สืบสานภูมิปัญญา สู่ชาวนารุ่นใหม่ โครงการชาวนาน้อย

เดิมบริบทของตำบลสันผีเสื้อเป็นสังคมเกษตรกรรมแต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสังคมเมืองกึ่งชนบท เนื่องจากมีถนน วงแหวนผ่านกลางตำบลถึง ๒ สาย ทำให้ความเจริญด้านสาธารณูปโภคต่างๆเข้าถึงในพื้นที่มากขึ้น ราษฎรในตำบลเริ่ม มีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป มีหมู่บ้านจัดสรรขยายโครงการเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ทำนาลดลงเหลือเพียง ๑,๔๐๐ ไร่ (ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี พ.ศ. ๒๕๖๑) เกษตรกรบางรายก็เปลี่ยนอาชีพ แต่ยังมีเกษตรกรใน ตำบลสันผีเสื้อที่ทำนาอยู่ประมาณ ๑๓๘ รายชาวนาใน ต.สันผีเสื้อทำนาปีละ ๒ ครั้ง
โดยอาศัยระบบน้ำชลประทาน จากคลองชลประทานซอย ๙ ด้วยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น เกษตรกรจึงส่งลูกหลานเรียนหนังสือเพื่อให้มี ความรู้ความสามารถมาประกอบอาชีพสำหรับคนรุ่นใหม่ ราษฎรในพื้นที่น้อยคนที่อยากให้ลูกๆสืบทอดวิถีชีวิตชาวนา คาดว่าจะมีผู้สืบทอดอาชีพชาวนาน้อยลงหรืออาจจะไม่มีเลย กลุ่มชาวนาจำนวน ๑๓๘ รายของ ต.สันผีเสื้อ นี้อาจจะเป็นชาวนารุ่นสุดท้ายของตำบลและของ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าอาชีพชาวนาไทยจะ มีผู้สืบทอดหรือไม่มองภาพรวมในอนาคตเราจะต้องซื้อข้าวจากประเทศเวียดนาม หรือประเทศพม่ามาบริโภคหรือไม่ ทั้งกลุ่มชาวนา และผู้บริหารท้องถิ่นได้ตระหนักในผลกระทบดังกล่าว
จึงมอบหมายให้กองส่งเสริมการเกษตร ทต.สันผีเสื้อ ร่วมกับชาวนาในพื้นที่ ปราชญ์ชาวนา ผู้นำชุมชน สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงใหม่ คณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลสันผีเสื้อและโรงเรียนในพื้นทีดังนั้นทางนายลักษณ์ บุณชะละ นายกเทศบาลตำบลสันผีเสื้อได้ดำเนินโครงการ “ชาวนาน้อย” โดยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยสืบทอดวิถีชีวิตชาวนาสู่คนรุ่นใหม่ ให้เด็กๆในพื้นที่เรียนรู้ที่มา และคุณค่าของ “ข้าว” ซึ่งเป็นพืชอาหารหลักและเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยดังคำขวัญ“สืบสานภูมิปัญญา สู่ชาวนารุ่นใหม่” ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง (Learning by doing) กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้เพื่อให้เด็กเป็นผู้ที่ดึงศักยภาพผู้ใหญ่ในพื้นที่ให้ตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชน ท้องถิ่น สร้้างความรัก ความสามัคคีประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดีเป็นชาวนาที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบอาชีพ ที่น่าภาคภูมิใจและเป็นเกียรติที่น่ายกย่องแก่เด็กในท้องถิ่นได้
รวมทั้งเพื่อเผยแพร่เกียรติคุณชาวนาไทย และช่วยสืบทอดวิถีชีวิตชาวนาไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป ตามพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ มาตรา ๑๖(๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและยังต่อยอด โครงการโดยนำผลผลิตข้าวที่ได้มอบให้กับผู้พิการผู้ป่วยติดเตียง เด็กนักเรียนชาวนาน้อยภายใต้กิจกรรม “ชาวนาน้อย ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส” ตามยุทธศาสตร์จังหวัดที่ ๒ ประเด็นยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเกษตร การผลิตสินค้าชุมชน การค้า การลงทุน สู่สากล ยุทธศาสตร์การพัฒนาของอปท. ในเขตจังหวัดที่ ๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจตาม แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเพื่อถวายอาลัย และน้อมรำลึกใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กษัตริย์นักเกษตรอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย

ร่วมแสดงความคิดเห็น