พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 มี.ค. 2563 – 8 มี.ค. 2563 กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การคาดหมาย ในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตราย จากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่ง จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะมีเกิดขึ้นได้ และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 63 มีหย่อมความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 63 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 63 อากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 63 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 63 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค. 63 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ในช่วงวันที่ 3 – 6 มี.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 8 มี.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 3 – 6 มี.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 8 มี.ค. 63 มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 36 องศาเซลเซียส

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 3 – 6 มี.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 8 มี.ค. 63 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

นายธาดา ศรัทธา ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาสุโขทัย

ร่วมแสดงความคิดเห็น