วังปลาโป่งศรีโทรม มีปลาแออัดจำนวนมากขาดอ๊อกชิเจนทำให้ปลาตายลอยเกลื่อนน้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานมาเมือวันที 21 พฤษภาคม 2563 ได้รับแจ้งจากชาวบ้านโป่งศรี หมู่ที่ 4 ต.บ้านถิ่น อ.เมือง จ.แพร่ ว่ามีปลาตายลอยขึ้นมาเหนือน้ำเป็นจำนวนมากในวังปลาบ้านโป่งศรี จึงได้เดินทางไปที่ได้รับแจ้ง สถานที่ดังกล่าวถือว่าเป็นสถานที่มีชื่อเสียง เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่งที่ใครๆก็รู้จัก เมื่อก่อนก็เป็นแหล่งน้ำธรรมดาๆ ในปี 2557 ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยการนำของนายอดิศร ถิ่นทิพย์ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ต.บ้านถิ่น อ.เมือง จ.แพร่ ได้ผลักดันให้หน่วยงานต่างๆเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้ประชาสัมพันธ์ทั้งสื่อทีวี วิทยุและหนังสือพิมพ์ จนเป็นที่ยอมรับคนทั้งจังหวัดแพรและทั่วประเทศ เมื่อได้พัฒนาทำฝายชะลอน้ำ ซึ่งมาจากแม่น้ำแม่ก๋อน ได้มีโครงการซื้อลูกปลาตะเพียน ปลาสวาย ปลาบึก มาปล่อยไว้เพื่อให้เป็นแหล่งวังปลา ทุกปีที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหากับสายน้ำในจุดนี้เพราะนายอดิศร ถิ่นทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านดังกล่าวหาน้ำมาเติมในบ่อให้ปลามีน้ำที่สมบูรณ์ พร้อมทั้งได้รับเงินจัดสรรงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาปรับภูมิทัศน์เสริมเติมแต่ง เช่น จัดทำแพกลางน้ำจำนวน 3 หลัง ห้องแถวชั้นเดียวจำนวน 10 ห้อง ห้องน้ำสาธารณะจำนวน 4 ห้อง ในส่วนถนนรอบวังปลาบ้านโป่งศรีได้รับการสนับสนุนจากกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งทหารช่างมารื้อคูคลองทำนบ ทำถนนรอบบริเวณวังปลาบ้านโปร่งศรี
วังปลาบ้านโป่งศรีมีผู้คนมาเยี่ยมชม ให้อาหารปลา ปั่นรถจักรยานน้ำ และถ่ายภาพพร้อมทัฝชมธรรมชาติทุกวัน จนเป็นที่รู้จักของในจังหวัด และต่างจังหวัด นี่คือแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เมื่อ นายอดิศร ถิ่นทิพย์ ครบวาระจากการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 มีการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ อีกทั้งเกิดการเสื่อมโทรมตามกาลเวลา และไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ห้องแถวที่สร้างไว้ตามโครงการก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า แพกลางน้ำ 3 หลังยังไม่มีการพัฒนา ซ้ำร้ายปลาในวังปลาบ้านโป่งศรีในวันดังกล่าว ลอยขึ้นมาตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุคาดว่าน้ำในบ่อแห้ง และขาดการหาแหล่งน้ำมาเติม หรือหาวิธีอื่นๆที่จะช่วยชีวิตปลาในวังปลาบ้านโป่งศรี จากการสังเกตของชาวบ้านในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า ปลาตายไม่น้อยกว่าวันละประมาณ 100 กว่ากิโล หากเป็นเช่นนี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจากผู้นำ ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในการดูแล หรือหาน้ำมาชดเชยในแหล่งน้ำดังกล่าว ไม่เกิน 1 สัปดาห์ วังปลาบ้านโป่งศรี อาจจะมีแต่ชื่อและตำนาน เพราะปลาจะต้องตายหมดแน่นอน

ทางด้าน ดร.กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ รับทราบปัญหาจากการประสานของ นายอดิศร ถิ่นทิพย์ ประธานชมรมผู้สื่อข่าวจังหวัดแพร่ จึงได้จัดงบประมาณ 300,000 กว่าบาท และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่พลังแสงอาทิตย์ลงสถานที่เพื่อหาทางในการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มาเติมน้ำในวังปลาบ้านโป่งศรี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ทุกฝ่ายทั้งผู้นำฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารจะต้องร่วมมือกัน เพื่อให้สถานที่ดังกล่าวอยู่คู่บ้านโป่งศรีต่อไป

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น