ช็อก!! พบไมโครพลาสติกใน “ปลาทู” เฉลี่ย 78 ชิ้นต่อตัว

เกิดเป็นกระแสฮือฮา!! อย่างมากเมื่อ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล 3 จังหวัดตรัง ได้เปิดเผยข้อมูลผ่านทาง เฟซบุ๊กแฟนเพจในทำนองว่า “พบไมโครพลาสติกในปลาทู เฉลี่ย 78 ชิ้นต่อตัว” ประกอบไปด้วยลักษณะที่เป็นเส้นใย แท่งสีดำ และกลิตเตอร์ โดยระบุเนื้อหาของโพสต์ทั้งหมด ดังนี้
“การศึกษาไมโครพลาสติกในปลาทู บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ในการศึกษาไมโครพลาสติกในปลาทูบริเวณเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง โดยเก็บตัวอย่างจากท่าเรือบริเวณหาดเจ้าไหม เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติกจากการกินอาหารของปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851)
พบว่าปลาทูขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 66.53 ± 1.136 กรัม (ค่าเฉลี่ย ± SE) ความยาวมาตรฐานเฉลี่ย 17.46 ± 0.087 (ค่าเฉลี่ย ± SE) เซนติเมตร มีไมโครพลาสติกในกระเพาะของปลาทูเฉลี่ย 78.04 ± 6.503 ชิ้น/ตัว ประกอบไปด้วยลักษณะที่เป็นเส้นใย (สีดำน้ำเงิน แดง และเขียว) ชิ้น (สีดำ ขาว แดง น้ำตาล-ส้ม ฟ้า-น้ำเงิน และเหลือง) แท่งสีดำ และกลิตเตอร์ ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ ชิ้นสีดำ ด้วยค่าร้อยละ 33.96″
สร้างความฮือฮาไม่น้อย ให้กับผู้คนบนในโลกโซเชียล เนื่องจาก “ปลาทู” เป็นอีกหนึ่งอาหารยอดนิยมของคนไทย ซึ่งจากการโพสต์ครั้งนี้ ของศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล 3 จังหวัดตรัง ทำให้น่าตกใจไม่น้อย เนื่องจากพบไมโครพลาสติกใน “ปลาทู” เฉลี่ย 78 ชิ้นต่อตัว นั่นแปลว่าอันตรายต่อคนกินด้วยแน่นอน
โดยงานวิจัยชิ้นใหม่ระบุว่า 80% ของตัว “แอมฟิพอด” หรือตัวดีดทรายซึ่งหากินอยู่ที่ก้นมหาสมุทรที่ลึกที่สุด 6 แห่ง กินเส้นใยและชิ้นส่วนพลาสติกเป็นอาหาร โดยเป็นเส้นใยจากเสื้อผ้าที่ซักเครื่องซักผ้า และที่สำคัญ คือตัว “แอมฟิพอด” นี้เป็นอาหารสำคัญของปลา และสัตว์น้ำหลายชนิด ที่เป็นอาหารของมนุษย์เอง

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : เฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล 3 จังหวัดตรัง , ReReef

#ไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทูการศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม…

Gepostet von ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง am Sonntag, 8. September 2019

ร่วมแสดงความคิดเห็น