เร่งปิดจ๊อบ โรงแรม ที่พักเถื่อน จัดระบบเที่ยวชุมชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่มีคำสั่ง หน.คสช.9/2562 ยกเลิกหลายๆคำสั่งที่ผ่านมา แต่ในคำสั่งที่ 6/2562 เกี่ยวข้องกับมาตรการจัดระเบียบโรงแรม ที่พัก กลุ่มที่ยังมีอุปสรรคปัญหาบางด้านยังคงอยู่ เพื่อจัดระเบียบกลุ่มโรงแรม ที่พักให้ถูกต้องตามกฎหมายภาครัฐฯมีความพยายามใช้มาตรการสำรวจ ตรวจสอบผ่านประกาศสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจาเมื่อ 9 มิย. 61 เกี่ยวกับวิธีการสำรวจตัวอย่างที่พักแรม โดยเป็นการเก็บรวบรวม ข้อมูลรอบด้านของโรงแรม ,รีสอร์ท,เกสต์เฮ้าส์ ,เรือนแรม เป็นต้น ใน 8 ข้อคำถาม อาทิ ข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการ,รายรับ, คนงานและค่าตอบแทน ,ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะจากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ทำให้ทราบรายละเอียดกลุ่มโรงแรม ที่พักทุกพื้นที่จนนำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน มีคำสั่งหลายๆด้าน อาทิ ปิดพื้นที่ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และให้เวลาผู้ประกอบการยื่นขอจดแจ้ง ทำตามระเบียบที่ผ่อนผันให้ถูกต้องหาก มีพื้นที่เข้าข่ายบุกรุกป่าสงวน,ลุ่มน้ำ,อุทยานฯ ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปอย่างไรก็ตาม จากการนำเสนอ อุปสรรค ปัญหาจาก ผู้นำชุมชน ในท้องถิ่น 7,565 แห่ง ท้องที่ 7,255 ตำบล กว่า 75,033 หมู่บ้านนั้น แต่ละภาค, จังหวัด จะมีปัญหาคล้ายๆกัน โดยเฉพาะในภาคเหนือพบว่า มีการบุกรุก กระทำความผิด ตามพรบ.ป่าไม้, ป่าสงวนฯ,เขตสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า,เขตอุทยาน และที่ราชพัสดุ ซึ่งมีการจัดแบ่งกลุ่ม ตามที่มหาดไทย แจ้งให้แต่ละจังหวัดถือปฏิบัติผู้นำชุมชน ในพื้นที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ยอมรับว่าการจัดระเบียบ ที่พัก ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดของทางการค่อนข้างยาก เพราะกลุ่มผู้ประกอบการ ส่วนหนึ่งมองในประโยชน์ที่จะได้รับในแหล่งท่องเที่ยวมากเกินไป ถ้าร่วมมือกันตามที่หน่วยงานในพื้นที่แนะนำ ปัญหาก็จะไม่ลุกลามบานปลาย จนต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างที่ลงทุนรุกล้ำเขตป่า ยิ่งถ้าฝ่าฝืนมาตรการโดยอ้อมจากการปิดพื้นที่เพื่อฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติ ก็จะเป็นปัจจัยกดดัน ให้ต้องทำตามข้อตกลงด้านผู้ประกอบการที่พัก ในพื้นที่บ้านแม่สาใหม่ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การนำพื้นที่การเกษตรมาเปลี่ยนสภาพเป็นที่พัก จนนำไปสู่การตรวจสอบเอกสารสิทธิ์,พื้นที่ใช้ประโยชน์, อาคารและสิ่งก่อสร้าง ,การถือครอง ถ้าตรวจกันแบบละเอียด คงได้รื้อถอนกันหมด ประเด็นสำคัญคือ ทำอย่างไร จะให้การท่องเที่ยวชุมชน สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ ที่ถูกต้อง ยั่งยืนไม่ใช่มาตรการแบบไฟลามทุ่ง ตรวจจับ แบบกำหราบเป็นพักๆ พอกระแสลดไป ก็แห่มาลงทุนกันเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

ร่วมแสดงความคิดเห็น