อุทยานฯแม่วะ เข้าร่วมโครงการสนับสนุนการบูรณาและการขับเคลื่อนนโยบาย การสร้างเครือข่ายจิตอาสาเฝ้าระวังไฟป่า

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 นายยรรยง กุนาคำ นายอำเภอเถินเป็นประธานในพิธี โดยนายเดชอนันต์ คำสวน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วะ นายประหยัด จักรแก้ว ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานฯ ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่า แม่วะอีกหน้าที่หนึ่ง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วะและเจ้าหน้าที่อุทยานฯแม่วะ ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนการบูรณาและการขับเคลื่อนนโยบาย กิจกรรมการสร้างเครือข่ายจิตอาสาเฝ้าระวังไฟป่า ณ ที่ทำการ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง การเกิดไฟป่าและหมอกควัน ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระทบต่อสุขภาพอนามัย ต่อการดำรงชีวิตของราษฎรในพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นประจำโดยเฉพาะห้วงเดือนมีนาคม -พฤษภาคม ของทุกปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นตันมาส่วนราชการที่มีภารกิจ หน้าที่รับผิดชอบทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคได้พยายามแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาดังกล่าวเห็นได้ว่าภาครัฐได้ตระหนัก และให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันที่จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินมาตรการต่างๆที่จะส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงวิกฤตสถานการณ์หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5/PMoo)ซึ่งมาตรการนี้ภาครัฐได้นำมาใช้เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า

ด้วยในห้วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี พื้นที่จังหวัดลำปางและจังหวัดภาคเหนือตอนบน จะประสบปัญหาไฟป่าและหมอกควันปกคลุมพื้นที่ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดลำปางและจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มาอย่างต่อเนื่องหลายปี โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเผาในที่โล่ง การเผาป่า การเผาวัชพืชและสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตร และ การเผาขยะ เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าไม้ สภาวะแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยจังหวัดลำปาง ได้ดำเนินการกำหนดมาตรการและแก้ไขปัญหา โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมาเป็นประจำทุกปี

จากสถานการณ์และข้อมูลสถิติการเกิดจุด HOT SPOT ในพื้นที่ล้วนมีสาเหตุหลักจากการเผา เกิดจากการเผาป่าและเผาเศษวัชพืชรวมถึงการเผาในพื้นที่โล่ง เพื่อเตรียมการทำการเกษตรปศุสัตว์ของราษฎรและการเผาเพื่อหวังผลให้เกิดพืชพันธ์และนำมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงจำเป็นจะต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการปลูกฝังความเชื่อและค่านิยมที่ถูกต้องให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชนและการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เกิดความตระหนักและร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในการเป็นเครือข่ายป้องกัน เฝ้าระวังปัญหาไฟป่าและหมอกควันในระดับพื้นที่ซึ่งการดำเนินงานโครงการได้กำหนดการประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมายจำนวน 48 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน

ทั้งนี้ การประชุมโครงการกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์(จิตอาสา) กิจกรรมการสร้างเครือข่ายไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี เพื่อให้การป้องกัน และเฝ้าระวังไฟป่า หมอกควันในเขตพื้นที่อำเภอเถิน เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอย่างสูงสุด ณ ที่ว่าการอำเภอเถิน จ.ลำปาง

ร่วมแสดงความคิดเห็น