ธพว. จัดงาน SME D Services “Extra Cash” ครั้งที่ 5 เร่งเยียวยา ฟื้นฟูประชาชน และภาคธุรกิจเอสเอ็มอี 

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562 เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมน้ำทอง จังหวัดน่าน นายสมานพงษ์  เกลี้ยงลำยอง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  เป็นประธานเปิดการจัดงาน  SME D Services “Extra Cash” ครั้งที่ 5 เพื่อเร่งเยียวยาฟื้นฟูประชาชน และภาคธุรกิจเอสเอ็มอี  โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ผ่านโครงการ SME D Services “Extra Cash” โดยมี นายวิบูรณ์  แววบัญฑิต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมงาน

การจัด SME D Services “Extra Cash” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ที่จังหวัดน่าน เพื่อให้คำปรึกษา ตลอดจนส่งเสริมเอสเอ็มอีท่องเที่ยว ในพื้นที่ภาคเหนือเข้าถึง “สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash” มีจุดเด่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และที่สำคัญไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่ง ธพว. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลปล่อยกู้ ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่องเที่ยว นำไปใช้เสริมสภาพคล่อง ตลอดจนฟื้นฟูธุรกิจ  พาเข้าถึงแหล่งเงินทุนพิเศษ “สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash” ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องใช้หลักประกัน นำไปใช้เสริมสภาพคล่อง เพื่อฟื้นฟูธุรกิจ

 

สำหรับการจัดโครงการ SME D Services “Extra Cash” ครั้งที่ 5 จังหวัดน่าน  ซึ่งนับเป็นอีกจังหวัดที่สำคัญ ที่มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านการท่องเที่ยว และที่เกี่ยวข้องอย่จำนวนมาก โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง ธพว. และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัดน่าน และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวน่าน

ทางด้านนายสมานพงษ์  เกลี้ยงลำยอง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า  เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โดยที่ผ่านมาได้จัดงานที่กรุงเทพฯ มาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนครั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 4 จังหวัดระยอง โดย ธพว. จะจัดโครงการนี้  ในจังหวัดท่องเที่ยวหลักอื่น ๆ ต่อเนื่อง  รวมทั้งยังส่งเจ้าหน้าที่สาขาทั่วประเทศ เข้าพบกับตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวของแต่ละสมาคมอย่างใกล้ชิด เพื่อพาถึงเข้าถึงสินเชื่อรายเล็ก Extra Cash ช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีท่องเที่ยวมีเงินทุนหมุนเวียน นำมาใช้เป็นทุนฟื้นฟูธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ได้แก่ 1. ธุรกิจทัวร์ บริษัทนำเที่ยว 2. ธุรกิจสปา 3. ธุรกิจขนส่งที่เกี่ยวเนื่อง (รถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า) 4. โรงแรม ห้องพัก และ 5. ร้านอาหาร ระยะเวลาผ่อนนานสูงสุดถึง 5 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษ ช่วง 2 ปีแรก ร้อยละ 3 ต่อปี และปีที่ 3-5 ร้อยละ MLR+1 ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย และไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำ

ร่วมแสดงความคิดเห็น