‘วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล’ อดีตส.ส.แพร่ ซัด ! ในที่สุดหลักฐานก็ปรากฏใครที่ทำลาย “อาคารบอมเบย์เบอร์มา”

ผู้สื่อข่าวรายงานมาจากมาจากจ.แพร่  เมื่อวัน 18 มิถุนายน 2563 เวลา 10.00 น. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีต ส.ส.แพร่ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ‘วรวัจน์ อื้ออภิญญกุล’ และพร้อมกับรูปภาพประกอบกว่า 20 ภาพ ระบุว่า ” ในที่สุดใครกันแน่ที่ทำลาย บรรลุ วัตถุประสงค์ของผู้จัดทำโครงการทุกประการ

“บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดแพร่ หน่วยงานในจังหวัดและท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมืองแพร่ อย่างต่อเนื่อง” ท่องเที่ยวแพร่ ดังแล้วไงครับบรรลุวัตถุประสงค์ของท่านแล้ว ดีใจมั๊ยครับ

ผู้เสนอโครงการ นางกัญญารัตน์ ท่วมไธสง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแพร่ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ผู้เห็นชอบโครงการนายโชคดี อมรวัฒน์รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กระทรวงมหาดไทยผู้อนุมัติโครงการนางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กระทรวงมหาดไทย

ในพื้นที่ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13แพร่ ดูแลโดยนายอิศเรศ สิทธิโรจนกุล ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ต้องรายงานการศึกษาความเหมาะสมมีรายการ รื้อถอน เพื่อสร้างใหม่
แปลง่ายๆผู้ดูแลสถานที่คือกระทรวงทรัพย์เห็นว่า อาคารที่ดูแลอยู่เก่า ใช้ประโยชน์เป็นสำนักงานไม่สะดวก ก็เลยอยากได้ที่ทำงานใหม่ ก็เลยแอบแฝงเจตนาโดยร่วมมือกับท่องเที่ยวอ้างคำว่า “ท่องเที่ยว “ขอใช้งบผู้ว่าCEO เริ่มตั้งแต่ปี60เสนอใช้งบประมาณในปี63รองผู้ว่าฯก็ผ่านเรื่อง ให้ผู้ว่าฯเซ็นอนุมัติก็เท่านั้นเอง

ในที่สุด อาคารโบราณสถานในจังหวัดแพร่ บอมเบย์เบอร์ม่า อายุ127ปีในแพร่เมืองเก่าอายุกว่า1,200ปี(เก่าแก่ที่สุดในล้านนา)ก็ถูกทำลาย โดยข้าราชการที่ไม่ได้เป็นคนจังหวัดแพร่ อยากได้อาคารใหม่ เพื่อเอาไว้เป็นสถานที่ทำงาน ยังมีโบราณสถานที่เป็นบ้านเก่าของเอกชนที่เขารักษา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเช่น บ้าน100ปี บ้านวงค์บุรี ที่ประชาชน ขอเข้าไปเยี่ยมชมอย่างไม่ขาดสาย

แต่อาคารโบราณสถานเก่าแก่ ที่อยู่ในมือส่วนราชการอีกหลายแห่ง เช่นพิพิธภัณฑ์ไม้สักแพร่ ภายในบริเวณโรงเรียนป่าไม้แพร่กำแพงเมืองรูปหอยสังข์ แห่งเดียวของโลกส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของกรมป่าไม้ กรมอุทยาน กระทรวงทรัพย์ บางส่วนอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย สำหรับคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ โชคดีที่ดูแลโดยอบจ.แพร่ มีคนท้องถิ่นโดยนายอนุวัธ วงค์วรรณเป็นผู้ดูแล ก็เลยยังสวยงามเป็นมิ่งขวัญให้คนไทยและคนจังหวัดแพร่ชื่นชมต่อไป
แต่ อาคารโบราณสถานใน”แพร่เมืองเก่า1,200ปี”

อีกจำนวนมากที่ถูกยึดอยู่ในมือส่วนราชการ จะทำอย่างไร ให้อยู่รอดปลอดภัยโจทย์นี้ คงต้องขอให้คนไทยทุกคน ช่วยแสดงความคิดเห็นแล้วครับ ทุก1เสียงของท่านที่จะได้ช่วยกรุณาปกป้อง จะช่วยต่อชีวิตให้อาคารโบราณสถานอีกจำนวนมาก ได้ถูกรักษาเอาไว้เป็นสมบัติของลูกหลาน และเพื่อ “การท่องเที่ยวที่แท้จริง”ต่อไปได้ครับ
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล “

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ร่วมแสดงความคิดเห็น