดจากทางจมูกและทางเดินหายใจ อันได้แก่ ผู้ป่วยจะมีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมาจากจมูก
ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลาย ผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน
ป้องกัน พักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

2.โรคอตีบ
อาการ มีอาการคล้ายหวัด ไข้ต่ำ ๆ พบแผ่นเยื่อสีขาวบริเวณทอนซิลและลิ้นไก่ รายที่รุนแรง เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทำให้เสียชีวิตได้
ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลายผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน
ป้องกัน ให้วัคซีนป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน 4 ปี และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนชั้นประถมปีที่ 6

3.โรคเริม
อาการ ชนิดที่ 1 มักเกิดบริเวณริมฝีปาก
ติดต่อโดย การดื่มน้ำหรือกินอาหารร่วมกัน
ป้องกัน ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาต้านไวรัสรักษาโรคเริมชนิดรับประทานทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ไม่ล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำลาย เพราะอาจมีการแพร่เชื้อเริมที่ปากไปที่ดวงตาได้

4.โรคไอกรน
อาการ 1-2 สัปดาห์แรกมีอาการคล้ายวัด ต่อมาไอถี่ ๆ หายใจลึกมีเสียงดัง ไปจนมีเลือดออกที่ตาขาวได้
ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลายผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน
ป้องกัน ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งแพทย์จะฉีดวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี เริ่มฉีด 3 เข็มแรกเมื่อเด็กที่มีอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และเข็มที่ 4 เมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือน จากนั้นควรฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster Dose) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังฉีดครบชุด 4 ครั้งแรกแล้ว ตอนอายุ 4-6 ปี และเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปี
ผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว แนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี เนื่องจากวัคซีนที่ได้รับในวัยเด็กจะหมดลงในช่วงวัยรุ่น และในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนในช่วงสัปดาห์ที่ 27 และ 36 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจช่วยปกป้องทารกจากโรคไอกรนในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังการคลอดอีกด้วย

5.โรคคางทูม
อาการ ร้อยละ 30 ของผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ มีอาการไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมา 2-3 วันจะมีอาการปวดหู บริเวณขากรรไกร จากนั้นบริเวณขากรรไกรบวมและลามไปยังหลังใบหู ประมาณ 1 สัปดาห์จะค่อย ๆ ลดขนาดลง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรง
ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลายผ่านทางการหายใจ หรือกินอาหารน้ำร่วมกัน
ป้องกัน รับวัคซีนป้องกันคางทูม ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน 1 ครั้งในเด็กชั้นป.1

6.โรคหัด
อาการ โรคหัดจะเริ่มด้วยอาการคล้ายกับหวัด อาการแรกเริ่มของโรคหัดที่จะเริ่มขึ้นประมาณ 10 วันหลังติดเชื้อ จะมีอาการคล้ายหวัด ตาแดง ไข้สูง เบื่ออาหาร เกิดจุดขาวในกระพุ้งแก้ม
ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลายผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน โดยเชื้อแพร่กระจายผ่านละอองขนาดเล็กในอากาศ
ป้องกัน กลุ่มเด็กแรกเกิด – 4 ปี ให้นำบุตรหลานไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 2 ปีครึ่ง

7.โรคหัดเยอรมัน
อาการ ไข้สูง น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง มีผื่นหรือตุ่มที่เยื่อบุช่องปาก กระพุ้งแก้ม (Koplik spots) หลังมีอาการ 3 – 7 วันจะมีผื่นทีไรผม ซอกคอ หน้า ลำตัว
ติดต่อโดย รับเชื้อที่อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยผ่านทางการหายใจ จากการไอจาม ทารกที่เป็นโรกจะมีเชื้ออยู่ในลำคอและขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะได้นาน 1 ปี
ป้องกัน การฉีดวัคซีน ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป และฉีดเข็มที่สองเมื่ออายุ 4 – 6 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน

8.โรคอีโบลา
อาการ  ระยะแรก ไข้ขึ้นสูง (39-40 °C) อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ   ระยะที่2 ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหารโดยจะเริ่มแสดงอาการ 2-4 วันและจะคงอยู่นาน 7-10 วัน   ระยะที่3 ความดันเลือดต่ำส่งผลให้อวัยวะเสื่อมหน้าที่
ติดต่อโดย การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลังจากผู้ป่วย ได้แก่ เลือด น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ของใช้ของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่ป่วย
ป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย หรือหากมีอาการให้พบแพทย์ทันที

9.โรคไข้หวัดใหญ่
อาการ ไข้ขึ้นทันที (38.5-40°C)ติดต่อกัน 3-4 วัน อาจมีอาการหนาวสั่นสะท้านร่วมด้วย มีน้ำมูกใส เมื่อตามกล้ามเนื้อ ปวดหัว เบื่ออาหาร
ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลาย ผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน
ป้องกัน ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี ล้างมือบ่อย ๆ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสจมูก ตา ปากของตัวเองหากสัมผัสกับผู้ป่วย
10.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS)
อาการ ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้ไม่ได้แสดงอาการทุกราย ควรจะต้องระมัดระวังสังเกตตนเองเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ อาการสำคัญที่คือ ไข้สูงกว่า 38°C และปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดหัวมาก หนาวสั่นหลังจากนั้นประมาณ 3-7 วันก็จะเริ่มมีอาการเจ็บคอ ไอแห้ง ๆ ผู้ปวยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 อาการจะทุเลาอย่างช้า ๆ หลังจาก 7 วัน ไปแล้วและหายเป็นปกติ บางรายอาจอาการป่วยรุนแรง เนื่องจากมีอาการแทรกซ้อนที่ปอด ทำให้เกิดปอดบวมอักเสบ
ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลาย ผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน
ป้องกัน เลี่ยงเดินทางไปประเทศเขตโรคระบาด เลี่ยงไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการของโลก และรักษาสุขภาพดีอยู่เสมอ

11.มือ เท้า ปาก
อาการ มีไข้ตํ่า ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1 – 2 วัน มีอาการเจ็บปาก กลืนนํ้าลายไม่ได้ และไม่ยอมกินอาหารเพราะมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม จะพบตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย ตุ่มจะกลายเป็นตุ่มพองใส บริเวณรอบๆ อักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกเป็นแผลหลุมตื้นๆ อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติ ภายใน 7 – 10 วัน
ติดต่อโดย กินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
ป้องกัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยได้

12.ไวรัสตับอักเสบAและE
ติดต่อโดย กินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
หมายเหตุ: โรคไวรัสตับอักเสบBและไวรัสตับอักเสบC
ติดต่อโดย โดยการสัมผัสกับเลือด สารกัดหลั่งของผู้ป่วย ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพศสัมพันธ์ติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

สำหรับโรควัณโรคไม่ติดต่อผ่านการกิน
แต่ติดต่อโดย ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ ไม่ติดต่อผ่านการกิน
ป้องกัน ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ในเด็กหรือบุคคลที่แสดงผลลบต่อทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันวัณโรค

ทั้งนี้ช่วงแรกของอาการป่วยไม่มีอาการบ่งบองได้ว่าอาการนั้นเป็นอาการของโรคอะไร ดังนั้นเราสามารถป้องกันโรคเหล่านี้ได้ด้วยหลักง่าย ๆ อย่าง กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ของกระทรวงสาธารณสุข

ที่มา
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มวิชาพัฒนาสุขภาพ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ร่วมแสดงความคิดเห็น