ขยายสิทธิ์บัตรทอง! ใช้สิทธิรักษาพยาบาลครอบคลุม 24 โรคหายาก

“บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เป็นบัตรที่ออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อาทิ การคุ้มครองโรคค่าใช้จ่ายสูง เช่น การผ่าตัดหัวใจ การผ่าตัดต้อกระจก และ บำบัดรักษามะเร็ง เป็นต้น การตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การบริการทัตกรรม การบริการแพทย์แผนไทย และการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
ล่าสุดนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วย โรคหายาก โดยขยายสิทธิประโยชน์ครอบคลุมกลุ่มโรคหายากโดย เริ่มในปีงบประมาณ 2563 เพื่อให้ผู้มีสิทธิบัตรทองสามารถเข้าถึงการรักษาที่จำเป็นและเหมาะสม และคาดว่าอาจต้องใช้งบประมาณดูแลถึง 12.8 ล้านบาท จากการประเมินสถานการณ์คาดว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ต้องรับการตรวจวินิจฉัยมี 250 รายต่อปี  ในจำนวนนี้คาดว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคหายากรายใหม่ 52 รายต่อปี ซึ่งระบบจะครอบคลุมตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยง การตรวจยืนยัน การรักษาพยาบาล และการติดตามผลการรักษา รวมถึงค่าพาหนะรับส่ง
การจัดระบบดูแลผู้ป่วยโรคหายากในระยะที่ 1 เบื้องต้นได้ขยายสิทธิการรักษาให้ครอบคลุม 24 โรคหายากก่อน ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมเมแทบอลิกชนิดความผิดปกติของสารโมเลกุลเล็ก (Inborn errors of metabolism: Disorders of small molecules) ที่มีอาการรวดเร็ว รุนแรง ฉุกเฉิน แต่สามารถรักษาและป้องกันการเกิดซ้ำได้ พร้อมจัดระบบบริการส่งต่อแบบพิเศษเพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารักษาที่ ศูนย์โรคหายาก ในโรงพยาบาล 7 แห่งโดยเร็ว ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น
ซึ่งโรคหายาก  เป็นโรคที่พบได้น้อย มีผู้ป่วยน้อยกว่า 10,000 คน ซึ่งเป็นโรคที่หายารักษาได้ยาก อีกทั้งเป็นโรคมีความรุนแรงอาจทำให้พิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ จึงได้มีการจัดระบบการรักษา 24 โรคหายาก ที่ประกอบด้วย
1.Other Organic aciduria (acidemia)
2.Propionic acidemia
3.Methylmalonic acidemia
4.Cobalamin defect
5.Isovaleric acidemia ภาวะมีกรดไอโซวาลิริกในเลือด
6.Glutaric acidemia type1
7.Maple syrup urine disease (MSUD) โรคปัสสาวะกลิ่นเมเปิลไซรับ
8.Urea cycle disorders, unspecified enzyme defect
9.Ornithine transcarbamylase (OTC) deficiency
10.NAGS deficiency (N-acetylglutamate synthase deficiency)
11. Citrullinemia type1
12.Argininosuccinic aciduria (ASS deficiency)
13.Arginase deficiency (argininemia)
14.Phenylketonuria โรคฟีนิลคีโตนูเรีย
15.Other specified disorders of amino acid metabolism
16.NICCD (Neonatal intrahepatic cholestasis caused by citrin deficiency)
17.Citrullinemia type 2
18. Tyrosinemia type1
19.Disorders of Fatty acid oxidation and ketogenesis
20.Disorders of Carnitine cycle and Carnitine tran-sport
21.Systemic primary carnitine deficiency
22.Tetrahydrobiopterin (BH4) deficiency
23.Multiple carboxylase deficiency : Biotinidase deficiency
24.Multiple carboxylase deficiency : Holocarboxylase deficiency
ข้อมูลและภาพ : mthai, thairath, jvkk

ร่วมแสดงความคิดเห็น