“ค่ายพลังมือเล็กๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ”บ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่

เปิดกิจกรรม”ค่ายพลังมือเล็กๆเรียนรู้เท่าทันสื่อ”หวังสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่รู้เท่าทันสื่อและร่วมสร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่สู่การเป็นเมืองแห่งพลังปัญญารู้เท่าทันสื่อ

วันเสาร์ ที่ 28 กันยายน 2562 ณ โรงแรมธารินทร์ เชียงใหม่ นายวิรุฬพรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเซียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมค่ายพลังมือ เล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และหน่วยงานภาคีเครือข่าย นายกิตติ์ธเนศ พันธ์ภานุฉัตร ศึกษาธิการจังหวัดเซียงไหม่

มอบโล่ขอบคุณโรงเรียนภาคีเครือข่ายที่ให้การสนับสนุน และเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการมือเล็กๆเรียนรู้เท่าทันสื่อโครงการที่มุ่งหวังบ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ของจังหวัดเซียงใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการรู้เท่าทันสื่อ

นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเซียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า
กิจรรมดังกล่าวถือว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัด
เชียงใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในทุกวันได้ทำให้ “สื่อ” กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของทุกๆคนในสังคมซึ่งมีทั้งมิติด้านดี และดัานที่ควรเฝ้าระวังความสำคัญของการเฝ้าระวังในการใช้สื่อก็เปรียบเหมือนเสริมสร้างให้ผู้คนในสังคมรู้จัก และตระหนักว่า เราจะใช้สื่อและเทคโนโลยีอย่างไรให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกจากนี้โลกในทศวรษข้างหน้าจะเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีดังนั้นการเตรียมควมผอมทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นสามารถเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพสืบไป

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และหัวหน้าคณะทำงานโครงการกล่าวว่าโครงการมือเล็กๆเรียนรู้เท่าทันสื่อ เกิดขึ้นจากการตระหนักถึงความสำคัญใน2 มิติที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกันคือมิติด้านนิติศาสตร์ และมิติด้าน สื่อสารมวลชนโดยนำ2มิติดังกล่าวมาสร้างกลไกในการร่วมบ่มเพาะพลังปัญญาด้านการรู้เท่าทันสื่อในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวได้เริ่มตันจากการศึกษาคันคว้าข้อมูล

แล้วนำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาไปเผยแพร่สู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาตันแบบที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 10 แห่งได้แก่โรงเรียนวัดดอนจั่น โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน โรงเรียนเมตตาศึกษา โรงเรียนหอพระโรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์เซียงใหม่ โรงเรียนจอมทอง โรงเรียนแม่แตง โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนา และโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ ซึ่งมีเด็กและเยาวชนร่วมกิจกรรมกว่า1พันคน

จากนั้นโรงเรียนตันแบบทั้ง10แห่งได้นำเอาองค์ความรู้ด้านการรู้เท่าทัน
สื่อไปสร้างสรรค์สื่อ( Clip VDO) เพื่อเผยแพร่และขยายผลองค์ความรู้ด้านดังกล่าวไปสู่กลุ่มเพื่อนเยาวชนในโรงเรียนผู้ปกครองและชุมชนอีกกว่า1หมื่นคนและจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวข้างตันจึงเชื่อมโยงมาสู่กิจกรรมในวันนี้คือ”กิจกรรมค่ายพลังมือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ” ซึ่ง
เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสน้องๆเยาวชนที่ได้เข้าร่วมโครงการมาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาพร้อมกับร่วมกันแสวงหาแนวทางที่จะพัฒนาต่อยอดเรื่องราวดังกล่าวให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ในงานยังมีกิจกรรมการมอบรางวัลผลงานสื่อสร้างสรรค์ดีเด่น
การเสวนาพิเศษในหัวข้อ “เยาวชนไทยกับการรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธิดา พัฒนศรีวิเชียร คณบดีคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยพายัพ คุณนวพรรณ ไชยวรรณ์ อุทัยยศนักประชาสัมพันธ์สื่อสารมวลชนชำนาญการ สำนักประชาสัมพันธ์ เขต3 กรมประชาสัมพันธ์ คุณสุธิดา แซ่เตี๋ยว ผู้จัดการฝ่ายผลิตสื่อออนไลน์ “เชียงใหม่นิวส์ออนไลน์” อาจารย์พศิน พรหมกิ่งแก้ว อาจารย์ประจำคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเซียงใหม่ ดำเนินรายการ และการถอดสรุปบทเรียนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเข้าร่วมกิจกรรม โครงการมือเล็กๆเรียนรู้เท่าทันสื่อ

และในท้ายที่สุดนี้ในนามของหัวณะทำงานโครงการต้องขอขอบคุณหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้แก่จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยพายัพกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงไหม่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 TPBS เชียงใหม่นิวส์ออนไลน์ และสถานศึกษาต้นแบบทั้ง10แห่ง ที่ต่างได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการจนประสบความสำเร็จลุล่วงในแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมา ทั้งนี้ในฐานะผู้ดำเนินโครงการยังคงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสานต่อกิจกรรมดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุก ๆ ภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการสร้างการเรียนรู้ด้านการู้เท่าทันสื่อสืบต่อไปในอนาคตจนก่อเกิดเป็นความยั่งยืน และสามารถร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งการรู้เท่าทันสื่อ

ร่วมแสดงความคิดเห็น