รร.บ้านนันทาราม ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน ฝึกอาชีพเกษตรกรสร้างรายได้ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 น.ส.จินตนา ถิ่นทิพย์ ผอ.รร.บ้านนันทาราม (นันราษฎร์วิทยา) ต.แม่ยม อ.เมือง จ.แพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 (สพป.แพร่ เขต 1) เผยว่า รร.บ้านนันทาราม เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน 40 คน ครูและลูกจ้างรวม 9 คน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตั้งระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในชั่วโมงการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของรร.บ้านนันทาราม ในช่วงนี้ ได้ฝึกนักเรียนเป็นเกษตรกร เพาะต้นอ่อนทานตะวันออกจำหน่าย มีตะกร้าเพาะจำนวน 18 ตะกร้า นักเรียนมีความสุขกับการเพาะต้นทานตะวันอ่อน และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี และนำไปจำหน่ายถุงละ 20 บาท ในหมู่บ้าน และหน่วยงานในพื้นที่
ผอ.รร.บ้านนันทาราม พูดถึงการเพาะ ต้นอ่อนทานตะวันว่า ต้นอ่อนทานตะวัน เป็น Microgreen อีกชนิดที่ได้รับความนิยม รสชาติอร่อย นำมาทำอาหารได้หลากหลาย ทานได้ทั้งแบบสดๆ และนำไปปรุงสุกต้นอ่อนทานตะวัน 1 ถ้วย (85 g.) จะให้พลังงานอยู่ที่ 45 kcal โดยจะเป็นพลังงานจากไขมัน 35 kcal เนื่องจากต้นอ่อนของทานตะวันจะมีไขมันอยู่ ประกอบด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ซึ่งไขมันที่อยู่ในต้นอ่อนทานตะวันนั้น ล้วนแต่เป็นไขมันชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่จะช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ โปรตีน แคลเซียม และธาตุเหล็กสูงอีกด้วย
การเพาะเมล็ดต้นอ่อนทานตะวัน สารอาหารอีกตัวที่จะพบในต้นงอก และต้นอ่อนของพืชคือ GABA (gamma aminobotyric acid) ซึ่งมีสรรพคุณและคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ช่วยบำรุงเซลล์สมอง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ช่วยบำรุงผิว บำรุงสายตา และป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงช่วยชะลอความแก่ชราได้
เตรียมดิน วัสดุ และอุปกรณ์ ตะกร้าพลาสติก ขนาดกว้าง 18 ซม. x ยาว 26 ซม. x สูง 7 ซม. หรือตะกร้าอื่นๆ ขนาดตามต้องการ (ขนาดที่เลือกมาเป็นขนาดที่เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วเพียงพอกับรับประทาน 2-3 มื้อ) สำหรับใครไม่อยากลงทุนเยอะสามารถใช้ขวดน้ำพลาสติกหรือแกลลอนนม ขนาด 2 ลิตร นำมาตัดครึ่ง แล้วเจาะรูที่ก้นก็ได้ เมล็ดทานตะวัน (ชนิดกินต้นอ่อน) ขุยมะพร้าว ปุ่ยมูลไส้เดือน หรือขี้เถ้าแกลบดิน แกลบดิบ กระบอกฉีดน้ำ พลาสติก ปิดบังแสง ผ้า กล่องพลาสติกสำหรับบ่มเมล็ด น้ำสะอาด
วิธีการปลูกต้นอ่อนทานตะวัน
วันที่ 1 แช่น้ำ ล้างทำความสะอาดเมล็ดทานตะวัน และแช่น้ำทิ้งไว้ 8-12 ชม.
วันที่ 2 บ่มเมล็ด นำเมล็ดทานตะวันที่แช่น้ำแล้วกรองน้ำออก นำมาห่อด้วยผ้าชุบน้ำให้ชุ่มแล้วเก็บไว้ในกล่องพลาสติก ปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชม.
วันที่ 3 เริ่มลงตะกร้าเพาะ นำพลาสติกทึบแสงมาตัดให้พอดีกับขนาดของหน้าดิน เพื่อให้ปิดกันแสงไม่ให้โดนต้นอ่อนในช่วงวันที่ 4-5 เตรียมผสมดินปลูก โดยร่อนส่วนผสมทั้งหมดซึ่งได้แก่ ขุยมะพร้าว ดิน ปุ๋ยขี้ไส้เดือน หรือ ขี้เถ้าแกลบ และแกลบดิบในอัตราส่วนเท่าๆ กัน ร่อนด้วยตะกร้าที่มีรูขนาดเล็กเพื่อให้ได้ดินที่ร่วน และนุ่ม คลุกเคล้าให้เข้ากัน ถ้าดินปลูกที่ผสมมีลักษณะแห้งเกินไป ให้ฉีดน้ำลงไป ลองนำมือขยำดู ให้ดินปลูกจับตัวเป็นก้อนไม่แตกออกถือว่าใช่ได้ สำหรับตะกร้าที่มีรูที่ก้นเยอะ ให้รองด้วยกระดาษเอกสารสีขาวพรมน้ำให้เปียก เพื่อไม่ให้ส่วนของดินปลูกร่วงลงมา สำหรับตะกร้าที่มีก้นลึก สามารถรองด้วยเศษไม้ หรือ กาบมะพร้าวสับก่อนก็ได้ จากนั้นนำดินปลูกที่เตรียมไว้ใส่ให้ทั่ว กดหน้าดินให้เสมอกันแบบหลวมๆ ให้ความสูงของดินอยู่ที่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของความสูงตะกร้า

 

เมล็ดทานตะวันที่บ่มไว้ มีรากเล็กๆ แตกออกมานำเมล็ดทานตะวันที่บ่มไว้ จนมีรากเล็กๆ แตกออกมา มาโรยให้ทั่วหน้าดิน พยายามให้เต็มทุกพื้นที่เท่าๆ กัน จากนั้นนำดินปลูกอีกส่วนนึงมากลบเมล็ดทานตะวันบางๆ แล้วฉีดรดน้ำให้ชุ่ม ปิดหน้าดินด้วยพลาสติกที่เตรียมไว้ อาจจะใช้แก้วหรือของที่มีน้ำหนักวางทับไว้ด้านบน เพื่อบังคับให้ต้นอ่อนงอกขึ้นมาเสมอกัน จากนั้นนำไปวางไว้ในที่ชื้น และไม่โดนแสง อาจจะเป็นมุมในห้อง ในห้องน้ำ หรือ เก็บไว้ในกล่องโฟมก็ได้
วันที่ 4 รดน้ำเช้า-เย็น เปิดพลาสติกที่ปิดไว้ออก จะเริ่มเห็นต้นอ่อนค่อยๆ แทงตัวขึ้นจากดิน ใช้กระบอกฉีดน้ำรดน้ำให้ชุ่มแต่ไม่แฉะ ปิดพลาสติกที่หน้าดิน ทับด้วยน้ำหนัก และวางไว้ในที่ที่ไม่โดนแสงอย่างเดิม
วันที่ 5 ต้นอ่อนจะเริ่มตั้งต้นสูงขึ้น รดน้ำเช้า เย็น ลดน้ำต้นอ่อนทานตะวันเช้า-เย็น ในวันนี้ต้นอ่อนเริ่มมีขนาดสูงขึ้น ใบบางส่วนเริ่มหลุดจากเปลือกของเมล็ด ให้รดน้ำตามปกติเช้าและเย็น หากพลาสติกเริ่มปิดยาก ให้นำผ้าชุบน้ำมาคลุมทับพลาสติก และทับด้วยน้ำหนัก เพื่อให้ต้นอ่อนยาว และสูงขึ้นเสมอกัน วางไว้ในที่ไม่โดนแสงอย่างเดิม

วันที่ 6 ปล่อยให้โตอย่างเต็มที่ วันนี้จะเป็นวันที่ต้นอ่อนโตใกล้เก็บเกี่ยวได้ ให้นำผ้าและพลาสติกที่คลุมออก แล้วปล่อยให้โตยืดลำต้นอย่างเต็มที่ ภายในห้องที่ไม่โดนแสงแดด หรือมีแสงรำไร แล้วเก็บเปลือกที่ติดอยู่ที่ต้นอ่อนออกให้หมด รดน้ำตามปกติ เช้า-เย็น
วันที่ 7 ต้นอ่อนท่านตะวันโดนแสงแดดเป็นครั้งแรก พร้อมเก็บเกี่ยวต้นอ่อนที่ปลูกยังไม่ได้รับแสงแดดจึงทำให้ใบมีสีเหลือง ในวันนี้ให้นำต้นอ่อนไปโดนแสงแดด และรดน้ำตามปกติ เมื่อใบของต้นอ่อนเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวทั้งหมด ก็สามารถตัดได้ นำไปล้างทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ 20 นาที แล้วสเด็ดน้ำ ผึ่งให้แห้ง เก็บในถุงพลาสติกที่รองด้วยกระดาษทิชชู และแช่ไว้ในตู้เย็น
นำต้นอ่อนทานตะวันไปโดนแสงแดดต้นอ่อนทานตะวันที่ปลูกเอง และจัดเก็บตามวิธีข้างต้น จะสามารถเก็บไว้ในตัวเย็น และคงความสดได้ 1-2 สัปดาห์เลยทีเดียว ใครชอบเมนูแบบไหนก็สามารถนำไปทำได้ตามต้องการเก็บเกี่ยวต้นอ่อนทานตะวันที่ปลูกไว้ การปลูกด้วยการทับปิดหน้าดิน ทำให้ได้ต้นอ่อนที่มีความสูงใกล้เคียงกัน และโตขึ้นพร้อมๆ กัน ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว และการดูแลไม่ควรโรยเมล็ดที่บ่มแล้วในตะกร้า แน่นจนเกินไป และการรดน้ำก็ให้รดแต่พอชุ่ม ไม่แฉะจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เป็นเชื้อราที่โคนต้นได้เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ดินที่ใช้ปลูกสามารถนำไปเป็นปุ๋ยหมักร่วมกับเศษอาหารภายในบ้านอื่นๆได้ แต่ไม่ควรนำมาปลูกซ้ำ เนื่องจากสารอาหารในดินไม่เพียงพอทำให้ต้นอ่อนรุ่นต่อไปมีขนาดเล็ก และแกร็นได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น