รัฐ kerala ในอินเดียทำแล้ว!! ใช้ขยะพลาสติก 9,700 ตัน สร้างถนน 246 กิโลเมตร

อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก หนึ่งปัญหาที่ตามมาคือขยะพลาสติก ที่ก่อเป็นกองภูเขาขยะใหญ่โตอลังการ และไม่มีวันสิ้นสุด รัฐต่าง ๆ ในอินเดีย จึงเริ่มคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆในการจัดการปัญหาขยะเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น เมือง Panchayat ในรัฐ kerala ได้ก่อตั้งโปรเจคในการรีไซเคิลขยะ โดยการนำพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ มา “สร้างถนน”
อดีตนายกเมือง Panchayat ที่กำลังมองหาวิธีกำจัดขยะพลาสติก พร้อมคณะเทศบาลเมืองได้เข้าไปหากรมโยธาธิการ public works department (PWD) เพื่อหารือเรื่องเทคนิคการทำถนนจากขยะพลาสติก พนักงานของหน่วยงานนี้ จะไปตามบ้านต่างๆ ทุกๆอาทิตย์ เพื่อเก็บขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ เช่น กล่องใส่อาหาร โฟม ผ้าอ้อมเด็กใช้แล้วทิ้ง ฝาขวด หรือแม้ท่อ pvc
เอาขยะพลาสติกที่เก็บได้ มาหั่นในเครื่องจักรหั่นพลาสติก ที่สามารถหั่นและบีบอัดพลาสติกได้ 500 kg ต่อวัน ผสมกับยาน้ำมันดินมาสร้างถนน และขายให้กับ PWD เพื่อนำมาทำถนนต่อไป
จากการศึกษาพบว่า การใช้พลาสติกไม่ทำให้คุณภาพของถนนลดลง ในทางตรงกันข้าม พลาสติกที่ละลายจะเชื่อมหินกับกรวดได้ดีกว่า และเพิ่มอายุการใช้งานของถนน ซึ่งการใช้พลาสติกยังช่วยลดผลกระทบของถนนจากน้ำ และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของถนนอีกด้วย
ซึ่งระบบการหั่นพลาสติกนี้ ถูกสร้างทั่วรัฐ ที่ได้ใช้พลาสติกชิ้นเล็กๆ 9700 ตัน ที่นำมาใช้ทำถนนแล้วกว่า 246 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่ได้เห็นความตั้งใจรีไซเคิลขยะ ที่มาจากทางภาครัฐ
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก Thebetterindia / Environman

ร่วมแสดงความคิดเห็น