สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดงานพิพิธภัณฑ์ “แอ่วเฮือน เยือนผญา” แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญร่วมงาน พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมล้านนา “แอ่วเฮือน เยือนผญา” ระหว่างวันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00-17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กล่าวว่า การจัดงาน พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมล้านนา “แอ่วเฮือน เยือนผญา” เป็นกิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดขึ้นภายใต้แนวคิดตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุก :ล้านนาสร้างสรรค์ โดยภายในงานมีกิจกรรมสาธิตวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ อาหารการกินของชาติพันธุ์ในล้านนา (ไทลื้อ ไทยวน ไทเขิน ไทใหญ่ และกลุ่มเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมล้านนา) อาทิ การประดิษฐ์โคมประดับ การละเล่นดนตรีและการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ การประดิษฐ์ผางประทีป การประดิษฐ์งานใบตอง การปลูกพืชผักสวนครัว พืชผักล้านนา การทำกระเบื้องดินขอ การเขียนตัวเมืองเบื้องต้น
นิทรรศการทางสถาปัตยกรรม การร่างภาพเรือนล้านนาเบื้องต้นฯ นิทรรศการและการเรียนรู้เรื่องกล้วยไม้พื้นเมือง การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ และพันธุ์พืชต่าง ๆ การเรียนรู้การปลูกข้าว และพันธุ์ข้าวต่าง ๆ กาดหมั้ว และกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ จากเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา รวมทั้งการบูรณาการงานวิชาการด้านชาติพันธุ์ล้านนา โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นการนำความรู้ด้านล้านนามาต่อยอดสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์
ตลอดระยะเวลาของการจัดงาน 3 วัน โดยมีฐานฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจากสล่าล้านนา ดังนี้ ฐานการเรียนรู้ภายในงาน จำนวน 11 ฐาน สำหรับบุคคลผู้สนใจทั่วไป ผู้สนใจลงทะเบียนเลือกฐานได้ที่ https://bit.ly/33FVWus การประดิษฐ์โคมประดับของชาวไทใหญ่ การประดิษฐ์ผางประทีป การประดิษฐ์สรวยดอกกาบหูช้างธรรมดา การทำข้าวหนุกงา การทำกระเบื้องดินขอ การเขียนตัวเมืองเบื้องต้น การร่างภาพ (sketch) เรือนล้านนาเบื้องต้นฯ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้วยไม้พันธุ์พื้นเมือง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้าวพันธุ์พื้นเมือง การมัดมาลัยผ้า/การปักลวดลายถุงผ้าขนาดเล็ก การทำเครื่องเขินเบื้องต้น สแกน QR Code ลงทะเบียนฐานการเรียนรู้ภายในงาน จำนวน 11 ฐาน สำหรับบุคคลผู้สนใจทั่วไป
ฐานการฝึกอบรมระยะสั้น 3 วัน จำนวน 5 ฐาน สำหรับผู้ที่ต้องการรับใบประกาศนียบัตร สามารถลงทะเบียน เลือกฐานอบรมหลักสูตร 3 วัน พร้อมรับใบประกาศนียบัตร ได้ที่ https://bit.ly/2rxJoqU การประดิษฐ์โคมประดับของชาวไทใหญ่ การประดิษฐ์ผางประทีป การประดิษฐ์สรวยดอกกาบหูช้างธรรมดา การเขียนตัวเมืองเบื้องต้น การร่างภาพ (sketch) เรือนล้านนาเบื้องต้นฯ สแกน QR Code ลงทะเบียนฐานการฝึกอบรมระยะสั้น 3 วัน จำนวน 5 ฐาน สำหรับผู้ที่ต้องการรับใบประกาศนียบัตร
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมชมงานสามารถติดตามข่าวสารการจัดงานได้ที่ https://bit.ly/35V6rf8 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053 943 625-6 และ http://art-culture.cmu.ac.th

ร่วมแสดงความคิดเห็น