คณะอนุกรรมการดำเนินการประชุมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม  เร่งสร้างความตระหนักตาม “โครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่”

คณะอนุกรรมการดำเนินการประชุมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม  เร่งสร้างความตระหนักตาม “โครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” พร้อมนำร่อง 61 โรงเรียน นักเรียนต้องสามารถอ่านออก เขียนได้และคิดวิเคราะห์เป็น
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 รศ.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นายรตนภูมิ โนสุ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และนายกิตติ์ธเนศ พันธ์ภานุฉัตร์ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ที่ ห้องประชุม สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ สามารถพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการการศึกษารูปแบบใหม่ ภายใต้กลไกการทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยการกำกับทิศทางการดำเนินงานของคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการขับเคลื่อนการจัดตั้ง และบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  ส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยประสานความร่วมมือของหน่วยงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้องและเสนอ และให้เกิดการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดเชียงใหม่  จึงได้จัดทำเช่นการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ตามบริบทของพื้นที่ขึ้น  โดยความร่วมมือของภาคประชารัฐ และเอกชน ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษา จังหวัดเชียงใหม่
รศ.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การจะขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ให้สมบูรณ์นั้น มีการดำเนินงานไปแล้วหลายครั้งโดยครั้งแรกที่ได้ดำเนินการคือขับเคลื่อน โดยการสร้างความเข้าใจมวลสมาชิกที่เป็นโรงเรียนที่พร้อมจะจัดนวัตกรรมการศึกษาโดยได้ประกาศรับสมัครไปแล้ว ซึ่งสร้างความเข้าใจร่วมกันกับการอภิปรายสถานศึกษา อาจาร์ยมหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการเขตพื้นที่ที่เห็นปัญหาร่วมกัน และได้ดำเนินงานตั้งเดือนเมษายน ได้โรงเรียนเข้าร่วมโครงการฯ 61 สถานศึกษาได้สมัครและทราบเงื่อนไขของการดำเนินการแล้ว โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการจากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เพื่อจะทำให้การดำเนินงานรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะมีกิจกรรมแรกในวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 นี้ โดยเชิญโรงเรียนที่เข้าโครงการฯ 61 โรงเรียน และเริ่มติดตามการดำเนินงานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เร่งสร้างนวัตกรรมการศึกษาได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับการให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ อ่าน เขียนได้ และตรวจสอบว่าเป็นไปตามผลพรบ. กำหนดผลหรือไม่ รวมทั้งการสร้างระบบประกันโรงเรียน ที่จะเป็นตัวชี้ว่าบอกคุณภาพทุกส่วนของผู้เรียน
ทั้งนี้ จะมีการทำข้อเสนอแนะว่าจะมีวิธีการได้ที่จะลงไปช่วยในกลุ่มนี้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งเรื่องของปรัชญาในการดำเนินงานแนวคิดของพิ้นที่นวัตกรรมในการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนลงไปช่วยกัน ซึ่งข้อเสนอต่างๆ จะได้รับรู้ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 นี้ หลังจากนั้น จากการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่ดำเนินการปัญหาอุปสรรคที่จะต้องลงไปช่วยเรื่องแนวคิดการศึกษาเชิงพื้นที่แล้วนั้น จะมีการนำเอาปัญหาต่างๆ เหล่านั้น สร้างเครือข่ายความร่วมมือ พร้อมเชิญโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ รวมทั้งนักวิชาการมหาวิทยาลัย ที่เป็นทรัพยากรสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ด้านนายรตนภูมิ โนสุ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1  กล่าวเพิ่มเติมว่า ความหลากหลายของจังหวัดเชียงใหม่มีอยู่หลายด้านสิ่งที่เราต้องการเห็นคือการหล่อหลอมคนในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ไปในทิศทางเดียวกันนั้น ต้องใช้ความเป็นพื้นที่นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการทำ พื้นที่นวัตกรรมนั้น คือหมายถึงเชียงใหม่คิดอย่างไรในการพัฒนาคนเชียงใหม่ให้ก้าวไกล ซึ่งวันนี้เราต้องการปลุกฝังให้เด็ก และเยาวชนของจังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้แนวคิดเรื่องของการทำอย่างไรให้เด็กเป็นนวัตกร ซึ่งนวัตกรมาจากฐานที่เด็กรู้คิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ปัจจุบันเราจะเปลี่ยนวิธีการสอนให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบได้อย่างไร  “โครงการขับเคลื่อนครูพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” จึงเข้ามาปลดล็อคนวัตกรรมตรงนี้ เช่นการจัดการเรียน การสอนที่ยังต้องอาศัยหลักสูตรแกนกลาง นำมาสู่ในเรื่องของการจัดการศึกษา ทำอย่างไรให้ครูมีความสบายใจและกล้าที่จะหลุดออกจากกลุ่มสาระ และบูรณาการในกลุ่มสาระที่เด็กจะต้องเรียนรู้อย่างลงตัวได้อย่างไร อาทิ เด็กอนุบาล เด็กป.1 อาจจะไม่ลงลึกถึงกลุ่มสาระ แต่ในขณะเดียวกันควรมีพื้นฐานอะไรบ้างในตรงนี้ และแนวคิดให้เด็กทำอย่างไรให้มีการคิดเคราะห์ได้ และนำครู มีการก้าวข้ามตามพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
นอกจากนี้  “การเน้นกิจกรรมเรื่องของการเรียนรู้เป็นตัวขับเคลื่อน ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนต้องสอดคล้องตอบโจทย์ ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้งหมด 4 ข้อ การที่จะเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็นโรงเรียนนำร่องนั้น สิ่งแรกโรงเรียนต้องคิดนวัตกรรมใหม่ และพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมที่มีอยู่แล้ว แก้ปัญหาของโรงเรียนที่มีอยู่เช่น เรื่องของการอ่านออก เขียนได้ ซึ่งมันเป็นขั้นพื้นฐานจริงๆ ของนักเรียน เพราะมีหลักการร่วมกันว่าเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่นักเรียนทุกคนต้องได้รับการพัฒนาจากนวัตกรรมพื้นฐานอย่างน้อยสุดต้องอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็นและการคิดวิเคราะห์เป็น ซึ่งจะนำเป็นพื้นฐานเด็กทุกคน เพื่อต่อ
ยอดนวัตกรรมอื่นได้ที่ส่งผลให้เด็กค้นพบศักยภาพของตนเอง เพื่อพัฒนาให้เค้าอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” นายกิตติ์ธเนศ พันธ์ภานุฉัตร์ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวทิ้งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น