นักวิชาการศึกษา แนะการออกแบบเนื้อหาการสอนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานมาจาก จ.แพร่ มาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563

สวัสดีวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 ดร.สุศักดิ์ ปาเฮ นักวิชาการิสระด้านการศึกษา วิจัยและฝึกฮบรม อดีตรองผอ.สพป.แพร่เขต 2 และอดีตผู้บริหารอีกหลาย ๆ แห่ง เผยกับผู้สื่อข่าวว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นการทำงาน (สำหรับครู) เริ่มขึ้นแล้วแต่นักเรียนยังคงหยุดเรียน สำหรับครูและผู้บริหารโรงเรียน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องนั้นคงต้องเป็นการเริ่มศักราชของการจัดการเตรียนการสอนแบบใหม่ที่เรียกว่า New Normal ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดในปัจจุบันซึ่งการสอนทางไกลแบบออนไลน์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเราและสังคมโลก ที่ผ่านมาได้นำเสนอปกิณกะความรู้เกี่ยว “การศึกษาออนไลน์ (Online Education)” มาโดยตลอดหลายตอนหลายบทเป็นสรุปสาระสังเขปสั้น ๆ เริ่มตั้งแต่ตอนปฐมบท ความหมายขอบข่าย ความสำคัญ องค์ประกอบสู่ความสำเร็จ การออกแบบระบบการเรียนการสอน ฯลฯ ต่อเนื่องมาหลายตอน

วันนี้เจอบทความวิจัยเรื่องหนึ่งชื่อ A Model for Effective Online Instructional Design โดยศาสตราจารย์ ดร.เชน (Li-Ling Chen) แห่ง California State University at East Bay, USA. คิดว่าสาระเนื้อหาน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของเรามาก เป็นหลักการสำคัญที่จะช่วยในการออกแบบเนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ (Online Coursees) ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามหลักการทฤษฎี มีคุณภาพเกิดประสิทธิภาพ ไม่สร้างความสับสนวุ่นวายเหมือนเช่นปัจจุบัน ศาสตราจารย์เชนได้นำเสนอแบบจำลอง (A Model) คอร์สการสอนออนำไลน์ชื่อ “ICCEE Model : Identify, Choose, Create, Engage and Evaluation Model”

ขั้นตอนการออกแบบคอร์สการสอนออนไลน์ตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • ขั้นที่ 1 ขั้นการจำแนกแยกแยะเพื่อทำการวิเคราะห์ (Identify) เป็นขั้นตอนของการรวบรวมรูปแบบหลักสูตร/เนื้อหาของการเรียนการสอนออนไลน์โดยทำการรวบรวมสาระความรู้จากที่เคยสอนแบบเผชิญหน้า (face-face) เพื่อจัดทำเป็นเนื้อหาเชิงผสมผสานบูรณาการกับการเรียนแบบออนไลน์ หลังจากนั้นจึงทำการกำหนดจุดประสงค์ทางการเรียนการสอน วิเคราะห์ความต้องการทางการเรียน รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียน วิเคราะห์บริบททางการเรียน โดยมีจุดเน้นมุ่งสู่การเรียนบนเว็บไซต์จากฐานความรู้ทางอินเทอร์เน็ต
  • ขั้นที่ 2 ขั้นการเลือก (Choose) หลังจากทำการเลือกรูปแบบหลักสูตรเนื้อหาที่มีความจำเป็นและเหมาะสมสำหรับใช้สอนแบบออนไลน์ได้แล้วจึงเริ่มขั้นตอนของการเลือกเพื่อจัดทำโครงสร้างเชิงเนื้อหาทั้งในเชิงโครงสร้างแบบเส้นตรง (Linear) หรือโครงสร้างแบบขยาย (Non-linear) เลือกเนื้อหาที่มีความสำคัญ จำเป็นต่อผู้เรียน
  • ขั้นที่ 3 การสร้างสรรค์งาน (Create) เป็นขั้นตอนของการสร้างสรรค์หรือการพัฒนาโดยเริ่มจากการสร้างเนื้อหาหลักสูตรให้ดูเหมาะสม ทำการพัฒนาวิธีการสอนและสื่อการเรียนเพื่อการนำเสนอเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาวิธีการประเมิน พัฒนากระบวนการสื่อสารและพัฒนาวัสดุช่วยสนับสนุนทางการเรียนสำหรับผู้เรียน เป็นต้น
  • ขั้นที่ 4 การดำเนินการสอน (Engage) เป็นการนำรายละเอียดทั้งหมดจากขั้น 1-3 ไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนออนไลน์โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนเป็นสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบสำคัญทั้งในเชิงกายภาพ จิตภาพ และสังคมภาพ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
  • ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นของการประเมินผู้เรียนจากการเรียนออนไลน์ในเชิงผสมผสานในกลยุทธ์ทางการเรียนที่นำมาใช้เช่นประเมินตัวโครงการ การนำเสนองาน การออกแบบการเรียน การทดสอบ และกระบวนการสื่อสารเป็นต้น

โมเดลที่นำมากกล่าวถึงนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบการสอนออนไลน์ที่คิดว่ามีประสิทธิภาพและง่ายต่อการนำไปปรับใช้ในสถานการณ์และบริบททางการเรียนของเราได้ครับ ขอได้รับความปรารถนาดีจาก ดร.สุรศักดิ์ ปาเฮ นักวิชาการอิสระ ( 10.45 น. ) Reference : Chen, L.L.(2016)”A Model for Effective Online Instructional Design” LICEJ. Volume 6, Issue 2, June 2016.

ร่วมแสดงความคิดเห็น