ผู้ป่วยโรคตา แห่รักษาจนล้นโรงพยาบาลในเชียงใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการเข้ารับการรักษา ปัญหาด้านดวงตา ในหลายๆโรงพยาบาล(รพ.)ที่มีบริการพบว่าแน่นขนัดไปด้วยผู้ป่วย เช่น รพ.นครพิงค์ เชียงใหม่, ซึ่งในเชียงใหม่นั้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พัฒนาเครือข่ายระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเขตบริการสุขภาพด้านจักษุ มีการ เปิดหน่วยบริการตรวจรักษาโรคต้อกระจกที่รพ.สันป่าตอง ,รพ.จอมทอง เป็นต้น และที่รพ.ดารารัศมี อ.แม่ริม ทางสตช.มีนโยบาย เปิดห้องตรวจจักษุ รองรับผู้ป่วยสูงอายุในกลุ่มข้าราชการตำรวจ ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งนี้ โรคต้อหินเป็นสาเหตุตาบอดอันดับ1ของประชากรทั่วโลก ประมาณการว่า 8,000 ล้านคน จะมีผู้ป่วยโรคต้อหินกว่า 70 ล้านคน และร้อยละ10 ของผู้ป่วยเหล่านี้อาจตาบอดโดยไม่รู้สึกตัวล่วงหน้ามาก่อน การรักษาโรคอย่างเหมาะสมเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยลดผู้พิการตาบอดจากโรคต้อหินได้ และสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การวินิจฉัยผู้ป่วยยังต้องทำโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ปัจจุบันยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบสุขภาพของสธ.เน้นกระจายการจัดบริการเป็น 12 เขตทั่วประเทศ ดูแลประชาชนเขตละประมาณ 5-6 ล้านคน ให้เข้าถึงบริการเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จนถึงโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป เน้นการตรวจคัดกรอง คาดว่าทั่วประเทศมีประมาณ 6 หมื่นคนและผู้ที่สายตาพร่ามัวอีกกว่า 2 แสนรายราย โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ในชุมชนช่วยรพ.สต.ค้นหาผู้ที่มีปัญหาและส่งต่อรพ. พบว่าช่วยลดปัญหาผู้สูงอายุตาบอดจากตาต้อกระจกได้เป็นอย่างดี เช่นที่จ.เชียงใหม่ ลดเวลารอคิวผ่าตัดเหลือเพียง 1 เดือนจากเดิม 4-5 เดือนอย่างไรก็ตามบริการผ่าตัดรักษาโรคตาต้อกระจก ดำเนินการได้เฉพาะโรงพยาบาลที่มีจักษุแพทย์ประจำ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาไม่เพียงพอ ผู้ป่วยที่ใช้บริการ 30 บาทรักษาทุกโรคและ สิทธิ์เบิกตรง มีเป็นจำนวนมาก ในแต่ละรพ.ของรัฐฯในขณะที่ รพ.เอกชน ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง จะมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีฐานะเท่านั้นไปใช้บริการ หรือผู้ทำประกันด้านโรคตา
ภาควิชาต้อกระจก คณะแพทย์ มช. อธิบายว่า ต้อกระจกคือการมัวของตาซึ่งเกิดจากความขุ่นในเนื้อเลนส์ในดวงตา มีหลายสาเหตุให้เกิด เช่น อายุที่มากขึ้น, โรคติดเชื้อในครรภ์มารดา, อุบัติเหตุ, โรคต้อกระจกนั้นเป็นปัญหาทางสายตาที่มีผลต่อประชาคมโลกมานานประเมินว่าทั่วโลก มีคนตาบอดประมาณ 35-40 ล้าน เป็นผลจากต้อกระจก รวมถึงโรคด้านดวงตาอื่นๆด้านคณะทำงานโครงการผ่าตัดต้อกระจกเฉลิมพระเกียรติ ระบุว่า ที่ผ่านๆมา มีความพยายามระดมจักษุแพทย์ พยาบาล เครื่องมือแพทย์ อาทิ กล้องผ่าตัดตา เครื่องสลายต้อกระจก จากโรงพยาบาลต่างๆ เป็นหน่วยเคลื่อนที่ ออกบริการประชาชน ในวาระพิเศษ อาทิ มหามงคลเฉลิมพระเกียรติฯ
โรคต้อกระจก พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ตาบอดได้ ปัจจุบันไทยมีผู้ป่วย 1.2 แสนคน รอผ่าตัด และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 4 หมื่นคน โดยการรักษามีทั้งใช้ยาหยอดและการผ่าตัดสำหรับโรคเกี่ยวกับดวงตานั้นต้องอาศัยจักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบกับจำนวนจักษุแพทย์มีน้อย จึงมีผลให้รพ.ที่ไม่มีความพร้อมด้านนี้ มีการส่งต่อมายังรพ.ที่มีความพร้อมกว่า เช่น การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาให้ผู้ป่วยในภาคเหนือ ที่ทำสำเร็จครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 ที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ในสังกัดของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รศ. นพ. ชะลอ รุจิรวัฒน์ ก็ยังต้องมีคิวรอรับบริการ เป็นเวลานาน ด้วยปัจจัยรอรับการบริจาคดวงตาจากผู้เสียชีวิต

ร่วมแสดงความคิดเห็น