โค้ชยูยิตสู พร้อม แชมป์โลกชาวไทย เป็นวิทยากรสอนเด็ก

ผู้ฝึกสอนกีฬายูยิตสู พร้อมชุดแชมป์โลกชาวไทย ขึ้นเหนือเปิดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนใน จังหวัดเชียงใหม่ ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ในกีฬา ยูยิตสู เพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันในระดับต่าง ๆ ต่อไป ดร.จารุวัฒน์ สัตยานุรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติฯ มอบหมายให้ อ.เปรม วาทบัณฑิตกุล ให้การต้อนรับ และมอบของที่ระลึก กับวิทยากร น.ท.พิทักษ์ คำปิตะ และคณะทีมชาติไทย ชุดแชมป์โลกประเภทโชว์ ที่มาให้ความรู้กับเยาวชน
ดร.จารุวัฒน์ สัตยานุรักษ์
อาจารย์เปรม วาทบัณฑิตกุล
อ.พิทักษ์ คำปิตะ พร้อมแชมป์ โลกยูยิตสู ชาวไทย พี่เซียร์และพี่แนต มาให้ความรู้เกี่ยวกับกีฬายูยิตสู แก่เยาวชนใน จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับความอนุเคราะห์สถานที่ ในการฝึกกีฬายูยิตสูเป็นศูนย์กลางใน จังหวัดเชียงใหม่ ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ งานนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ประวัติความเป็นมาของ ‘ยิวยิตสู’จริง ๆ แล้ว ‘ยิวยิตสู’ ในภาษาญี่ปุ่นจะออกเสียงว่า “จูจุสึ” ซึ่งคำว่า จูจุสึ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น มีความหมายว่า ‘ศิลปะของความอ่อน’ ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น มีการบันทึกเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ในหลาย ๆ แขนงมาอย่างยาวนาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำนานการสร้างประเทศของพวกเขา รวมไปถึงการสถาปนาราชวงศ์แห่งแดนอาทิตย์อุทัย หรือที่หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักกันในนามนักรบโนมิ โน เซคูมิ
เทคนิคที่ใช้ในการต่อสู้ ก็ประกอบไปด้วยการทุ่ม ต่อย เตะ กอดล็อกคู่ต่อสู้ ซึ่งจะเป็นการต่อสู้กับอาวุธด้วยมือเปล่าที่มีชื่อเต็ม ๆ ว่า นิกอน คอร์ยุ ยิวยิตสู ที่มีมายาวนานตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ.1333 – 1573 ตามที่มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และมีการบ่งบอกถึงระบบการต่อสู้ในสนามรบ ที่สามารถใช้ร่วมกับอาวุธชนิดต่าง ๆ
ศิลปะการต่อสู้เหล่านี้ มีชื่อเรียกเฉพาะที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น โคกุโซคุ, ยาวาร่า, คูมูยาจิ, ฮาคุดะ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ รวมอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า เซนโกคุ ยิวยิตสู ที่เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธเบากับคู่ต่อสู้ ที่ใช้อาวุธหนัก หรือมีเกราะป้องกันตัวในสนามรบ อย่างเช่นนักรบซามูไร ที่ปกติจะใช้ดาบในการต่อสู้ แต่ศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้ จะไม่พึ่งพาดาบในการต่อสู้

ร่วมแสดงความคิดเห็น