ขยะอันตราย สุมดอยภาคเหนือ ท้องถิ่นแบกรับงบกำจัดขยะพุ่งสูง

ผู้บริหารท้องถิ่น ในพื้นที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดการขยะครัวเรือนชุมชน ด้วยการนำมารวมกันในจุดพักขยะ ก่อนขนย้ายไปยังจุดฝังกลบที่ อ.ฮอด ช่วงหน้าฝนนั้น พยายามกำกับเจ้าหน้าที่ ให้ป้องกันปัญหากลิ่นเหม็น รบกวนชุมชน น้ำเน่าเสียจากขยะไหลนองพื้นที่ทางสัญจร ช่วงขนย้าย การคัดแยกขยะครัวเรือนไม่ว่าจะเศษอาหาร ขยะเปียก เศษแก้ว พลาสติก วัชพืชรวมถึงขวด ขยะ บรรจุภัณฑ์ อันตราย,ขยะอีเลคทรอนิกส์ ประเภทหลอดไฟใช้แล้ว ยังเป็นปัญหา เพราะบางส่วนยังทิ้งรวมกัน แม้จะมีจุดบริการรับทิ้งขยะอันตราย กระจายในชุมชน ให้ผู้นำชุมชนดูแลสอดส่อง แนะนำให้ความร่วมมือก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายมากนัก
ในที่ประชุมผู้บริหารท้องถิ่น แม่ฮ่องสอน มีการรายงานว่า การบริหารจัดการขยะอันตรายนั้น ในไทยมีแหล่งจัดการใกล้แม่ฮ่องสอนที่สุดอยู่ที่สระบุรี ข้อมูลจำนวนขยะที่ อปท.รายงานเข้ามามีราวๆ 1.8 ตัน ภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งเที่ยวละ 27,000 บาท ยังไม่นับรวมขยะแยกประเภท เช่น ภาชนะยาฆ่าแมลงที่มีค่าใช้จ่าย 5 หมื่นบาท/ตัน จึงขอความร่วมมือ อปท. ดูแลใกล้ชิดในการจัดการขยะอันตราย วางแผนบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพทั้งนี้ขยะอันตราย ในไทยจะมีเอกชน 3 บริษัทเท่านั้น ที่มีศักยภาพจัดการ ดังนั้นการคัดแยกขยะจากต้นทาง ไม่ให้มีปริมาณสุมเมือง สุมดอยตามแหล่งชุมชน อปท.ต้องแยกประเภทชัดเจน ตั้งแต่แบตเตอรี่,หลอดไฟ,กระป๋องบรรจุยาฆ่าแมลง,กระจก ประเภทขยะที่คัดแยกเหล่านี้ จะส่งผลต่อต้นทุนงบด้านจัดการขยะอันตรายของ อปท. เพราะหากคัดแยกอย่างเป็นระบบ จะสามารถคุมจำนวนขยะ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งย้ายไปทำลายได้
กรมควบคุมมลพิษรายงานว่า ปีที่ผ่านมา ปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ มีประมาณ 27.8 ล้านตัน ร้อยละ 13 เป็นขยะที่รีไซเคิล ใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ ขยะมูลฝอยชุมชนจะมีราวๆ 10.88 ล้านตัน ถูกกำจัดถูกต้องเพียง 39 % ขยะที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้องจะมี ร้อยละ 27 หรือราวๆ 7.36 ล้านตัน จากนโยบายสังคมปลอดขยะ เริ่มส่งผลต่อการจัดการขยะทุกประเภทในทิศทางที่ดีขึ้นสถานที่กำจัดขยะชุมชนทั่วประเทศ มี 3,205 แห่ง เปิดดำเนินการ 2,786 แห่ง ปิดไปแล้ว 4198 แห่งเนื่องจากมีปริมาณขยะเต็มพื้นที่ฝังกลบ จัดการขยะแล้ว โดยใน 371 แห่ง เป็นจุดกำจัดขยะในหมู่บ้าน ชุมชน ที่ อปท.รับผิดชอบ และปัจจุบันมีการนำขยะไปเป็นวัตถุดิบ ในโรงงานพลังงานไฟฟ้าจากขยะ 35 แห่ง
สถานที่จัดการขยะชุมชน 2,764 แห่ง และสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย 22 แห่ง ดำเนินการถูกต้องทั้งประเทศเพียง 647 แห่ง มีการฝังกลบแบบเทกอง น้อยกว่า 50 ตัน/วัน 386 แห่ง ที่เป็นของภาครัฐ ขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ ปริมาณขยะที่เห็นทิ้งเกลื่อนกลาด ในชุมชนเมือง ส่งผลต่อ ท่อระบายน้ำ ทางน้ำไหล กำลังเป็นปัญหาสังคม ที่ต้องเร่งจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งในส่วนขยะติดเชื้อนั้น ปี 61 มีกว่า 55,497 ตันลดลงจากปี 60 เกือบ 2 พันตัน ล่าสุดมีการจัดทำแผนแม่บท ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ จากขยะและของเสียอันตราย พ.ศ.2561-2580 สร้างการรับรู้ คัดแยกขยะที่ต้นทางให้มากที่สุด รวมถึง ขยะอีเลคทรอนิกส์ การลักลอบทิ้งขยะอันตราย จะมีมาตรการทางกฎหมายที่จับ ปรับหนักขึ้น อีกทั้ง 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ห้างสรรพสินค้า,ซูปเปอร์มาร์เก็ต,ร้านสดวกซื้อ จะงดการแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง รณรงค์หน่วยราชการ ใช้ถุงผ้า ,ผลิตภัณฑ์พลาสติกบรรจุอาหาร,เครื่องดื่ม เป็นต้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น