(มีคลิป) “ระวัง การทุจริตแล้วต้องปลอดภัย” อดีต ผอ.สำนักอุทยานแฉคลิปข้าราชการพูดถึงเงิน “ดูแลข้างบน”

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 มิ.ย. 2563 ที่ห้องประชุมโรงแรมแฟมิลี่ ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายสมัคร ดอนนาปี อายุ 65 ปี อดีตผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดแถลงข่าว จากที่นายสมัคร เป็นผู้ต่อต้านการทุจริตในวงราชการของเจ้าหน้าที่ในสัวกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง จนกระทั้งถูกฟ้องในชั้นศาลแล้วจำนวน 10 คดี และศาลตัดสินแล้วถอนฟ้องไปจำนวน 4 คดี ส่วนใหญ่คู่กรณีเป็นข้าราชการระดับสูงและนักการเมือง

สำหรับการแถลงข่าวในครั้งนี้ นายสมัคร กล่าวว่า เป็นการสานต่อปณิธานที่ตั้งใจไว้ก่อนเกษียณอายุราชการแล้วว่า จะต่อต้านการทุจริตคอรับชั่นในวงราชการ โดยเฉพาะแวดวงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกรูปแบบ วันนี้ขอแถลงข่าวกรณีที่มีผู้ส่งคลิปเสียงของหน่วยงานกรมอุทยาน ที่มีข้าราชการระดับหัวหน้า และผู้อำนวยการในกรมอุทยาน พูดคุยกันในคลิป เรื่องการประชุมของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ เสียงคลิปกล่าวถึงการจ่ายเงินให้ผู้ใหญ่ในกรมอุทยานฯบอกว่า จะต้องนำเงินไปดูแลข้างบน จำนวนเงินเริ่มต้นที่ 20,000-40,000 บาท ต้องจ่ายเงินสูงขึ้นไปตามลำดับตำแหน่งที่สูงขึ้นในกรงอุทยาน ในคลิปเสียงได้ยกตัวอย่างในพื้นที่อุทยานแห่งหนึ่งใน จ.ลำปาง ด้วย พูดถึงการจ่ายเงินในจำนวน 30,000 บาทต่อเดือน ในปีต่อมาต้องจ่ายเพิ่ม เดือนละ 40,000 บาทต่อเดือนอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะนำไปดูแลข้างบน เป็นเสียงในคลิป

 

 

นายสมัคร อดีตผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กล่าวอีกว่า ซึ่งคลิปดังกล่าว หลังจากตนได้ฟังแล้วแกะเทปคลิปเสียงออกมาในช่วงพูดคุยเรื่องเงินที่ต้องจ่ายให้ข้างบนดังกล่าว ความยาวกว่า 43 นาที ตนรู้เลยว่า เป็นการสนทนาของข้าราชการทำงานในกรมอุทยาน จากนั้นตนตรวจสอบช่วงเวลาการประชุมของข้าราชการกรมฯ ดังกล่าว และตรวจสอบหมายการประชุมตรงกันกับคำพูดในคลิป มีการประชุมกันจริงในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา หลังจากที่มีการประชุมตามวาระการประชุมที่กำหนดไว้แล้ว ในที่ประชุมได้พูดคุยกันในเรื่องวิธีหาเงินและเก็บเงินเพื่อจะนำไปจ่ายให้ผู้หลักผู้ใหญ่ข้างบนด้วย

 

“ผมทราบการหาเงินจะมีหลากหลายวิธี เช่น การหาเงินจากแหล่งท่องเที่ยวในกรมอุทยาน จะไม่ขายตั๋วจริงให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชม แต่ทำตั๋วผี หรือบัตรปลอม ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอุทยานแทน และการจ้างบุลลากรเข้าทำงานในอุทยาน แต่ละแห่งแจ้งตัวเลขจำนวนคนเข้าทำงานจำนวนมาก แต่ในพื้นที่จริงมีคนทำงานไม่กี่คน ทุจริตเรื่องเงินค่าตอบแทนรายเดือน เช่น การดับไฟป่า ออกลาดตะเวน ส่งตัวเลขเบิกค่าตอบแทนจำนวนมากแต่ทำงานจริงไม่กี่คน รายได้อุทยานอีกช่องทางหนึ่งคือ ให้พ่อค้าแม่ค้าเปิดร้านค้า ร้านอาหารในอุทยาน อุทยานบางแห่งเปิดร้านค้าให้ภรรยาน้อยดูแลกิจการก็มี ดังกล่าวทั้งหมดเพื่อนำเงินรายได้ส่วนนี้นำไปดูแลข้างบน และปัญหาเรื่องดังกล่าวทั้งหมด ตนต่อต้านมาตลอด ตนยกเลิกการส่งเงินให้ข้างบนได้หลายแห่งในสมัยที่ยังปฏิบัติหน้าที่ในช่วงรับราชการ จนถูกผู้หลักผู้ใหญ่ฟ้องร้องและโยกย้ายตนหลายครั้งไปในหลายพื้นที่ จนเกษียณราชการ ก็ยังต่อสู้มาจนถึงทุกวันนี้”

“ปัญหาเรื่องนี้ผมแถลงข่าว เพื่อต้องการสอบถามไปยัง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีด้วยว่า จะจัดการกับเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนได้อย่างไร เพราะตนไม่ได้หวังว่าปลัดกระทรวงทรัพยากรฯจะทำอะไรได้มาก เนื่องจากมีนักการเมืองอยู่เหนือกว่าปลัด และเป็นผู้สนับสนุนอธิบดีกรมอุทยานฯอยู่ รวมทั้งขอฝากถามทุกเรื่องที่ตนเคยร้องเรียนไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุจริตเพาะกล้าไม้ลม กันยายน 2553 กรมป่าไม้, เรื่องเงินเดือนเมีย 6% ทุจริตปลูกป่าแก่งกระจาน, เจ้าหน้าที่ทุจริตทำไม้ในอุทยานแม่ตะไคร้ จ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ทุจริตเรียกเก็บเงินและทำไม้เองในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าว ผมไม่ต้องการเห็นผู้ใหญ่ออกมาปกป้องลูก แล้วบอกว่า “ระวัง การทุจริตแล้วต้องปลอดภัย” เพราะวันนี้ผู้หลักผู้ใหญ่สอนลูกน้องแบบนี้แล้ว

ร่วมแสดงความคิดเห็น