ฆ่าตัวตายพุ่ง แจงช่วงโควิด สาเหตุหลายปม เชียงใหม่นำโด่ง

เครือข่ายสุขภาพจิต  ศูนย์สุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดนั้น อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ต้องปรับตัว รวมถึงรูปแบบการทำงาน จนก่อให้เกิดความกดดัน ความเครียดสะสมได้ จึงควรรู้อารมณ์ หาวิธีผ่อนคลายความเครียด รับสื่ออย่างมีสติ ไม่หมกมุ่นเกินไป ดูแลร่างกายให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้ากังวลใจ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิตเปิดเผยว่ามีการประเมินสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 1-2 เดือน จะมีปรากฎการณ์ด้านสุขภาพจิตเกิดขึ้น ทั้งปัญหาด้านจิตใจ โรคทางจิตเวช และปัญหาที่มากับเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนคนไทยมีความเครียด ความกดดันที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าภาวะปกติมาก

กรณีมีการรวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตและคนที่ฆ่าตัวตายช่วงไวรัสโควิด-19 ของกลุ่มนักวิชาการนั้นน่า จะเป็นเพียงการนำเสนอปัจจัยมุมมองเฉพาะด้าน ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อเท็จจริงที่สะท้อนปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทยได้ เพราะข้อมูลการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2561-2562 พบว่าปัญหาการฆ่าตัวตายนั้นมีความสลับซับซ้อน เกิดจากหลายปัจจัยที่มีการซ้อนทับกัน จะอ้างปมวิกฤติเศรษฐกิจ ปัญหาสุขภาพ เรื่องส่วนตัวคงไม่ถูกต้องตามหลักวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง

ปี 2563 นั้น กรมสุขภาพจิตได้คาดการณ์ว่า ตัวเลขการฆ่าตัวตายในประเทศไทยอาจสูงมากขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยในทุกปีตามกลไกทางจิตวิทยาสังคมที่อยู่ในภาวะวิกฤต ดำเนินการติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง และทำงานเชิงรุกประสานกับภาคประชาสังคม  โดยเฉพาะอสม. และเครือข่ายสุขภาพจิตในแต่ละพื้นที่
ทั้งนี้จากการตรวจสอบของทีมข่าวจากฐานข้อมูลสาธารณสุข พบว่าตั้งแต่ ตุลาคม 2562 – 30 เมษายน 2563 มีผู้พยายามอัตวินิบาตกรรม 12,313 ราย เป็นชาย 6,393 ราย และหญิง 5,919 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 พบมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 10,000 ราย โดยปี 2562 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย  513 ราย ปี 2561 จำนวน 523 ราย ปี 2560 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 615 ราย ปี 2559 จำนวน 526 ราย และปี 2558 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย  553 ราย

 

ผลกระทบทางสุขภาพจิตจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น กลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ที่เกิดความเครียด จะเป็น 1 ใน 4 กลุ่มที่ความเครียดเรื้อรัง มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า และสุดท้ายอาจไปถึงการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด
ได้วางมาตรการเพื่อป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายปี 2562 ข้อมูลจากมรณบัตร พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ เท่ากับ 6.64 ต่อแสนประชากรต่อปี ในช่วงภาวะปกติประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6.31 ต่อแสนประชากร

ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ กรมสุขภาพจิตมีความห่วงใยและกำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเปรียบเทียบฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความแม่นยำที่สุด เพิ่มระดับการเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะปัญหาการฆ่าตัวตายทั้งจากระบบรายงานและที่ปรากฏเป็นข่าว
ช่วงที่ผ่านมานั้น ตัวเลขปี 2561 เฉพาะเชียงใหม่มีอัตราการฆ่าตัวตาย 165 คน อยู่ในอัตรา 10.18 ต่อประชากร 1 แสนคน เป็นที่ 1 ของประเทศ จากทั้งหมด ทั่วประเทศ 4,137 ราย หรือ อัตรา 6.32 ต่อประชากร 1 แสนคน และปี 2560 มี
การฆ่าตัวตายสำเร็จ 3934 ราย เชียงใหม่มี 179 คน ซึ่งพบว่า อัตราการฆ่าตัวตาย ในช่วง 5 ปีนั้น เป็นชายมากกว่าหญิง และเขตสุขภาพ 13 แห่ง พบว่า เชียงใหม่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด  มีเพียงปี 2560 เท่านั้นที่หล่นไปอันดับ 2 รองจากกรุงเทพ และข้อมูลล่าสุด 30 เมษายน 2563 จากการประมวลผลแจ้งสาเหตุการตายทั่วประเทศ พบฆ่าตัวตายสูงถึง 12,313 ราย

ร่วมแสดงความคิดเห็น