ยื่นข้อเสนอ แผนร่วมกำหนดอนาคตเชียงใหม่

เครือข่ายภาคประชาสังคมเชียงใหม่ ระบุว่า ความคิดเห็นของประชาชนหลากหลายกลุ่มอาชีพนำเสนอ
ผ่านเวทีสาธารณะ การประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน ในพื้นที่ 25 อำเภอ สอดคล้องกันว่าเศรษฐกิจ สังคม กำลังเป็นปัญหาใหญ่ แผนพัฒนาท้องถิ่นต้องเร่งสร้างความอยู่ดี มีสุขตามหลักความพอเพียง ภาคการลงทุนที่ฉกฉวยต้นทุนชุมชน ได้สร้างปัญหา เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวบ้าน เกษตรกรโดยเฉพาะ การสร้างแรงจูงใจผลตอบแทนพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ทำให้มีปัญหาการบุกรุกเผาแผ้วถางพื้นที่ป่า เพื่อปลูกข้าวโพด , พืชผักต่าง ๆ เกิดวงจรเกษตรพันธะสัญญา แบกรับความเสี่ยง ความยากจนซ้ำซาก
ในขณะที่การประชุมร่วมของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) เชียงใหม่ นำเสนอข้อคิดเห็นประเด็นด้านเศรษฐกิจ ทั้งด้านผังเมือง , โลจิสติกส์ , การท่องเที่ยว และด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาฝุ่นควัน
โดยนายเจนกิจ สวัสดิโอ รองประธานหอการค้า เชียงใหม่ เสนอในที่ประชุมกกร.ครั้งที่ 2/2562 ว่าตามที่กรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดรับความคิดเห็นร่างผังเมืองรวมเชียงใหม่ ปรับปรุงครั้งที่ 1 นั้น เสนอว่า การออกแบบผังเมืองรวมควรแยกเป็น เขตเมืองเก่า พื้นที่กันชนนับจากพื้นที่อนุรักษ์ไปถึงทางหลวง 11 (สายเชียงใหม่-ลำปาง )และพื้นที่พัฒนาเริ่มจากทล.11 ผ่าน 3029 จนถึง 121 ขอบเขตผังเมือง มีการรวมสันกำแพงเข้ามาถูกต้องแล้ว ให้นำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจริงปี 62 นี้ เป็นฐานหลัก
ด้านนายสมชาย ทองคำคูณ รองประธานหอการค้า เชียงใหม่ เสนอว่า ผังเมืองรวมเชียงใหม่ควรชี้นำการพัฒนาเมือง ไม่ว่าจะเป็นสนามบินแห่งใหม่(สนามบินล้านนา ) , แนวรางรถไฟ แอร์พอร์ต ลิงค์ , พื้นที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ในอนาคต , โครงข่ายทางถนน การลงรายละเอียดในพื้นที่เมืองเก่า พื้นที่อยู่อาศัย , การเกษตร เป็นต้น ควรมีกฎระเบียบปฏิบัติให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติน่าสังเกตุว่าตัวแทนภาคเอกชนเชียงใหม่ยังเสนอการผลักดันรถไฟฟ้าสายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสามัคคี ) , สถานีรถโดยสารระหว่างอำเภอ เพื่อรองรับรถไฟฟ้ารางเบา ระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ในอนาคตที่ต้องมีแน่นอน รวมทั้งโครงการมอเตอร์เชียงใหม่ – เชียงราย
สำหรับภาคการท่องเที่ยวเชียงใหม่นั้น ช่วงปี 61 จะพบว่ามีนักท่องเที่ยวชาวไทยเข้ามาราวๆ7.5 ล้านคน และเป็นนักท่องเที่ยวต่่างชาติอีก 3.2 ล้านคน สร้างรายได้ท่องเที่ยวจำนวน 66,362 ล้านบาท (กลุ่มคนไทย ) และ 41,650 ล้านบาท (กลุ่มต่างชาติ) ทะลุ 1 แสนล้านบาท ( 108,012 ล้านบาท ) และปีนี้ มีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 12 ล้านบาท เมื่อรายได้เกิดขึ้นปีละกว่าแสนล้าน ถือเป็นด้านที่ต้องให้ความสำคัญ
ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวทุกด้าน แก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยว , ส่งเสริม กระตุ้นการท่องเที่ยวชุมชนอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง มีการพัฒนาสตรีทฟู๊ด , เลือกชุมชนนำร่องแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ระดับตำบล จนถึงระดับอำเภอ เพื่อให้เป็นต้นแบบประเมินผลดำเนินการ ก่อนขยายผลสู่ชุมชนเป้าหมาย
ในด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาหมอกควัน เป็นอีกเรื่องที่ต้องบริหารจัดการ เพราะเป็นปัญหามายาวนานกว่า 12 ปี ต้นตอเกิดจากการเผา เตรียมพื้นที่เกษตร เพื่อเพาะปลูก ประกอบกับพื้นที่เพื่อนบ้านส่วนด้วย ต้องบูรณาการกัน ไม่เช่นนั้นจะเกิดวิกฤติ ส่งผลกระทบตามมามากมาย เช่นที่เคยเกิดขึ้นในเชียงใหม่ และ จังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือตอนบน
ทั้งนี้ตัวแทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมประชุม กกร. อาทิ อุตสาหกรรม ระบุว่า ปีนี้มีการดำเนินโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น ชุมชนวัดศรีสุพรรณ นครเชียงใหม่ , หมู่บ้านไทลื้อ อ.ดอยสะเก็ด , ส่วนเรื่อง ระบบขนส่งมวลชน เชียงใหม่ ในส่วนรถไฟสายสีแดงนั้น บ.เอ็นริชฯยืนยันว่า อยู่ในขั้นตอน ระดมความคิดเห็นราว ๆ ต้นปีก็เสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน
ด้านร่างยุทธศาสตร์ ในประเด็นสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม เชียงใหม่มีแผน ยุทธศาสตร์ ที่อยู่ในขั้นตอนร่าง ครอบคลุมทุกมิต ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ การดำเนินการ ให้บรรลุเป้าหมายด้านท่องเที่ยว , งบประมาณ , การลงทุน , การสร้างโอกาส และการปรับเปลี่ยนวิถี ความคิดเดิมๆของชุมชน ที่ส่งผลต่อชีวิต ความเป็นอยู่ด้วยกระบวนการพัฒนาด้านการศึกษาทั้งระบทางไกล , การขยายโอกาสทางการเรียนทุกช่วงวัย ใน 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน

ร่วมแสดงความคิดเห็น