อบจ.เชียงใหม่ ประชุมขับเคลื่อนโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก นำร่องเกษตรอินทรีย์ สู่อาหารนักเรียนและชุมชนจังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยรับเกียรติจากนายไพรัช ใหม่ชมภู รองนายก อบจ.เชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการทำงานระดับพื้นที่โรงเรียนนำร่องเกษตรอินทรีย์ สู่อาหารนักเรียนและชุมชน จ.เชียงใหม่

นายไพรัช ใหม่ชมภู รองนายก อบจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า องค์การบริหารส่วน จ.เชียงใหม่ มีนโยบายนำแนวทาง “เกษตรอินทรีย์ สู่อาหารนักเรียนและชุมชน” เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงอาหารกลางวันที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษอย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้โรงเรียนในสังกัด อบจ.เชียงใหม่ ทั้ง 4 โรงเรียน เป็นโรงเรียนนำร่อง การพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันนักเรียนเชียงใหม่ โดยใช้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีแนวทางนำร่อง 3 แนวทาง คือ
1. ใช้ผลผลิตระดับครัวเรือนในตำบลที่ตั้งของโรงเรียน (ผักสวนครัว/หัวไร่ปลายนา/เครือข่ายเกษตร)
2. ผลผลิตจากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ระดับอำเภอ (ที่ตั้งของโรงเรียน)
3. เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ระดับต่างอำเภอใน จ.เชียงใหม่ โดยได้กำหนดจัดการประชุมชี้แจงนโยบายและแนวทางการดำเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ สู่อาหารนักเรียนและชุมชน ในโรงเรียนสังกัด อบจ.เชียงใหม่ ทั้ง 4 โรงเรียน

โดยการประชุมครั้งนี้ มีคณะอนุกรรมการทำงานฯ ของโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็กเข้าร่วมประชุม คือ คณะที่ปรึกษาประกอบด้วย ประธานสภาวัฒนธรรม , เกษตร อ.ฝาง และคณะทำงาน ประกอบด้วย นายก อบต.แม่งอน , ผอ.ส่วนบริหารการศึกษา, ผอ.รพ.สต.แม่งอน, ตัวแทนเกษตรกร, ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก พร้อมด้วยคณะครู และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์สู่อาหารนักเรียนและชุมชน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563–2566) รายงานผลการตรวจเลือดนักเรียน อบจ.เชียงใหม่ เพื่อค้นหาสารเคมีตกค้างในเลือด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 แจ้งงบประมาณอาหารกลางวันนักเรียน
โดยเปรียบเทียบโรงเรียนรัฐบาล กับโรงเรียน อบจ.เชียงใหม่ ดังนี้โรงเรียนรัฐบาล นักเรียนได้รับงบประมาณอาหารกลางวันเฉพาะระดับชั้นอนุบาล ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คนละ 20 บาท/วันโรงเรียน อบจ.เชียงใหม่ นักเรียนได้รับงบประมาณอาหารกลางวัน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล – ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คนละ 30 บาท/วัน (ทุกคน) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ของผู้เข้าร่วมประชุม

ร่วมแสดงความคิดเห็น