ม.การกีฬาแห่งชาติ ว.เชียงใหม่ จัดแข่งขัน ยูยิตสูชิงแชมป์ ภาคเหนือ

ดร.จารุวัฒน์ สัตยานุรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ ให้เกียรติมาร่วมชมและมอบเกียรติ บัตร และเหรียญ รางวัลให้กับนักกีฬายูยิตสู รายการแข่งขัน กีฬายูยิตสูชิงชนะเลิศภาคเหนือ ประจำปี 2562 มีนักกีฬษมาร่วมมากขึ้นจากทั่วภาคเหนือ เพราะเป็นกีฬาที่มีการแข่งขัน ในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬษแห่งชาติ และอีกหลายรายการ
อ.เปรม วาทบัณฑิต ฝ่ายจัดการแข่งขัน แจ้งว่า การแข่งขัน ยูยิตสู Chiang?Mai Thailand Ranking JJAT 2019 ณอาคารกีฬาอเนก ประสงค์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ มีนักกีฬายูยิตสูมาร่วมในการแข่งขันแทบทุกจังหวัดในภาคเหนือ ตั้งแต่รุ่นเล็กสุดจนถึงรุ่นประชาชนทั่วไป เป็นจำนวนมากในปีนี้ ถึงแม้ว่าจะเป้นกีฬาที่มาใหม่ได้ไม่นาน แต่ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
ประวัติความเป็นมาของ ‘ยิวยิตสู’จริงๆ แล้ว ‘ยิวยิตสู’ ในภาษาญี่ปุ่นจะออกเสียงว่า ‘จูจุสึ’ jutsu ซึ่งคำว่า จูจุสึ ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีความหมายว่า ‘ศิลปะของความอ่อน’ ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นมีการบันทึกเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ในหลายๆ แขนงมาอย่างยาวนาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำนานการสร้างประเทศของพวกเขา รวมไปถึงการสถาปนาราชวงศ์แห่งแดนอาทิตย์อุทัย หรือที่หลายๆ คนอาจจะรู้จักกันในนามนักรบโนมิ โน เซคูมิ
เทคนิคที่ใช้ในการต่อสู้ก็ประกอบไปด้วยการทุ่ม ต่อย เตะ กอดล็อกคู่ต่อสู้ ซึ่งจะเป็นการต่อสู้กับอาวุธด้วยมือเปล่าที่มีชื่อเต็มๆ ว่า นิกอน คอร์ยุ ยิวยิตสู ที่มีมายาวนานตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ.1333-1573 ตามที่มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และมีการบ่งบอกถึงระบบการต่อสู้ในสนามรบที่สามารถใช้ร่วมกับอาวุธชนิดต่างๆ ศิลปะการต่อสู้เหล่านี้มีชื่อเรียกเฉพาะที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น โคกุโซคุ, ยาวาร่า, คูมูยาจิ, ฮาคุดะ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้รวมอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า เซนโกคุ ยิวยิตสู ที่เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธเบากับคู่ต่อสู้ที่ใช้อาวุธหนัก หรือมีเกราะป้องกันตัวในสนามรบอย่างเช่นนักรบซามูไร ที่ปกติจะใช้ดาบในการต่อสู้ แต่ศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้จะไม่พึ่งพาดาบในการต่อสู้

ร่วมแสดงความคิดเห็น