16 สถานีรถไฟฟ้า โครงการระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ สายสีแดง

โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) มีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนถนน
แนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยออกแบบโครงสร้างเป็นทางวิ่งระดับดิน วิ่งตามแนวเหนือใต้ มาตามแนวถนนโชตนา (ทางหลวงหมายเลข 107) ถึงบริเวณแยกศาลเชียงใหม่แล้วเลี้ยวขวาไปตามแนวถนนสนามกีฬาสมโภชน์ 700 ปีจนถึงแยกสนามกีฬาสมโภชน์เชียงใหม่ 700 ปี แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนเลียบคลองชลประทาน (ทางหลวงหมายเลข 121) ถึงบริเวณสี่แยกหนองฮ่อ แล้วจึงเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนหนองฮ่อ (ทางหลวงหมายเลข 1366) ถึงแยกกองกําลังผาเมือง แล้วเลี้ยวขวาไปตามแนวถนนโชตนาอีกครั้ง
ผ่านแยกข่วงสิงห์ไปตามแนวถนนช้างเผือก ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ไปจนถึง ถนนมณีนพรัตน์ (ถนนเลียบคูเมืองด้านนอกฝั่งทิศเหนือ) แล้วเลี้ยวขวาไปจนถึงแจ่งหัวลิน จึงเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนบุญเรืองฤทธิ์ ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ แจ่งกู่เฮืองไปตามแนวถนนมหิดล ถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่แล้ววิ่ง ตรงไปยังแนวคลองระบายน้ําด้านข้างท่าอากาศยานเชียงใหม่แล้วผ่านไปออกไปที่ถนนเชียงใหม่ – หางดง (ทางหลวงหมายเลข108) สิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี ดังแสดงในตารางที่ 1 ระยะทางรวม 16.5 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ใน เขตท้องที่อําเภอเมืองเชียงใหม่และอําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตารางที่ 1 สรุปรูปแบบแนวเส้นทางระบบขนส่งสายสีแดง
สถานี (Station) : สถานีรถไฟฟ้าของโครงการมีจํานวน 16 สถานี ประกอบด้วย สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ สถานีศูนย์ราชการ เชียงใหม่ สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ สถานีแยกหนองฮ่อ สถานีโพธาราม สถานีข่วงสิงห์ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก สถานีมณีนพรัตน์ สถานีประตู สวนดอก สถานีแยกหายยา สถานีแยกท่าอากาศยานเชียงใหม่ สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ สถานีบ้านใหม่สามัคคี และสถานีแม่เหียะสมานสามัคคี ทั้งนี้สามารถสรุปตําแหน่งสถานีได้ดังตารางที่ 2
ที่จอดรถ (Park and Ride) : ที่จอดรถเป็นองค์ประกอบที่สําคัญส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ประชาชนเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ซึ่ง ช่วยให้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนการเดินทางจากรถส่วนบุคคลเป็นรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้
ดังนั้น เส้นทางการเข้าออกจึงออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะการสัญจรในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถรองรับ การจราจรที่จะมีจํานวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจํานวนรถรับจ้าง รถประจําทาง รถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์ศูนย์ซ่อมบํารุง (Depot)
ศูนย์ควบคุมการเดินรถ (operations Control Center) : ศูนย์ซ่อมบํารุงเป็นพื้นที่เพื่อการปฏิบัติการ หน้าที่หลักประการแรก คือ เป็นที่จอดพักของขบวนรถ หน้าที่ถัดไป คือ เพื่อการปฏิบัติการและบํารุงรักษา ภายในศูนย์ซ่อมบํารุงจึงประกอบไปด้วยอาคารต่างๆ หลายรูปแบบ เช่น โรงซ่อมบํารุง อาคารบริหาร ศูนย์ควบคุมการเดินรถ อาคารประกอบเพื่อการสันทนาการ ฝึกอบรม และพักอาศัย
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่สายสีแดง

ร่วมแสดงความคิดเห็น