สถานการณ์ไฟป่าและฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือดีขึ้น ทส.จะร่วมกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เตรียมปลูกฟื้นฟูป่าใน พท.ที่ถูกไฟไหม้

สถานการณ์ไฟป่า และฝุ่นละอองPM 2.5 พื้นที่ภาคเหนือ ในภาพรวม “ลดลง” หลายจังหวัด โดยส่วนใหญ่คุณภาพอากาศดีขึ้น แต่อาจมีบางพื้นที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน (เล็กน้อย) ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนจุดความร้อน ที่ยังมีการเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่มากนัก

ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส. ) พบว่าสถานการณ์ปริมาณ “ฝุ่นละออง PM 2.5” เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ วันนี้ 18 เม.ย ณ เวลา 09.00 น. มีค่าระหว่าง 19 – 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. ปริมาณฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง คุณภาพอากาศส่วนใหญ่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับดี (สีเขียว) – ปานกลาง (สีเหลือง) ซึ่งมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหลายจังหวัด มีพื้นที่ที่คุณภาพอากาศ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม เกิน 50 มคก./ลบ.ม.เพียงเล็กน้อย ในบางพื้นที่) เพียง 4 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.น่าน โดยมีค่าสูงสุดที่ จ.แม่ฮ่องสอน มีค่า 66 มคก./ลบ.ม.

สำหรับ สถานการณ์ปัญหาหมอกควันข้ามแดนในอนุภูมิภาคแม่โขง จุดความร้อนในภาพรวมมีจำนวนลดลง และสำนักเลขาธิการอาเซียน “ได้ลดระดับการแจ้งเตือนปัญหาหมอกควันข้ามแดน ในอนุภูมิภาคแม่โขงจากระดับ 3 ลงเป็นระดับ 2” เนื่องจากสถานการณ์ในภาพรวมดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ทส.ยังคงประสานงาน กับเลขาธิการอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเน้นยำให้มีการควบคุมปริมาณจุดความร้อน และดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน อย่างต่อเนื่อง

หลังจากนี้ทาง ทส. จะได้ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ/องค์กรเอกชน/และประชาชนทุกหมู่เหล่า ในจังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ อย่างเช่น จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีจุดที่ถูกไฟไหม้กว่า 20,000 จุด ก็จะมีการ ฟื้นฟูปลูกป่า เพื่อคืนสภาพธรรมชาติ โดยจะเน้นปลูก ต้นไม้ป่ารวมทั้งไม้ผล (ไม้ผล จะสนับสนุนปลูกร่วมกับไม้ป่า และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ที่ประชาชนได้รับสิทธิทำกินหรือ คทช. ) โดยในหลักการ การปลูกไม้ป่า/ไม้มีค่าทางศก. ทางกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะเป็นผู้สนับสนุนพันธุ์ไม้ ( ต้นไม้ทุกต้นจะมีบาร์โค้ด เพื่อให้รู้ว่า ผู้ปลูกคือใครและชนิดไม้ รวมทั้งการที่จะดูแลรักษาต่อไป ) ส่วนไม้ผลทางหน่วยงานทางการเกษตร จะสนับสนุน ร่วมกับมหาวิทยาลัยทางการเกษตร เช่น ม.แม่โจ้ ทั้งนี้ จ.เชียงใหม่ จะเชิญ ภาคเอกชน นักวิชาการ ประชาชน และเยาวชน รวมทั้งนักเรียนนักศึกษา จะเข้ามามีส่วนร่วม ในการปลูกต้นไม้ โดย จะดำเนินการในช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น