แบงก์ชาติ ชี้ไตรมาส 4 ปี 62 เศรษฐกิจภาพรวมยังคงมีแนวโน้ม ภาวะที่ชะลอตัวหลายปัจจัย

นายโอรส เพชรเจริญ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ กล่าวว่าภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ หดตัวจากเดือนก่อน โดยการบริโภคหดตัวทั้งการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้า คงทนและใช้ในชีวิตประจำวัน รายได้เกษตรกรหดตัวตามผลผลิตพืชหลัก เพราะกระทบแล้งในช่วงเพาะปลูก ภาคอุตสาหกรรม หดตัวตามการผลิตหมวดอาหาร เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบทางการเกษตรลดลง การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวทั้งด้าน การก่อสร้างและการผลิต การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวต่อเนื่องตามรายจ่ายลงทุนเป็นหลัก ส่วนการท่องเเที่ยวชะลอตัวจาก นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ทางด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ อัตราการว่างงานลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น ตามราคาอาหารสด ทางด้านภาคการเงินเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวทั้งเงินฝากและสินเชื่อใกล้เคียงกับเดือนก่อน รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ ดังนี้ การอุปโภคบริโภคเอกชน หดตัว โดยการใช้จ่ายสินค้าคงทนหดตัวต่อเนื่องตามยอดจดทะเบียนรถทุกประเภท จากกำลังซื้อยังอ่อนแรง และการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทางด้านการใช้จ่ายสินค้าเพื่อใช้ใน ชีวิตประจำวันกลับมาหดตัวในเดือนนี้ โดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่ใช้ในครัวเรือน และเครื่องประทินโฉมที่ขยายตัวมาก ในช่วงก่อนหน้าแล้ว ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการน้อยแผ่วลง

ภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ชะลอลง ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนที่ลดลงจากหลาย ปัจจัย อาทิ ชะลอการเดินทางจากเดือนนี้ เป็นเดือนหน้าในช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนชาติอื่นยังขยายตัว สะท้อนจาก จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่ขยายตัวชะลอลง และอัตราการเข้าพัก ของโรงแรมในภาคเหนือใกล้เคียงกับปีก่อน สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวเล็กน้อยและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สะท้อน จากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนของภาคเหนือ

รายได้เกษตรกร หดตัว ตามด้านผลผลิตพืชหลัก ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะได้รับ ความเสียหายจากภาวะแล้ง ขณะที่ด้านราคาชะลอตัวลง โดยราคาอ้อยโรงงานต่ำกว่าปีก่อนตามราคาในตลาดโลก ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หดตัว เนื่องจากตลาดชะลอการรับซื้อ และบางส่วนหันไปใช้วัตถุดิบอื่นที่มีราคาถูกแทน ส่วน ราคาข้าวเปลือกเหนียวและไข่ไก่ขยายตัว เพราะปริมาณผลผลิตน้อยกว่าปีก่อน ทางด้านราคาไก่เนื้อยังขยายตัวต่อเนื่อง จากความต้องการของตลาดต่างประเทศ

การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว ตามการผลิตในหมวดอาหาร เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบทางการเกษตรลดลง อาทิ ข้าว และอ้อย ขณะที่หมวดอิเล็กทรอนิกส์หดตัวตามความต้องการจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในหมวดเครื่องดื่ม ท้ังที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ขยายตัว เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและออกผลิตภัณฑ์ใหม่

การลงทุนภาคเอกชน ยังหดตัว โดยการลงทุนภาคก่อสร้างหดตัวต่อเนื่อง ตามการลดลงของพื้นที่รับอนุญาต ก่อสร้างท้ังในและนอกเขตเทศบาล โดยเฉพาะเพื่อการพาณิชย์อุตสาหกรรม และโรงแรม รวมทั้งยอดจำหน่ายวัสดุ ก่อสร้างลดลงเช่นกัน ทางด้านการลงทุนเพื่อการผลิตหดตัวต่อเนื่องเช่นกัน สะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักร และยอดจดทะเบียนรถบรรทุกทยังหดตัว

การใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวต่อเนื่อง เป็นผลจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ยังไม่ประกาศใช้ ทำให้การใช้จ่ายงบลงทุนหดตัวมากในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง อย่างไรก็ดี รายจ่ายประจำขยายตัวในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป ตามเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา และหมวดงบรายจ่ายอื่นของงบกลาง โดยการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน

มูลค่าการค้าผ่านชายแดน การส่งออกในรูปเงินบาทขยายตัวต่อเนื่อง จากการส่งออกผลไม้ ยางและผลิตภัณฑ์ ไปจีน รวมทั้งเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ไปเมียนมา ส่วนทางด้านการนำเข้าหดตัว ตามการนาเข้าไฟฟ้าจากลาวเป็นสำคัญ เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นจากเดือนก่อนเป็นร้อยละ 1.7 ตามราคาอาหารสด เช่น ข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้ ส่วนอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาล แล้วลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.0

ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2562 ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มียอดสินเชื่อคงค้าง 1,351.2 พันล้านบาท ขยายตัวตามสินเชื่อเพื่อการเกษตร และเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งสินเชื่อ เพื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ ทางด้านเงินฝากมียอดรวม 1,250.2 พันล้านบาท

โดยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในทุกประเภท ประกอบกับเงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวจากเงิน ตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นสำคัญ

ร่วมแสดงความคิดเห็น