ลำปาง เชียงใหม่ติดโผ ชาวบ้านร่วมใจปลูกป่า ฟื้นฟูพื้นที่ไฟป่าเผาวอด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ตั้งเป้าการปลูกที่ 100 ล้านต้นนั้น นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวง ทส. กล่าวว่านี้มีประชาชนเข้าร่วมโครงการ ช่วยกันปลูกต้นไม้กว่า 13,754,334 ต้น ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จากการตรวจสอบจังหวัดที่มีการปลูกต้นไม้ในมากที่สุด 10 อันดับนั้น พบว่าอันดับ 1 ลำปาง 860,597 ต้น (ผู้ลงทะเบียนปลูก 6,823 คน) อันดับ 3 เชียงใหม่ 569,536 ต้น (ผู้ลงทะเบียนปลูก 5,981 คน) ต้นไม้ที่ปลูกสูงสุด คือ พะยูง 2,290,664 ต้น, สัก 1,393,049 ต้น, ยางนา 1,013,423 ต้น, มะค่าโมง 924,925 ต้น และประดู่ป่า 823,532 ต้นด้านสำนักจัดกาทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 ระบุว่าหลังจากประชุมร่วมกับจังหวัดและข้อสั่งการกรมป่าไม้ ที่มีแผนการฟื้นฟู
ป่า และขยายพื้นที่สีเขียวของประเทศ ที่ปัจจุบันมี 32% เพิ่มเป็น 55% ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่ง นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กำหนดเป็นนโยบายนั้น สืบเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เผชิญปัญหาไฟป่ามีพื้นที่ป่าเสียหายกว่า 55,266 ไร่ จาก 30,148,622 ไร่ ซึ่งเชียงใหม่มีพื้นที่ป่าเสียหายกว่า 17,771 ไร่ กรมป่าไม้เตรียมกล้าไม้ เพื่อดำเนินการปลูกฟื้นฟูป่าที่เสียหายไป เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นและเป็นพืชเศรษฐกิจ เช่น ประดู่ป่า สัก พะยูง ตะแบก มะค่าโมง ยางนา ตะเคียนทองนางนันทนา บุณยานันต์ โฆษกกรมป่าไม้กล่าวว่า กรมป่าไม้พร้อมสนับสนุนประชาชนปลูกต้นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ
เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นไม้ และการค้าไม้เศรษฐกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการแก้ไข พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่กำหนดเกี่ยวกับไม้หวงห้ามที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวล กฎหมายที่ดิน หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิ ให้ถือว่า ไม่เป็นไม้หวงห้าม สามารถปลูกและตัดขายได้ในอนาคต โดยปลดล็อคไม้หวงห้าม 158 ชนิด เช่น ไม้สัก ไม้ยาง ไม้พะยูง และไม้หายาก 13 ชนิด เช่น กระเบา มะแข่น จันทน์หอม ตีนเป็ดแดง เป็นต้นทั้งนี้นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า หลังจากที่ปลดล็อกแก้ไขกฎหมาย จากไม้หวงห้ามเป็นไม้มี
ค่า ปัจจุบันประชาชนปลูกไม้มีค่าและลงทะเบียนกับกรมป่าไม้ไปแล้ว 70,874 ราย เนื้อที่รวม 1,116,200 ไร่ คิดเป็นต้นไม้มีค่ากว่า 223,240,000 ต้น ซึ่งพื้นที่ สปก. สามารถปลูกไม้มีค่าได้ จะสร้างโอกาสสร้างรายได้ให้ครัวเรือน ไม้ที่ปลูกใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นมรดกให้กับครอบครัวในอนาคตได้อีกด้วย คาดว่าจะมีคนสนใจปลูกไม้มีค่าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10 ล้านไร่

“ส่วนประเด็นการเผาป่า หรือปัญหาการบุกรุก ใช้ที่ดิน ผิดเงื่อนไข ในแต่ละแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น ม่อนแจ่ม เชียงใหม่,
เขาค้อ เพชรบูรณ์ หรือหลาย ๆ แหล่ง ก็ดำเนินการไปตามกระบวนการที่กำหนด ไม่ได้ล่าช้า หรือเร่งรัด กดดันประชาชน ชาวบ้าน แต่มีความร่วมมือแก้ไข หาทางออกในปัญหา อย่างรอบคอบ เหมาะสมต่อไป”

ร่วมแสดงความคิดเห็น