บก.คฟป.ทภ.3 ร่วมกับ 17 จังหวัดภาคเหนือ ประชุมถอดบทเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

วันที่ 8 พ.ค.63 เวลา 09.00 น.พล.ท.ฉลองชัย ชัยยะคำ แม่ทัพภาคที่ 3 /ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค เป็นประธานการประชุมถอดบทเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ ร่วมกับ 17 จังหวัดภาคเหนือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการประชุมระบบทางไกลผ่านจอภาพ ที่ห้องประชุมค่ายกาวิละ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

แม่ทัพภาคที่ 3 /ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค กล่าวว่า สถานการณ์หมอกควันไฟป่าพื้นที่ภาคเหนือ จะเริ่มมีผลกระทบ ม.ค.- เม.ย. ของทุกปี ทภ.3 ได้จัดตั้ง บก.คฟป.ทภ.3 สน. ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. 62 เพื่อบูรณาการแผนงานของ 9 จังหวัด และเชื่อมประสานกับหน่วยงานส่วนกลางแต่เนิ่น ๆ โดยใช้การประชุม VTC ทุกสัปดาห์ เป็นการขับเคลื่อนส่วนกลางและจังหวัด

ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ ต.ค. 62 โดยงานที่สำคัญการให้แต่ละจังหวัด ชี้แจงแผนการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้, การบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยไม่เผา การตรวจสอบผู้เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า, เมื่อเกิดสถานการณ์หมอกควันไฟป่า ต้องเข้าแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การดับไฟ, การควบคุมพื้นที่, การเตรียมพื้นที่ปลอดภัย ซึ่ง กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ได้ให้หน่วยขึ้นตรงศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 3 เตรียมการจัดชุดดับไฟป่าสนับสนุน เมื่อ จังหวัดร้องขอ

ทั้งนี้เนื่องจากสภาพความแห้งแล้ง ปีนี้เริ่มตั้งแต่ ธ.ค.62 ต่อเนื่องมา และสภาพภูมิประเทศในพื้นที่เป็นแอ่งกระทะประกอบกับความกดอากาศสูงต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือน ม.ค. ทำให้ค่าคุณภาพอากาศเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ในห้วงเวลาเดียวกัน จะเกิดค่าคุณภาพอากาศ กระทบมากกว่าปีที่แล้ว

ในส่วนของการใช้อากาศยานสนับสนุน เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ มีการนำเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 ก (BT-67) จาก ทอ. (ตั้งแต่ 16–27 มี.ค. 63) ใช้ในการโปรยน้ำสร้างความชุ่มชื้นลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 23 เที่ยวบิน ปริมาณน้ำ 69,000 ลิตร เครื่องบินฝึกแบบ 41 (บ.ฝ.41) ทำการบินลาดตระเวนทางอากาศ รวม 44.30 ชั่วโมง ตลอดจนการเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 72 (ฮ.ท.72) (ตั้งแต่ 1 ก.พ. 63 ) ทำการบินลาดตระเวนทางอากาศ รวม 34.24 ชั่วโมง รวมถึงการใช้ชุดอากาศยานไร้คนขับ (UAV) จาก ทบ. ทำการบินลาดตระเวนทางอากาศ พร้อมแสดงผลแบบ Real Time (ตั้งแต่ 19 เม.ย. 63) จำนวน 42.25 ชั่วโมงบิน ตรวจพบไฟป่า จำนวน 141 เป้าหมาย

แต่ด้วยการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานในปีนี้ ตั้งแต่เดือน ต.ค. 62 ทำให้ความรุนแรงของสถานการณ์น้อยกว่าปีที่แล้ว เช่น จุดความร้อนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งที่เกิดสถานการณ์ค่าคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนก่อน 20 วัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในห้วงเวลาเดียวกัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น